กรุงเทพมหานคร และ บริษัท ยัสปาล จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการ Thailand Fashion Sustainability Movement โดยมีเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาห กรรมเสื้อผ้า ด้วยการคืนชีวิตให้กับเสื้อผ้าที่ไม่ได้จัดจำหน่ายแล้ว นำมาเติมไอเดียอย่างสร้างสรรค์ด้วยฝีมือการออกแบบจากน้องๆ นักศึกษาจาก 5 มหาวิทยาลัย ที่มารวมพลังกันส่งต่อความฝันจากปลายพู่กัน สร้างสีสันบนเสื้อผ้า และส่งมอบให้กับกทม. โดย สำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) เพื่อนำไปบริจาค ส่งมอบให้แก่ผู้ที่ต้องการผ่านหน่วยงาน หรือมูลนิธิสาธารณกุศลต่างๆ รวมไปถึงการร่วมมือกันพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ในด้านการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่สังคมอย่างแท้จริง
นายวิสิทธิ์ สิงห์สัจจเทศ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ยัสปาล จำกัด (มหาชน) ยัสปาล กรุ๊ป กล่าวว่า ยัสปาล กรุ๊ป ตระหนักถึงการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “The Power of Sustainability” ในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อให้องค์กร ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม เติบโตพัฒนาร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในแต่ละปีทางยัสปาล กรุ๊ป จะมีเสื้อผ้าที่ไม่ได้จัดจำหน่ายและยังไม่ผ่านการใช้งานคงเหลืออยู่ จึงมองเห็นโอกาสในการสร้างคุณค่าจากเสื้อผ้าเหล่านี้ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด
ที่ผ่านมา ยัสปาล กรุ๊ป ได้พัฒนาในด้านต่างๆ ที่จะส่งเสริมและตระหนักถึงผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การสร้างสรรค์ Sustainable Collection ซึ่งเป็นแฟชั่นที่มาจากวัตถุดิบธรรมชาติ หรือกระบวนการผลิตที่สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
ภายในงาน กรุงเทพมหานคร โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่าง กรุงเทพมหานคร กับ บริษัท ยัสปาล จำกัด (มหาชน) โดย นายวิสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ยัสปาล จำกัด (มหาชน)
งานในครั้งนี้ได้พลังจากคนรุ่นใหม่มาร่วมออกไอเดียสร้างสรรค์เสื้อผ้าให้สวยงามตามจินตนาการ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Dream Diaries” ปลูกฝังแนวคิดการสร้างความยั่งยืนให้กับดีไซเนอร์รุ่นใหม่ ที่จะเติบโตต่อยอดเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทยต่อไป โดยได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาสาขาด้านการออกแบบแฟชั่นดีไซน์จาก 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยรังสิต มาเป็นตัวแทน ส่งต่อความฝันจากปลายพู่กัน
น้องโอลี่-นายชยุต ด่านวิทยากุล จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยความรู้สึกว่า “ผลงานวันนี้ได้ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเกมส์ชีวิตที่เราจะต้องเจอในแต่ละ ช่วงวัย เปรียบเหมือนด่านในแต่ละเกมส์ที่ต้องผจญภัยไม่ว่าเจออุปสรรคมากแค่ไหน ก็ต้องไม่หยุดที่จะไล่ตามความฝันของตัวเอง จึงอยากส่งต่อกำลังใจผ่านไอเดียตัวเอง บนเสื้อผ้าเหล่านี้ไปยังพี่ๆ ที่ต้องการ” ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เผยว่า “ดีใจมากๆ ที่ได้เข้าร่วมน้องชาลิ-น.ส.ชาลิสา สวัสดิ์สิงห์ จากมหาวิทยาลัยกิจกรรมในวันนี้ มองว่าเป็นสิ่งที่ดีทั้งในด้านของการเป็นผู้ให้ และด้านการสร้างความยั่งยืนโดยการนำเอาเสื้อผ้าเหล่านี้มาออกแบบใหม่ให้มีคุณค่า สามารถใช้งานได้ โดยไม่ต้องนำไปทำลายทิ้ง โดยได้ดีไซน์ออกมาในรูปแบบของดอกไม้ใบไม้ที่เป็นตัวแทนของความฝัน ไม่ว่าจะโดนลมพัดปลิวแค่ไหนก็ต้อง ไม่ย่อท้อ พร้อมที่จะก้าวเดินต่อไป”
ขณะที่ น้องมาซซี่-นายมัสธี กามา จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มองว่าแฟชั่นกับความยั่งยืนต้องเดินไปด้วย เพราะในปัจจุบัน คนนิยมแต่งตัวกันมากขึ้น ดังนั้นทรัพยากรที่ใช้ก็ควรจะ Sustainability มีการหมุนเวียน ไม่ทำลายโลก และหวังว่าผลงานที่ได้ทำในวันนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับพี่ๆ ได้รับ มีพลังในการใช้ชีวิต และมีความสุขกันมากๆ
ด้านน้องฝิ่น-น.ส.อินทิรา อินธุระ จากมหาวิทยาลัยรังสิต ที่วันนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวความรู้สึก ความฝัน ผ่านสีต่างๆ บนเสื้อผ้าที่จะมอบให้แก่ผู้ที่ต้องการ โดยมีมุมมองในเรื่องของ Sustainable Fashion ที่ควรจะต้องคำนึงถึงโลกกันให้มากยิ่งขึ้น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่อยากให้คนรุ่นหลังต้องเติบโตมาในโลกที่เต็มไปด้วยมลภาวะที่เป็นพิษต่อการใช้ชีวิต
ปิดท้ายที่ น้องเฟิร์ส-นายบุณยภู ศรีรังไพโรจน์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ตอนนี้กำลังศึกษาในเรื่องของความยั่งยืน โดยการนำเอาสิ่งของที่เหลือใช้มาทำผลงานโปรเจ็กต์ต่างๆ และมองว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นต้องมีการออกแบบไว ผลิตไว ดังนั้นจึงอยากให้มีการนำเอาทรัพยากรที่เหลือใช้มาหมุนเวียน สร้างคุณค่าเพิ่มขึ้น
“นับเป็นอีกกิจกรรมดีๆ ที่ร่วมกันส่งเสริมให้วงการแฟชั่นมีความยั่งยืน โดยที่ไม่ต้องทำลายโลก”
บรรยายใต้ภาพ
Thailand Fashion Sustainability Movement โดยกทม.และยัสปาล กรุ๊ป
น้องๆ ยิ้มโชว์ผลงาน
ผลงานฝีมือปลายพู่กันของน้องๆ
ผู้ว่าฯ กทม. และผู้บริหารยัสปาลฯ ชมผลงานน.ศ.
ผลงานการออกแบบของน้องๆ
ที่มา: นสพ.ข่าวสด ฉบับวันที่ 29 ม.ค. 2567