กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำ-เครื่องจักรกล-หน่วย BEST รองรับพายุฤดูร้อน
นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมระบบระบายน้ำและสถานีสูบน้ำของ กทม. เพื่อรองรับสถานการณ์พายุฤดูร้อนว่า กรุงเทพมหานคร ได้ออกคำสั่งโดยปลัดกรุงเทพมหานคร แจ้งให้ทุกส่วนราชการเตรียมพร้อมรับพายุฤดูร้อน โดยให้ติดตามและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานสภาพอากาศให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ควบคุมระดับน้ำตามแผน ตรวจสอบจุดก่อสร้างที่จะมีผลกระทบกับการระบายน้ำ จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ระบบไฟฟ้าสถานีสูบน้ำ เครื่องสูบน้ำ และบุคลากร เพื่อเข้าพื้นที่ได้ทันที เตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ตรวจอาคารสถานที่ ป้ายโฆษณา สิ่งก่อสร้าง ให้มีสภาพมั่นคงแข็งแรง จัดเตรียมรถดับเพลิง อุปกรณ์กู้ภัย เครื่องมือและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งเจ้าหน้าที่พร้อมให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจากเหตุลมกระโชกแรง และปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่าง ๆ จัดรถสายตรวจพร้อมเจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือประชาชน จุดที่มีปัญหาน้ำท่วมขังและกำลังคน เครื่องมือ ออกปฏิบัติการแก้ไขเหตุต้นไม้หักโค่นล้มกีดขวางถนนและการจราจร หรือกระทบต่อบ้านเรือนทรัพย์สินของประชาชน ทั้งนี้ ให้สำนักงานเขตจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว (หน่วย Best) และจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจช่วยเหลือประชาชน อำนวยความสะดวกด้านการจราจร หากเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ และเมื่อมีเหตุต้นไม้หักโค่น ป้ายโฆษณาล้ม ให้เข้าดำเนินการแก้ไขทันที
ขณะเดียวกันได้จัดเตรียมความพร้อมระบบระบายน้ำและสถานีสูบน้ำของ กทม. เช่น อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง สถานีสูบน้ำ 195 แห่ง ประตูระบายน้ำ 248 แห่ง และบ่อสูบน้ำที่ระบายน้ำช่วยในท่อ 357 แห่ง รวมถึงลดระดับน้ำในแก้มลิงให้อยู่ในระดับต่ำตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จัดเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการเร่งด่วนเคลื่อนที่ (BEST) เข้าพื้นที่ขณะที่มีฝนเริ่มตก พร้อมตรวจสอบเร่งระบายน้ำตามจุดที่มีปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่จุดเสี่ยง จุดเฝ้าระวัง และบริเวณทางอุโมงค์ทางลอดต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดเก็บขยะหน้าตะแกรงช่องรับน้ำฝนและสถานีสูบน้ำ รวมถึงให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขัง จัดเก็บขยะวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำ เพื่อให้ไหลได้สะดวกรวดเร็ว จัดเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมสถานีสูบน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำและบ่อสูบน้ำตลอด 24 ชั่วโมง เตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักร เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองประจำสถานีสูบน้ำกรณีไฟฟ้าขัดข้อง เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ (โมบายยูนิต) รถเครน รถบรรทุกติดตั้งเครนยกไฮโดรลิค บอลลูนไลท์ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อติดตั้งและตรวจสอบแก้ไขเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รวมทั้งจัดเตรียมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอสำหรับเครื่องสูบน้ำและเครื่องจักรกลที่ใช้งานในพื้นที่จุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่ พร้อมปฏิบัติงานภายในศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม ติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังสภาพอากาศตามการแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา และตรวจสอบติดตามกลุ่มฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศของ กทม.
