
.
“เราจะเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสไม่ได้ ถ้าไม่มีเทคโนโลยีอย่าง ‘Traffy Fondue’ ในการแจ้งเหตุจากประชาชน อย่างเหตุการณ์น้ำท่วมปี 65 เดิมเรามีเซ็นเซอร์ตรวจวัด มีการรายงานจากเขตหรือเจ้าหน้าที่หน้างาน ว่าจุดเสี่ยงน้ำท่วมมีตรงไหนบ้าง ในขณะนั้นมีแค่ 100 จุด แต่หลังจากนั้นเราพบจุดเสี่ยงมากขึ้น และได้ทำการศึกษาหาสาเหตุ เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด” รองผู้ว่าฯ วิศณุ กล่าว
.
รองผู้ว่าฯ กล่าวเสริมว่า กทม. ร่วมมือกับกรมอุตุนิยมวิทยา และบริษัท Weathernews ประเทศญี่ปุ่น พัฒนาการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า 1 – 3 ชั่วโมง รวมทั้งมีศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง อนาคต กทม. กำลังพัฒนานำ AI มาใช้ในการช่วยหาความสัมพันธ์ของปริมาณน้ำฝนกับจุดที่น้ำท่วมตรงนั้น แบบ Real Time
.
นอกจากนี้ รองผู้ว่าฯ วิศณุ ได้กล่าวถึงประเด็นการรับมือแผ่นดินไหว ไว้ว่า “เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ กทม. ร่วมมือกับทีมคณะวิจัยแห่งชาติ ตั้งแต่ เม.ย. 66 ในการติดตั้งเครื่องมือและสร้างแบบจำลอง วิเคราะห์ความสามารถในการรับแรงสั่นสะเทือนของตึกธานีนพรัตน์ (ศาลาว่าการ กทม. 2) เป็นการวิเคราะห์ล่วงหน้าว่าหากได้รับแรงสั่นสะเทือนเท่านี้ ส่วนไหนของตึกจะมีความเสี่ยงในการเสียหาย หากเราเอาข้อมูลจากเครื่องมือที่ติดตั้งไว้มาใช้ จะทำให้เราไม่ตื่นตระหนก เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา ที่โรงพยาบาลต้องอพยพคน จะไม่เกิดอีกต่อไปแล้ว ถ้าเราวิเคราะห์และเตรียมพร้อมได้ดี”
.
“เรามักได้ยินคำว่า Smart City แต่กรุงเทพฯ ไม่ใช้คำนั้น เราใช้วิธีการจัดการข้อมูลเมืองด้วยตัวเซ็นเซอร์ ไม่ว่าจะเป็น การวัดน้ำท่วม ความสว่าง การวัดฝุ่น แล้วส่งข้อมูลเข้ามาที่ส่วนกลาง Open Data Platform เปิดให้ภาครัฐและเอกชนสามารถนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้”
.
และรองผู้ว่าฯ วิศณุ ทรัพย์สมพล ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า
“ผมเชื่อว่า ถ้าเราร่วมมือกัน ขับเคลื่อนเมืองด้วยเทคเทคโนโลยี ก็จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่ และเป็นเมืองที่มีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน”
.
กทม.อยากชวนทุกคนมา ‘ตรวจการบ้าน’ กันต่อ! ในงาน “BKK EXPO 2025” ✨
📅 ระหว่างวันที่ 15 – 18 พ.ค. 68
📍 อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ
📲 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/bmabettercity
.
#กรุงเทพมหานคร #กทม #BMA #กรุงเทพดีได้ทุกด้าน #9ด้าน9ดี