เร่งยกเครื่องศูนย์ฯสาธารณสุข สร้างใหม่-ปรับปรุง/เชื่อมข้อมูลรพ.

กทม.พัฒนาศูนย์ฯสาธารณสุข เข้าถึงง่ายกระจายทั่วกรุง แผนสร้าง อาคารใหม่ 21 ปรับปรุงอีก 31 แห่ง พร้อมยกระดับบริการรักษาได้ทุกแผนก / เชื่อมระบบข้อมูลสุขภาพ รักษาได้ใกล้บ้าน

รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงแผนพัฒนาศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) กทม. ว่า ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์) ให้นโยบายด้านสาธารณสุขมุ่งเน้น บริการระบบปฐมภูมิ ซึ่งศูนย์บริการสาธารณสุขของกทม.เป็น ส่วนหนึ่งในระบบปฐมภูมิที่ดูแล คนกรุงเทพฯ 50 ปี สำนักอนามัย ปัจจุบันเรามีศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ใน 50 เขต และศูนย์ฯสาขาอีก 77 แห่ง หลายแห่งสภาพทรุดโทรมจำเป็นต้องปรับปรุงด้านกายภาพ มีทั้งปรับปรุงบางส่วนและทุบสร้างใหม่ อีกส่วนก่อสร้างขึ้นใหม่ ในเขตยังไม่มีศูนย์ฯ เช่นวังทองหลาง อยู่ในแผนที่จะก่อสร้างเป็นศูนย์ฯที่ 70 รวมถึงพิจารณายกระดับศูนย์ฯสาขาเป็นศูนย์ฯหลัก ในระยะต่อไป

นอกจากปรับปรุงกายภาพ ยังยกระดับการบริการให้ ศบส.ให้บริการรักษาได้ทุกแผนกใกล้เคียง กับโรงพยาบาล โดยมีเครื่องมือ อุปกรณ์รวมถึงบุคลากรที่มีคุณภาพ เฉพาะทาง อีกเรื่องสำคัญคือ ระบบ คอมพิวเตอร์เดิมที่ใช้งานล้าหลังมาก ต้องเปลี่ยนระบบใหม่เพื่อให้การบริการประชาชนได้สะดวกรวดเร็ว รองรับการเชื่อมต่อข้อมูลกับ โรงพยาบาล และสามารถโทร.ปรึกษา หมอเฉพาะทางได้โดยผู้ป่วยได้รักษาใกล้บ้านไม่ต้องเดินทางไปแออัดที่โรงพยาบาล

“เราทำแผนยกระดับการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขสร้างความมั่นใจให้คนกรุงเทพฯ ในการมาใช้บริการโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขของกทม. เรื่องแรกทำโครงการตรวจสุขภาพ 1 ล้านคน ระบบใหม่เหมือนเอกชนเริ่ม 1 ก.ค.นี้ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่ดีขึ้น เรื่องที่สอง ปรับปรุงกายภาพขณะนี้มีศูนย์ฯใหม่หลายแห่งและมีแผนปรับปรุงสร้างใหม่อยู่ ในแผนถึงปี’69 เรื่องสุดท้าย เชื่อม ระบบเครือข่ายการรักษาพยาบาล กำลังทดสอบที่โซน 3 เชื่อมข้อมูล สุขภาพทุกหน่วยบริการผ่านระบบ Health Link มีรพ.เจริญกรุงประชารักษ์ เลิดสิน จุฬาลงกรณ์ ศบส. 17 แห่ง คลินิกชุมชนอบอุ่น และร้านยา ครอบคลุม 10 เขต ถ้าสำเร็จจะขยาย ไปโซนอื่นๆ ซึ่งประชาชนจะเห็นการ เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น” รศ.ทวิดา กล่าว

สำหรับแผนพัฒนาศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) ให้ประชาชนเข้าถึงง่าย กระจาย ทั่วกรุงเทพฯ มีการก่อสร้างอาคารใหม่ รวม 21 แห่ง ในปี 2567 จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ ศบส.4 ดินแดง, ศบส.15 ห้วยขวาง, ศบส.32 พระโขนง, ศบส.64 คลองสามวา, ศบส.35 (สาจากาญจนวาส) บางกะปิ, ศบส.44 (สาจาคลองสิบสอง) หนองจอก, ศบส.24 จตุจักร, ศบส.53 (สาขาท่าทราย) หลักสี่, ศบส.61 (สาขาออเงิน) สายไหม, ศบส.67 (สาขา แจ่มดำควรชม) ทวีวัฒนา, ศบส.54 ทุ่งครุ, ศบส.42 บางขุนเทียน และ 42 (สาขา งามเจริญ) บางขุนเทียน และในปี 2568 (อยู่ระหว่างจัดทำคำของบประมาณ) จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ ศบส.70 วังทองหลาง, ศบส.8 บางนา, ศบส.35 บางกะปิ, ศบส.64 (สาขาทรายกองดินใต้) คลองสามวา, ศบส.17 จตุจักร, ศบส.48 หนองแขม, ศบส.59 ทุ่งครุ และ ศบส.40 (สาขาวิจิตรา อนามัย) บางแค นอกจากนี้ยังปรับปรุง ศูนย์ฯเดิมอีก 31 แห่งด้วย

 



ที่มา:  นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 17 มิ.ย. 2567

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200