นอกจากนี้ สนน. ได้ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของท่อระบายน้ำ ทางระบายน้ำ และระบบระบายน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณถนนสายหลักที่มีการก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าและโครงการขนาดใหญ่ โดยแจ้งและกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และผู้รับจ้างโครงการ ล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำในพื้นที่ก่อสร้างและรายงานผลการดำเนินงานให้ สนน. ทราบเป็นประจำทุกเดือน และตรวจสอบการเบี่ยงแนวท่อระบายน้ำ (By Pass) ให้น้ำสามารถไหลได้สะดวก หากมีปัญหาติดขัดในการระบายน้ำจะประสานแจ้งโครงการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมในจุดก่อสร้าง เพื่อเร่งระบายน้ำเข้าระบบระบายน้ำของ กทม. อีกทั้งยังได้เปิดช่องทางการแจ้งเตือนสถานการณ์ฝนและอิทธิพลของพายุฤดูร้อนที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพฯ ให้ประชาชนรับทราบแบบเรียลไทม์ ตลอดจนช่องทางแจ้งเหตุ เพื่อขอรับความช่วยเหลือหากประสบเหตุสาธารณภัยที่เกิดขึ้นจากพายุฤดูร้อนผ่านเว็บไซต์ https://dds.bangkok.go.th/, https://pr-bangkok.com/, Facebook : @BKK.BEST และ X(Twitter) : @BKK_BEST รวมถึงรับแจ้งเหตุปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ที่ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม โทร.02 248 5115 หรือแจ้งผ่านระบบ Traffy Fondue
กทม. เตรียมกำหนดมาตรการป้องกันเหตุความไม่ปลอดภัยระหว่างก่อสร้าง พร้อมติดตามการแก้ปัญหาหน่วยงานสาธารณูปโภค
นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบสาเหตุกรณีประชาชนพลัดตกลงไปในท่อบนเกาะกลางถนนบริเวณปากซอยลาดพร้าว 49 เป็นเหตุให้เสียชีวิตว่า กรณีดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จากการตรวจสอบและประสานกับ กฟน. พบว่า บริเวณปากซอยลาดพร้าว 49 เขตวังทองหลาง มีการปิดฝาบ่อพักไว้ไม่สมบูรณ์เป็นเหตุให้มีผู้พลัดตกเสียชีวิต ซึ่ง สนย. ได้ประสานงาน กฟน. ให้แก้ไขปิดฝาบ่อชั่วคราวในบริเวณดังกล่าวให้เป็นแผ่นคอนกรีตทั้งหมด รวมทั้งติดตามเร่งรัดการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาญาติผู้เสียชีวิตให้เป็นที่พอใจ นอกจากนี้ ยังได้มีหนังสือให้ระงับการก่อสร้างโครงการที่เกิดเหตุไว้ก่อน โดยให้ กฟน. แก้ไขความบกพร่องให้เรียบร้อยและมั่นใจในความปลอดภัยแล้ว จึงจะแจ้งอนุญาตให้ทำงานต่อไปได้ ซึ่งการแจ้งระงับดังกล่าวเป็นไปตามบันทึกข้อตกลงที่จัดทำขึ้นระหว่างหน่วยงาน
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ดังกล่าว กทม. ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ขออนุญาตก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้เร่งรัดตรวจสอบความแข็งแรง ความปลอดภัยของฝาบ่อพักตลอดแนวเส้นทางถนนลาดพร้าว พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งหน่วยงานสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบ กำกับดูแลและติดตามการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างดำเนินโครงการท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงการดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัยบริเวณพื้นที่ก่อสร้างอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการตรวจสอบและจัดสภาพหน้างานให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เช่น การจัดการพื้นที่ปิดฝาบ่อพักที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้เป็นระเบียบ มีความปลอดภัยและแข็งแรง รวมถึงการปิดกั้น หรือจัดทำแนวรั้วกั้นพื้นที่ก่อสร้าง โดยเฉพาะบริเวณจุดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับประชาชน และผู้ใช้เส้นทาง การจัดทำป้ายเตือนและป้ายประชาสัมพันธ์การก่อสร้างให้ชัดเจน เพื่อป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งการติดตามให้ผู้รับจ้างคืนพื้นที่ผิวจราจร ทางเท้า เกาะกลางถนนในสภาพที่สมบูรณ์ภายหลังเสร็จสิ้นงานก่อสร้าง
