Flag
Search
Close this search box.
ห้วยขวางพาชมคัดแยกขยะต้นทางอาคาร G Tower เปิดแอป AirBKK เทียบค่าฝุ่น PM2.5 ไซต์งานย่านพระราม 9 พัฒนาสวนป่าใต้ทางด่วนพระราม 9 ตัดถนนประดิษฐ์มนูธรรม จัดระเบียบผู้ค้าหน้าอาคารสหพัฒน์ถนนเพชรบุรี

(18 เม.ย.67) เวลา 13.30 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตห้วยขวาง ประกอบด้วย

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ อาคาร จี ทาวเวอร์ (G Tower) ถนนพระราม 9 พื้นที่ 135,766.08 ตารางเมตร บุคลากรของฝ่ายบริหารอาคาร 100 คน ผู้เช่าและร้านค้าภายในอาคาร 10,000 คน ผู้ใช้บริการ 12,000 คน/วัน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล ตั้งวางถังขยะตามจุดต่างๆ ภายในอาคาร ประชาสัมพันธ์ให้พนักงาน ร้านค้า และผู้เช่าภายในอาคารคัดแยกขยะจากต้นทาง โครงการแยกขยะลดโลกร้อน โครงการทิ้งดีสัญจร กิจกรรมเปลี่ยนขยะไร้ค่าให้มีมูลค่า 2.ขยะอินทรีย์ โครงการนำขยะย่อยสลายไปใช้ประโยชน์ ร้านค้าและผู้เช่ารวบรวมนำขยะอินทรีย์มาไว้ที่ห้องขยะ ประสานเขตฯ จัดเก็บ บางส่วนนำไปเลี้ยงปลา 3.ขยะอันตราย ฝ่ายอาคารจัดเก็บรวบรวมนำมาไว้ที่ห้องขยะแห้ง ประสานเขตฯ นำไปกำจัดอย่างถูกวิธี 4.ขยะทั่วไป แม่บ้านส่วนกลางของฝ่ายบริหารอาคารจัดเก็บรวบรวมไว้ที่จุดพักขยะ ส่วนขยะที่จำหน่ายได้จะรวบรวมนำมาจำหน่ายพร้อมซากวัสดุของฝ่ายอาคาร สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 3,888 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 2,100 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลก่อนคัดแยก 15 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 30 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 535 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 600 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตรายก่อนคัดแยก 43 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 42.57 กิโลกรัม/วัน

ตรวจมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการอาคารสำนักงานวี.วรรณ ทาวเวอร์ ถนนพระราม 9 ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงาน ความสูง 44 ชั้น และชั้นใต้ดิน 2 ชั้น จำนวน 1 อาคาร ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งผู้ประกอบการได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 ติดตั้งเครื่องพ่นละอองน้ำด้านหน้าทางเข้า-ออกโครงการและพื้นที่โดยรอบ ล้างทำความสะอาดล้อรถบรรทุกที่ผ่านเข้า-ออกโครงการ ติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 และจอแสดงผลด้านหน้าโครงการ โดยเขตฯ ได้เปิดแอปพลิเคชัน AirBKK ตรวจสอบคุณภาพอากาศ พบว่าคุณภาพอากาศที่ตรวจวัดได้มีค่าใกล้เคียงกับเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 ที่ติดตั้งอยู่โครงการ นอกจากนี้ เขตฯ ได้ติดตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ ได้แก่ ประเภทอู่พ่นสียานยนต์ 16 แห่ง ประเภทโรงงานที่มีการใช้หม้อไอน้ำ 1 แห่ง ประเภทแพลนท์ปูน 14 แห่ง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 ควบคุมไม่ให้ปล่อยมลพิษในอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

