
📢 มัดรวม 9 คำถามฮิต Q&A ข้อบัญญัติฯ ใหม่! เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2567 🐶🐱
- กรณีเลี้ยงสัตว์เกินจำนวนก่อนข้อบัญญัติมีผลบังคับใช้
👉 ต้องแจ้งสำนักงานเขต ภายใน 90 วัน (10 ม.ค. 2569 – 9 เม.ย. 2569) - หากเลี้ยงเกินจำนวนเพื่อทำกิจการ (ฟาร์ม, ร้านขายสัตว์, คาเฟ่สัตว์, อาบน้ำตัดขน, โรงแรมสัตว์)
👉 ให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2561
3️. การฝังไมโครชิปและจดทะเบียนสัตว์
👉 ต้องทำ! โดยสามารถรับบริการฝังไมโครชิปได้ที่:
• คลินิก/รพส.เอกชน (มีค่าใช้จ่าย)
• คลินิกสัตวแพทย์ กทม. (ฟรี!) - วิธีจดทะเบียนสุนัข-แมว
👉 ยื่นที่คลินิกสัตวแพทย์ กทม. หรือสำนักงานเขต
👉 เอกสารที่ต้องแสดง:
• บัตรประชาชน
• ทะเบียนบ้าน
👉 เอกสารที่ใช้แนบ:
• ใบ คลส.1
• หนังสือยินยอมจากผู้ให้เช่า (ถ้ามี)
• หนังสือรับรองฉีดวัคซีน, ทำหมัน (ถ้ามี)
• หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามอบหมายให้ผู้อื่น) - ถ้าไม่สะดวกไปเอง
👉 มอบอำนาจให้ผู้อื่นแทนได้
👉 หรือรอติดตามบริการหน่วยเคลื่อนที่ใน 50 เขต
(ติดตามได้ที่ Facebook: สำนักอนามัย กทม., สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข, กลุ่มควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า) - แมวเริ่มจดทะเบียนได้เมื่อไหร่?
👉 เริ่มตั้งแต่ 10 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป - ต้องพกบัตรประจำตัวสัตว์ (คลส.3) ตลอดเวลาหรือไม่?
👉 ไม่จำเป็น! แค่มีรูปถ่ายบัตรไว้แสดงเมื่อตรวจสอบก็พอ - สัตว์น้ำ, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์มีพิษ, สัตว์ดุร้าย ต้องฝังไมโครชิปไหม?
👉 ไม่ต้อง! แต่ต้องควบคุมสัตว์ ไม่ปล่อยในที่สาธารณะโดยไม่มีการดูแล - ประโยชน์ของการฝังไมโครชิป
✔️ มีอายุการใช้งานตลอดชีวิตสัตว์
✔️ ไม่สูญหาย และไม่หลุดออกจากตัวสัตว์ง่าย
✔️ ช่วยระบุเจ้าของได้ในกรณีเกิดข้อพิพาท หรือพบสัตว์หลงทาง
✔️ ป้องกันการทอดทิ้งสัตว์
อ่านข้อบัญญัติ เรื่องการควบคุมสัตว์เลี้ยงเต็มๆได้ที่ https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/245/T_0012.PDF
#ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร #ควบคุมการเลี้ยงสัตว์ #ฝังไมโครชิป #จดทะเบียนสัตว์ #กทม #สัตว์เลี้ยง #กทม #กรุงเทพมหานคร #Bangkokbma #กรุงเทพดีได้ทุกด้าน #สุขภาพดี