นอกจากนี้ กทม. ได้เชิญหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือในวันที่ 7 พ.ค. 67 เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกันปัญหาเหตุความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างของบริษัทผู้รับจ้าง ตลอดจนการเพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบมาตรการความปลอดภัยทั้งระหว่างการก่อสร้างและหลังการทำงานแล้วเสร็จให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก ส่วนกรณีเรื่องร้องเรียนผ่านระบบ Traffy Fondue กทม. ได้ประสานความร่วมมือหน่วยงานสาธารณูปโภค โดยได้เชิญหน่วยงานประชุมหารือและได้มีหนังสือแจ้งประสานหน่วยงานเป็นประจำทุกเดือนในการติดตามเร่งรัดการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานสาธารณูปโภคที่รับเรื่องผ่านระบบ Traffy Fondue
กทม. เฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ เน้นย้ำกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษาเข้ารับวัคซีนประจำปี
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมระบบเฝ้าระวังและมาตรการเชิงรุกป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนพ. ได้เตรียมมาตรการเฝ้าระวัง พร้อมจัดทำแนวทางควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ รวมถึงภัยสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยสั่งการให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาด รวมถึงวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้องตามแนวทางการรักษาของโรค และจัดการสำรองยาให้เพียงพอต่อการรักษาผู้ป่วย พร้อมจัดเตรียมวัคซีนป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ให้กับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. – 31 ส.ค. 67 หรือจนกว่าวัคซีนจะหมด (วัคซีนมีจำนวนจำกัด) พร้อมทั้งมอบหมายกลุ่มงานอนามัยชุมชนของโรงพยาบาลในสังกัดทั้ง 11 แห่ง ให้บริการเชิงรุก เช่น จัดกิจกรรม นิทรรศการแก่ประชาชนที่มารับบริการและประชาชนในพื้นที่โดยรอบโรงพยาบาลให้ตระหนักถึงการดูแลและป้องกันสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะในช่วงย่างเข้าสู่ฤดูฝนจะเข้าสู่การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ และเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของสถานศึกษาต่าง ๆ
ขณะเดียวกันได้เชิญชวนประชาชนไทย 7 กลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษาพยาบาล สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2567 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ (1) หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป (ให้บริการฉีดตลอดทั้งปี) (2) เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ทุกคน (หมายถึง กลุ่มเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนเต็มจนถึงอายุ 2 ปี 11 เดือน 29 วัน) (3) ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน (4) บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป (5) โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) (6) โรคอ้วน (ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัม/ตารางเมตร และ (7) ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดอาการเจ็บป่วยรุนแรงและความเสี่ยงการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง ติดต่อได้ที่หน่วยบริการ หรือสถานพยาบาลที่รับบริการเป็นประจำ หรือหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่ “กระเป๋าสุขภาพ” แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” และจองสิทธิการฉีดวัคซีนฯ ล่วงหน้า รพ.สังกัด กทม. ผ่าน https://shorturl.asia/EDSs6 หรือสแกน QR Code ติดต่อศูนย์ UMSC รพ. สังกัด กทม. ทั้ง 11 แห่ง ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ แต่ไม่สะดวกจองผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” สามารถโทร. สายด่วน สปสช. 1330 กด 8 เพื่อจองคิวฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ ทั้งนี้ การจองนัดหมายเข้ารับบริการขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละหน่วยบริการ หากไม่สามารถทำนัดหมายได้ กรุณาติดต่อสอบถามการเข้ารับบริการกับหน่วยบริการโดยตรง