พัฒนาสวน 15 นาที สวนป่าใต้ทางด่วนพระราม 9 ตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม ในโอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเขตห้วยขวาง ได้ร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้ง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง ตลอดจนเพิ่มความร่มรื่นและสวยงามให้กับสวนดังกล่าว เขตฯ มีสวน 15 นาที (สวนเดิม) จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ 1.สวนราษฎร์บำเพ็ญ พื้นที่ 1 งาน 20 ตารางวา 2.สวนสุขภาพห้วยขวาง ถนนเทียนร่วมมิตร พื้นที่ 4 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา 3.สวนพรรณภิรมย์ พื้นที่ 13 ไร่ 25 ตารางวา 4.สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์ พื้นที่ 9 ไร่ 38 ตารางวา 5.สวนหย่อมหลังไปรษณีย์ห้วยขวาง พื้นที่ 3 ไร่ 2 งาน 11 ตารางวา 6.สวนสุขภาพห้วยขวาง ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พื้นที่ 3 งาน 69 ตารางวา 7.สวนหย่อมประชาอุทิศ พื้นที่ 80 ตารางวา 8.สวนหย่อมบ้านหนังสือชุมชนทับแก้ว พื้นที่ 1 งาน 91 ตารางวา 9.สวนอยู่เจริญภิรมย์ พื้นที่ 2 งาน 42.2 ตารางวา สวน 15 นาที (สวนใหม่) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.สวนหย่อมพระราม 9 แยก 11 พื้นที่ 3 งาน ดำเนินการแล้วเสร็จ 2.สวนป่าใต้ทางด่วนพระราม 9 ตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม พื้นที่ 7 ไร่ 3 งาน 11 ตารางวา อยู่ระหว่างปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้เพิ่มเติม 3.สวนสบายใจข้างฝ่ายทะเบียนเขตห้วยขวาง พื้นที่ 20 ตารางวา

พร้อมกันนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สอบถามถึงการจัดระเบียบผู้ค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณหน้าอาคารสหพัฒน์/อาบอบนวด ถนนเพชรบุรี (ขาเข้า) ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 10 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 139 ราย ดังนี้ 1.ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ซอยรุ่งเรือง ผู้ค้า 15 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-14.00 น. 2.ถนนรัชดาภิเษก หน้า MRT สุทธิสาร ผู้ค้า 30 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. 3.ถนนรัชดาภิเษก หน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา/ไทยภัทร ผู้ค้า 10 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-15.00 น. 4.ถนนเพชรบุรี (ขาออก) แยกอโศกเพชร ผู้ค้า 10 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-14.00 น. 5.ถนนเพชรบุรี (ขาออก) หน้าเบสเฮ้าส์อพาร์ทเม้นต์ ผู้ค้า 10 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 18.00-22.00 น. 6.ถนนเพชรบุรี (ขาเข้า) หน้าศูนย์โตโยต้า ผู้ค้า 10 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-12.00 น. 7.ถนนเพชรบุรี (ขาเข้า) อาคารสหพัฒน์/อาบอบนวด ผู้ค้า 10 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-14.00 น. 8.ถนนเพชรบุรี (ขาเข้า) ซอยเพชรบุรี 38 ผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-15.00 น. 9.ถนนเพชรบุรี (ขาเข้า) วัดใหม่ช่องลม/อิตัลไทย ผู้ค้า 15 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-14.00 น. และ 10.ถนนประชาอุทิศ ซอยประชาอุทิศ 17 ผู้ค้า 16 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-20.00 น. ที่ผ่านมา เขตฯ ดำเนินการยกเลิกจุดทำการค้าแล้ว 5 จุด ได้แก่ 1.ถนนรัชดาภิเษก หน้า MRT รัชดาภิเษก ผู้ค้า 6 ราย 2.ถนนรัชดาภิเษก หน้า MRT ห้วยขวาง ผู้ค้า 11 ราย 3.ถนนพระราม 9 ซอย 5 ผู้ค้า 6 ราย 4.ถนนเพชรบุรี (ขาเข้า) อาคาร MSIG ผู้ค้า 5 ราย 5.ถนนเทียมร่วมมิตร (ขาออก) ผู้ค้า 7 ราย นอกจากนี้ เขตฯ ได้จัดทำ Hawker Center จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ตลาดนัดกลางซอย 6 ถนนพระราม 9 รองรับผู้ค้าได้ 80 ราย ตลาดเมืองไทยภัทร รองรับผู้ค้าได้ 50 ราย และตลาด 9 Yards ถนนจตุรทิศ รองรับผู้ค้าได้ 160 ราย ซึ่งทั้ง 3 แห่งเป็นพื้นที่เอกชน จัดเก็บค่าเช่าในอัตราที่ตลาดกำหนด ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาทยอยยกเลิกหรือรวบจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยให้ย้ายเข้าไปทำการค้าในจุดเดียวกัน หรือจุดที่เขตฯ จัดทำเป็น Hawker Center เพื่อความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่

ในการนี้มี นายไพฑูรย์ งามมุข ผู้อำนวยการเขตห้วยขวาง พร้อมคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตห้วยขวาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี
—–  (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200