ในช่วงเวลา 2 ปี สภากรุงเทพมหานคร มีนายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ดำรงตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร ทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารมุ่งมั่นพัฒนากรุงเทพมหานคร ให้เป็นมหานครแห่งความสุขสำหรับทุกคน ผลงานสภากรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 6 มิ.ย.2565 ถึงวันที่ 5 มิ.ย.2567 มีการประชุมสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 40 ครั้ง ให้ความเห็นชอบข้อบัญญัติ จำนวน 16 ฉบับ ได้แก่
ข้อบัญญัติฯเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้อบัญญัติฯ เรื่องการให้เงินรางวัลประจำปีแก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ข้อบัญญัติฯ เรื่องค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2565 ข้อบัญญัติฯ เรื่องทุนส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์สาธารณสุข พ.ศ.2565 ข้อบัญญัติฯ เรื่องสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย พ.ศ.2566 ข้อบัญญัติฯเรื่องรางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2566 ข้อบัญญัติฯ เรื่องงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ข้อบัญญัติฯ เรื่องยกเลิกเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2566
ข้อบัญญัติฯ เรื่องค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2566 ข้อบัญญัติฯเรื่องเงินสนับสนุนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2566 ข้อบัญญัติฯ เรื่องเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2566 ข้อบัญญัติฯเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2567 ข้อบัญญัติฯ เรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดการเรียนการสอนแพทย์เฉพาะทาง พ.ศ.2566 ข้อบัญญัติฯเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ.2567 ข้อบัญญัติฯ เรื่องงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ข้อบัญญัติฯ เรื่องค่าจ้างค่าตอบแทนสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นใดของลูกจ้างกรุงเทพมหานครพ.ศ.2567 อยู่ระหว่างการพิจารณา จำนวน 1 เรื่อง ได้แก่ ข้อบัญญัติฯ เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์พ.ศ…..
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร มีการถ่ายทอดสดให้ประชาชนเข้าร่วมรับฟังการประชุม เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2566 ถึงวันที่ 30 เม.ย.2567 มีประชาชนจากพื้นที่เขตต่างๆ ให้ความสนใจร่วมรับฟัง รวมทั้งสิ้น 296 คน
การแต่งตั้งคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร ด้านต่างๆ จำนวน 12 คณะ การตั้งคณะกรรมการวิสามัญ เพื่อศึกษาปัญหาเรื่องต่างๆ และรายงานผลการศึกษาต่อที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร พิจารณาให้ความเห็นชอบจำนวนทั้งสิ้น 24 คณะ ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ จำนวน 12 คณะ ได้แก่
คณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและแนวทางการเสียภาษีของผู้ถือครองที่ดิน เพื่อให้กรุงเทพมหานครจัดเก็บรายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม สอดคล้องกับกฎหมายผังเมืองรวมคณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัดในกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว คณะกรรมการวิสามัญศึกษาความคุ้มค่าในการซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างและแนวทางในการดำเนินการติดตั้ง คณะกรรมการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากการใช้กัญชาหรือกัญชงบริเวณใกล้สถานที่เปราะบาง
คณะกรรมการวิสามัญศึกษาเพื่อแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกันพ.ศ.2536 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการวิสามัญศึกษาการก่อสร้างโรงพยาบาลให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการวิสามัญศึกษาความคุ้มค่าของโครงการต่างๆ ในการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2566 คณะกรรมการวิสามัญศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังและการระบายน้ำในพื้นที่เสี่ยงพื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่ชายขอบของกรุงเทพมหานคร
คณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากยานพาหนะ การก่อสร้าง และอื่นๆในเขตกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการวิสามัญศึกษาการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2562 คณะกรรมการวิสามัญศึกษาอำนาจและหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเพื่อ ลดฝุ่นควันพิษและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมจากขนส่งทุกประเภท และอยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษา จำนวน 12 คณะ
นอกจากนี้ ได้จัดกิจกรรมการเยี่ยมชมสภากรุงเทพมหานคร(Open House) โดยเชิญผู้แทนจากชมรมผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร(อสส.) ผู้แทนอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.)และอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร ร่วมหารือกับสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านสาธารณสุขการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร และการพัฒนาส่งเสริมเด็กก่อนวัยเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อีกทั้งมีการเชิญหน่วยงานภายใน-ภายนอก กรุงเทพมหานคร ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านระบบสาธารณูปโภคการบริหารจัดการน้ำแก้ไขปัญหาน้ำท่วมตลอดจนการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรกรรม การจัดทำผังเมืองรวม การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงบูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปริมณฑล พื้นที่รอยต่อกับกรุงเทพมหานคร หารือในประเด็นที่สำคัญด้านการจัดการน้ำท่วม ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการจัดการขยะ
ด้านโครงการ “สภาบ้านพี่เมืองน้อง” สภากรุงเทพมหานครให้การต้อนรับผู้แทนสภาเมืองที่เดินทางมาเยือนกรุงเทพมหานคร และคณะจากสภากรุงเทพมหานครได้เดินทางไปร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความร่วมมือการบริหารจัดการเมืองภายใต้กรอบความสัมพันธ์สภาบ้านพี่เมืองน้องกับสภาเมืองประเทศต่างๆ ในปี 2565-2566 รวม จำนวน 5 ครั้ง และ ปี 2567 รวมจำนวน 8 ครั้ง
นอกจากภารกิจหลักแล้ว สภากรุงเทพมหานคร ผลักดันให้เด็กและเยาวชน ร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านกีฬา ดนตรี ขับร้อง เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบเงื่อนไข (นักเรียนทุนเสมอภาค) ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และนักเรียนที่เสี่ยงทางการศึกษาให้สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกทม.ตามโครงการ Saturday School และการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของกรุงเทพมหานคร (Education Sandbox)
สภากรุงเทพมหานคร มุ่งมั่นพัฒนากรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งความสุขและยั่งยืนสำหรับทุกคนตลอดไป
บรรยายใต้ภาพ
นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร
ที่มา: นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 มิ.ย. 2567 (กรอบบ่าย)