นอกจากนั้น ได้รณรงค์ส่งเสริมความรู้ให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และประชาชนกลุ่มเสี่ยง สร้างความตระหนักและกระตุ้นเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยและครบ 5 หมู่ สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ดื่มน้ำมาก ๆ ล้างมือให้สะอาด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่มีโรคประจำตัว พร้อมให้ความรู้ ข้อแนะนำ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจะเน้นการเข้าถึงกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพ รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคเบื้องต้นตามชุมชนและสถานที่ที่มีคนแออัด หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบพบแพทย์ทันที หรือพบแพทย์ผ่าน Telemedicine ผ่านแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนสุขภาพ สำนักการแพทย์ กทม. โทร.1646 ตลอด 24 ชั่วโมง
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมระบบเฝ้าระวังและมาตรการเชิงรุกป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนพ. ได้เตรียมมาตรการเฝ้าระวัง พร้อมจัดทำแนวทางควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ รวมถึงภัยสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยสั่งการให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาด รวมถึงวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้องตามแนวทางการรักษาของโรค และจัดการสำรองยาให้เพียงพอต่อการรักษาผู้ป่วย พร้อมจัดเตรียมวัคซีนป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ให้กับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. – 31 ส.ค. 67 หรือจนกว่าวัคซีนจะหมด (วัคซีนมีจำนวนจำกัด) พร้อมทั้งมอบหมายกลุ่มงานอนามัยชุมชนของโรงพยาบาลในสังกัดทั้ง 11 แห่ง ให้บริการเชิงรุก เช่น จัดกิจกรรม นิทรรศการแก่ประชาชนที่มารับบริการและประชาชนในพื้นที่โดยรอบโรงพยาบาลให้ตระหนักถึงการดูแลและป้องกันสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะในช่วงย่างเข้าสู่ฤดูฝนจะเข้าสู่การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ และเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของสถานศึกษาต่าง ๆ
ขณะเดียวกันได้เชิญชวนประชาชนไทย 7 กลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษาพยาบาล สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2567 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ (1) หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป (ให้บริการฉีดตลอดทั้งปี) (2) เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ทุกคน (หมายถึง กลุ่มเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนเต็มจนถึงอายุ 2 ปี 11 เดือน 29 วัน) (3) ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน (4) บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป (5) โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) (6) โรคอ้วน (ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัม/ตารางเมตร และ (7) ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดอาการเจ็บป่วยรุนแรงและความเสี่ยงการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง ติดต่อได้ที่หน่วยบริการ หรือสถานพยาบาลที่รับบริการเป็นประจำ หรือหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่ “กระเป๋าสุขภาพ” แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” และจองสิทธิการฉีดวัคซีนฯ ล่วงหน้า รพ.