รองผู้ว่าฯ ทวิดา ดันแนวคิด Health Zoning ใช้การสื่อสารและข้อมูลเมือง ขับเคลื่อนภารกิจยุติปัญหาเอดส์ในกรุงเทพฯ

(8 เม.ย. 68) รองศาสตราจารย์ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางการพัฒนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานแร่งรัดมาตรการยุติปัญหาเอดส์ เขตสุขภาพกรุงเทพมหานคร” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานเร่งรัดมาตรการยุติปัญหาเอตส์ เขตสุขภาพกรุงเทพมหานคร (Bangkok Health Zoning) ณ ห้องกษัตริย์ศึก 2 ชั้น 4 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าวสรุปโดยรวมว่า ทราบว่ามีหน่วยงานภายนอกที่ไม่ใช่สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีการคุยกับเครือข่ายต่อเนื่องมาตลอด ที่ผ่านมาในการลงพื้นที่ตรวจสุขภาพคนไร้บ้านได้มีการนำถุงยางอนามัยไปแจก 1,000 ชิ้น ปรากฏว่าหมด ถือว่าดีเพราะทำให้เห็นในเรื่องความปลอดภัย ซึ่งจะต้องมีการคุยต่อเพราะงานนี้อาจไม่ใช่แค่บุคลากรทางการแพทย์หรือสาธารณสุข อาจต้องคุยกับเขตหรือเทศกิจที่ดูแลกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาจจะสังกัดกลุ่มแบบนี้แต่อาจมีครอบครัว อยากให้มีการคุยในบริบทด้วย ไม่ใช่คุยแค่เรื่องตัวเลข เพราะจะทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ที่ทำให้ปลอดภัยขึ้น

ในการทำงานสิ่งที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งมาตลอดคือ ในฐานะผู้บริหารต้องคิดว่าวิธีไหน รูปแบบไหน ที่ทำให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครทำงานให้น้อยลงแต่ได้ผลงานมากขึ้น จะใช้หามรุ่งหามค่ำไม่ได้ สำหรับการทำงานในเรื่องเอดส์ต้องดูว่าทำยังไงให้เป็นเรื่องปกติ อย่างการเปิดไพรด์คลินิกบางโรงพยาบาลหรือแพทย์หลายคนไม่เห็นด้วย จึงได้มีการปรับชื่อเรียกให้ผู้รับบริการมีความสบายใจในการเข้ารับบริการ ต้องมีการค้นหาวิธีการที่เข้ากับสังคมเพื่อให้ยุทธศาสตร์การทำงานต่าง ๆ ไปได้

ส่วนเรื่องของการพยายามดูแลเรื่องซิกม่าหรือความเข้าใจหรือเรื่องใด ๆ ก็ตาม เครือข่ายต้องมากกว่านี้ และตอนนี้มีปัญหาใหม่ขึ้นมาคือหลายหน่วยถูกซัพพอร์ตโดยสหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนี้กำลังแย่ในหลายเรื่อง ถ้าไม่มีเขาลิงก์เกตเราอ่อนลงเยอะ ทำอย่างไรจะช่วยหน่วยงานเรานี้ได้บ้าง กรุงเทพมหานครมีความยืดหยุ่นในการใช้งบประมาณบางส่วน ในฐานะทางการแพทย์สามารถนำงบประมาณไปช่วยตรงไหนได้บ้างเพื่อให้งานเดินต่อไป

รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าวด้วยว่า สำหรับการทำงานแบบโซนสุขภาพ (Health Zone) ถ้าบอกว่าเป็นโซน Facilitator คือ ไม่ใช่โซน Organizer การเอา Organizer มาจัดงานอำนวยความสะดวกไม่ใช่ Facilitator การเป็นโซน Facilitator ที่ดี คือการที่ปลายน้ำติดขัดอะไรเราต้องช่วยแก้ไข ถ้าในศัพท์ของยุทธศาสตร์โรงพยาบาลเป็นเหมือนถังเงิน ส่วนศูนย์บริการสาธารณสุขซึ่งเป็น Area Manager มีเงื่อนไขในการใช้เงินของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อยู่ ความสัมพันธ์แบบ Health Zone ไม่ใช่การลุกขึ้นมาบอกว่าแบ่งแบบนี้แล้วจบ การเป็น Health Zone คือ โรงพยาบาลหลักต้องสามารถทำให้สิ่งที่ทำไม่ได้ทำได้ขึ้นมาให้ได้ อยากให้ใช้ระบบ Zoning มากขึ้นในการสื่อสาร ในการใช้ข้อมูล เผื่อว่าจะช่วยได้

นอกจากนี้ในการประชุมดังกล่าวยังมีการบรรยายเรื่อง “สถานการณ์ปัญหาด้านเอดส์และช่องว่างในการดำเนินงานในเขตกรุงเทพมหานคร” กิจกรรมกลุ่ม (แบ่งกลุ่มตามเขตสุขภาพ) วิเคราะห์ข้อมูลและช่องว่างการดำเนินงานในพื้นที่เขตสุขภาพกลยุทธ์สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ของ 95 ที่ 2 และ 95 ที่ 3 การนำเสนอผลการวิเคราะห์และแผนการดำเนินงานในแต่ละกลุ่มโซน และสรุปแผนการดำเนินงาน

#กทม #สุขภาพดี #บริหารจัดการดี

                     -------------------------------     (พัทธนันท์...สปส. รายงาน)
แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200