ระวัง 6 โรคจากความร้อน กทม.แนะเลี่ยงออกแดดจัด

กทม.เตือนระวัง 6 โรคจาก ความร้อน แนะดูแลตัวเองเมื่อออกกลางแจ้ง

น.ส.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเตือน ประชาชนระวังสุขภาพช่วงฤดูร้อน ว่า เนื่องด้วยปัจจุบันฤดูร้อนจะมี อุณหภูมิสูงมากกว่าปกติ ประชาชน จึงควรระวังและดูแลสุขภาพตนเองไม่ให้เจ็บป่วย ซึ่ง 6 โรคที่มาจากความร้อนที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ 1.โรคฮีทสโตรก (Heat storke) อาการที่พบ เนื่องจากอุณหภูมิแกนกลางร่างกายสูงขึ้นกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป ผิวหนัง แดงร้อน ชีพจรเต้นเร็วและแรง ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ หรือสับสน มึนงง คลื่นไส้ หรืออาเจียน ความรู้สึกตัวของร่างกายที่เปลี่ยนไป มีการตอบสนองช้า สับสนบางครั้ง มีเอะอะโวยวาย เป็นลม หมดสติและถึงขั้นเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งภาวะฮีทสโตรก อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญเช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

2.ผื่นจากความร้อน (Heat rash) เกิดจากเหงื่อออกมาก ในสภาพอากาศร้อน เกิดการอักเสบ ของรูขุมขนทำให้ผิวหนังเกิดการระคายและเป็นตุ่มคันสีแดงเล็กๆ ที่บริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอกส่วนบน ใต้ราวนมและขาหนีบ 3.บวมจากความร้อน (Heat ederma) เกิดจากความร้อนทำให้หลอดเลือด บริเวณผิวหนัง ขยายตัว โดยเฉพาะบริเวณขา ทำให้สารน้ำในร่างกายไหลไปรวม อยู่บริเวณข้อเท้าและขา ตาม แรงโน้มถ่วงมักเกิดขึ้นในช่วง 2-3 วันแรก ที่สัมผัสอากาศร้อน โดย ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือความไม่สมดุล ของเกลือในร่างกายหากสูญเสียเกลือน้อยกว่าปกติ ระดับเกลือ ในร่างกายที่เพิ่มขึ้นจะดึงสารน้ำ ไปยังขาจึงทำให้เกิดอาการบวม

4.ตะคริวจากความร้อน (Heat cramps) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหดตัว กระตุกและเกร็งอย่างเฉียบพลันโดยเฉพาะที่บริเวณขาแขนและท้องเกิดจากการสูญเสียเกลือแร่จากเหงื่อเป็นจำนวนมากมักเกิด จากการออกกำลังกาย 5.เป็นลมแดด (Heat syncope) เกิดจากการที่ร่างกายปรับตัวต่อความร้อนไม่ได้ ในระยะเวลาที่อากาศร้อนขึ้นอย่าง รวดเร็ว ร่างกายจึงพยายามขับความร้อนส่วนเกินออก โดยการ เพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปที่ผิวหนัง ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่สมองลดลง จึงทำให้มีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ และเป็นลมหมดสติ ภาวะนี้ พบบ่อยมากในผู้ที่ไม่เคยชินกับอากาศร้อน เมื่อต้องไปอยู่ในสภาพ อากาศร้อนในช่วงแรกๆ และ 6.เพลียแดด (Heat-exhaustion) มักเกิดขึ้นเมื่อต้องอยู่ในบริเวณ ที่มีอากาศร้อนจัดและขาดน้ำเป็นเวลานาน สาเหตุสำคัญเกิดจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ จำนวนมาก โดยจะมีเหงื่อออกมาก อ่อนแรง หรือเหนื่อยล้า หน้าซีด ชีพจรอ่อน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ หรือสับสน มึนงง คลื่นไส้ หรืออาเจียน และเป็นลม

แนะประชาชนให้ดูแลสุขภาพ ตัวเองหากมีอาการเมื่ออยู่กลางแจ้ง ให้รีบเข้าที่ร่ม และระบายความร้อน ให้อุณหภูมิร่างกายลดลง ประชาชน สามารถป้องกันตนเอง โดยหลีกเลี่ยง การทำกิจกรรมในสภาพอากาศ ที่ร้อนจัด หรือกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ หากสามารถเลี่ยงได้ควรเลือกเวลาที่ทำกิจกรรมในช่วง เช้ามืด หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน รวมทั้งควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอ หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้ง ควรมีอุปกรณ์ป้องกัน แสงแดด เช่น เสื้อผ้าที่ระบายอากาศ ได้ดี หมวก ร่ม หากมีอาการรุนแรง ให้นำส่งสถานพยาบาลเร็วที่สุด โดยสามารถติดต่อขอรถบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน สายด่วน 1669 บริการตลอด 24 ชั่วโมง

 



ที่มา:  นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 17 เม.ย. 2567

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200