สังกัด กทม. ผ่าน https://shorturl.asia/EDSs6 หรือสแกน QR Code ติดต่อศูนย์ UMSC รพ. สังกัด กทม. ทั้ง 11 แห่ง ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ แต่ไม่สะดวกจองผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” สามารถโทร. สายด่วน สปสช. 1330 กด 8 เพื่อจองคิวฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ ทั้งนี้ การจองนัดหมายเข้ารับบริการขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละหน่วยบริการ หากไม่สามารถทำนัดหมายได้ กรุณาติดต่อสอบถามการเข้ารับบริการกับหน่วยบริการโดยตรง
นอกจากนั้น ได้รณรงค์ส่งเสริมความรู้ให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และประชาชนกลุ่มเสี่ยง สร้างความตระหนักและกระตุ้นเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยและครบ 5 หมู่ สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ดื่มน้ำมาก ๆ ล้างมือให้สะอาด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่มีโรคประจำตัว พร้อมให้ความรู้ ข้อแนะนำ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจะเน้นการเข้าถึงกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพ รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคเบื้องต้นตามชุมชนและสถานที่ที่มีคนแออัด หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบพบแพทย์ทันที หรือพบแพทย์ผ่าน Telemedicine ผ่านแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนสุขภาพ สำนักการแพทย์ กทม. โทร.1646 ตลอด 24 ชั่วโมง
เขตบางเขนเร่งทำความเข้าใจเหตุโยนขยะ-สิ่งปฏิกูลเข้าบ้านผู้อื่นในซอยรามอินทรา 65 แยก 2-4-2
นางอัญชนา บุญสุยา ผู้อำนวยการเขตบางเขน กทม. กล่าวกรณีข้อร้องเรียนเพื่อนบ้านทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลในพื้นที่บ้านนานกว่า 2 ปี ว่า สำนักงานเขตบางเขน ร่วมกับสถานีตำรวจนครบาล (สน.) คันนายาว ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีข้อพิพาทเรื่องการโยนขยะและสิ่งปฏิกูลเข้าบ้านของผู้อื่นบริเวณซอยรามอินทรา 65 แยก 2-4-2 แขวงท่าแร้ง โดยสอบถามและพูดคุยกับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนได้รับแจ้งว่า ต้องการให้คู่กรณีเก็บขยะที่โยนเข้ามาบริเวณบ้านตนเองออกให้หมดและห้ามทิ้งขยะเข้ามาอีก จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้วไม่เข้าข่ายเหตุเดือดร้อนรำคาญ ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งการกระทำของคู่กรณีเป็นการบุกรุก ทำลายทรัพย์สิน สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินและเกิดในพื้นที่เอกชน อย่างไรก็ตาม ได้ทำความเข้าใจกับผู้เดือดร้อนเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งประสานศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน เพื่อเข้าให้คำปรึกษาและดูแลด้านสภาพจิตใจของผู้เดือดร้อนและคู่กรณี
นางอัญชนา บุญสุยา ผู้อำนวยการเขตบางเขน กทม. กล่าวกรณีข้อร้องเรียนเพื่อนบ้านทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลในพื้นที่บ้านนานกว่า 2 ปี ว่า สำนักงานเขตบางเขน ร่วมกับสถานีตำรวจนครบาล (สน.) คันนายาว ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีข้อพิพาทเรื่องการโยนขยะและสิ่งปฏิกูลเข้าบ้านของผู้อื่นบริเวณซอยรามอินทรา 65 แยก 2-4-2 แขวงท่าแร้ง โดยสอบถามและพูดคุยกับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนได้รับแจ้งว่า ต้องการให้คู่กรณีเก็บขยะที่โยนเข้ามาบริเวณบ้านตนเองออกให้หมดและห้ามทิ้งขยะเข้ามาอีก จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้วไม่เข้าข่ายเหตุเดือดร้อนรำคาญ ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งการกระทำของคู่กรณีเป็นการบุกรุก ทำลายทรัพย์สิน สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินและเกิดในพื้นที่เอกชน อย่างไรก็ตาม ได้ทำความเข้าใจกับผู้เดือดร้อนเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งประสานศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน เพื่อเข้าให้คำปรึกษาและดูแลด้านสภาพจิตใจของผู้เดือดร้อนและคู่กรณี
เขตวังทองหลางตรวจสอบเหตุฝาท่อชำรุด พร้อมส่งหน่วยเบสท์แก้ไขทันที
นายโครงการ เจียมจีรกุล ผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง กล่าวกรณีสื่อออนไลน์เสนอข่าวเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้รับแจ้งเหตุฝาท่อชำรุด ทำให้รถยนต์ของประชาชนที่สัญจรไปมาได้รับความเสียหาย โดยจุดเกิดเหตุอยู่ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาล (สน.) วังทองหลางว่า จากการตรวจสอบกรณีดังกล่าวพบว่า ที่เกิดเหตุอยู่บริเวณหน้าร้านปาเต๋ะ ถนนอินทราภรณ์ มีฝาเหล็กบ่อพักท่อระบายน้ำหลุดออกจากบ่อพัก ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ระหว่างผู้รับจ้าง ดำเนินการปรับปรุงถนนอินทราภรณ์ จากร้านนายเรืองลาบเป็ด ถึงคลองเจ้าคุณสิงห์ เริ่มต้นสัญญา วันที่ 26 ธ.ค. 66 และจะสิ้นสุดสัญญาวันที่ 12 ก.ค. 67 ปัจจุบันการก่อสร้างได้ดำเนินการไปได้แล้วร้อยละ 70 ทั้งนี้ หลังเกิดเหตุประมาณ 10 นาที สำนักงานเขตฯ ได้แจ้งให้ผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงาน พร้อมทั้งหน่วยเบสท์ของเขต เข้าแก้ไขจนเหตุการณ์ปกติ
ทั้งนี้ คาดว่า สาเหตุดังกล่าวเกิดจากฝาเหล็ก อาจคลายตัวจากการเหยียบกระแทกจากรถที่มีน้ำหนักมากและวิ่งมาด้วยความเร็ว อาจเกิดการยกตัวมาอยู่ในส่วนของขอบบ่อพักจนรถคันที่ประสบเหตุมาเหยียบ ทำให้กระด็นยกตัวติดไปกับใต้ท้องรถ สำหรับรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายมี 2 คัน ดังนี้ รถคันแรกที่เหยียบฝาจนเกิดเหตุการณ์ฝากระเด็นหลุดออกจากบ่อพัก ไม่มีประกันภัย ผู้รับจ้างจึงแนะนำให้ไปลงบันทึกประจำวันไว้ เพื่อประสานค่าสินไหมทดแทนต่อไป และรถคันที่เหยียบฝาท่อหลังจากที่ฝากระเด็นแล้ว ได้รับความเสียหายเล็กน้อยและมีประกัน ซึ่งจะได้ดำเนินการเรียกค่าสินไหมทดแทนโดยบริษัทประกันภัยต่อไป
นายโครงการ เจียมจีรกุล ผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง กล่าวกรณีสื่อออนไลน์เสนอข่าวเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้รับแจ้งเหตุฝาท่อชำรุด ทำให้รถยนต์ของประชาชนที่สัญจรไปมาได้รับความเสียหาย โดยจุดเกิดเหตุอยู่ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาล (สน.) วังทองหลางว่า จากการตรวจสอบกรณีดังกล่าวพบว่า ที่เกิดเหตุอยู่บริเวณหน้าร้านปาเต๋ะ ถนนอินทราภรณ์ มีฝาเหล็กบ่อพักท่อระบายน้ำหลุดออกจากบ่อพัก ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ระหว่างผู้รับจ้าง ดำเนินการปรับปรุงถนนอินทราภรณ์ จากร้านนายเรืองลาบเป็ด ถึงคลองเจ้าคุณสิงห์ เริ่มต้นสัญญา วันที่ 26 ธ.ค. 66 และจะสิ้นสุดสัญญาวันที่ 12 ก.ค. 67 ปัจจุบันการก่อสร้างได้ดำเนินการไปได้แล้วร้อยละ 70 ทั้งนี้ หลังเกิดเหตุประมาณ 10 นาที สำนักงานเขตฯ ได้แจ้งให้ผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงาน พร้อมทั้งหน่วยเบสท์ของเขต เข้าแก้ไขจนเหตุการณ์ปกติ
ทั้งนี้ คาดว่า สาเหตุดังกล่าวเกิดจากฝาเหล็ก อาจคลายตัวจากการเหยียบกระแทกจากรถที่มีน้ำหนักมากและวิ่งมาด้วยความเร็ว อาจเกิดการยกตัวมาอยู่ในส่วนของขอบบ่อพักจนรถคันที่ประสบเหตุมาเหยียบ ทำให้กระด็นยกตัวติดไปกับใต้ท้องรถ สำหรับรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายมี 2 คัน ดังนี้ รถคันแรกที่เหยียบฝาจนเกิดเหตุการณ์ฝากระเด็นหลุดออกจากบ่อพัก ไม่มีประกันภัย ผู้รับจ้างจึงแนะนำให้ไปลงบันทึกประจำวันไว้ เพื่อประสานค่าสินไหมทดแทนต่อไป และรถคันที่เหยียบฝาท่อหลังจากที่ฝากระเด็นแล้ว ได้รับความเสียหายเล็กน้อยและมีประกัน ซึ่งจะได้ดำเนินการเรียกค่าสินไหมทดแทนโดยบริษัทประกันภัยต่อไป