รถไฟฟ้าสีเขียว’หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต-แบริ่ง-ปากน้ำ’
ศาลาว่าการกทม. – เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า ได้ลงนามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การกำหนดอัตราค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยกำหนดในอัตราคงที่ 15 บาทตลอดสาย อาศัยอำนาจตามข้อ 4 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552
โดยช่วงแบริ่ง – เคหะสมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กิโลเมตร จำนวน 9 สถานี จากสถานีสำโรง (E15) ถึงสถานีเคหะ สมุทรปราการ (E23) และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต หมายถึง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จากสถานีห้าแยกลาดพร้าว(N9) ถึงสถานีคูคต (N24) ระยะทาง 18.40 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2567 เป็นต้นไป
ด้านนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงแนวทางปรับปรุงทางเท้า ว่า ในปี 2566 กทม.ปรับปรุงทางเท้าไปกว่า 17 เส้นทาง รวมระยะทางกว่า 80 กิโลเมตร เช่น ถนนสวรรคโลก ถนนพระราม 6 รวมถึงการทาสีแบ่งช่องทางเดินแทนการ ก่อสร้างทางเท้า เนื่องจากติดปัญหาเขตทาง โดยเฉพาะในซอย ย่อยต่างๆ
กทม.มีเป้าหมายปรับปรุงทางเท้า 1,000 กิโลเมตร ในปี 2559 ปัจจุบันเริ่มดำเนินการแล้วในปี 2565 จำนวน 151 ก.ม. ปี 2560 กำลังดำเนินการ 369 ก.ม. ปี 2567 ตั้งเป้า 416 ก.ม. ปี 2568 ตั้งเป้า 420 ก.ม. ปี 2569 ตั้งเป้า 340 ก.ม. รวมระยะทาง 1,696 ก.ม.
นายวิศณุ กล่าวว่า สำหรับโครงการสำคัญที่จะดำเนินการต่อเนื่องในปี 2567 คือ การปรับปรุงทางเท้าถนนสุขุมวิททั้งหมดตั้งแต่ซอย 1-107 ทั้ง 2 2 ฝั่ง ระยะทาง 25 ก.ม. แบ่งเป็นการก่อสร้าง 4 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงนานา อโศก ช่วงพร้อมพงษ์ พระโขนง ช่วงอ่อนนุช-ปุณณวิถี ช่วงบางนา-แบริ่ง ปัจจุบันเริ่มทำถนน เพลินจิต และมีการดำเนินการเรื่องไฟส่องสว่างควบคู่ไปด้วย เนื่องจากถนนสุขุมวิท ได้รับการร้องเรียนเรื่องไฟดับบ่อย
นอกจากนี้ ยังมีโครงการทางเดินลอยฟ้าย่านราชวิถี เส้นทางจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถึงถนนพระราม 6 เขตทางฝั่งทิศใต้โรงพยาบาลราชวิถี เริ่มจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันสุขภาพเด็ก คณะสาธารณสุขศาสตร์ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดลองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกมูลนิธิช่วยคนตาบอด-โรงพยาบาลรามาธิบดี-สิ้นสุดที่รถไฟฟ้าสายสีแดงสถานีราชวิถี ซึ่งยอมรับว่า โครงการนี้ยากมากเพราะ กทม. ไม่มีพื้นที่ในการติดตั้งเสารองรับ ทางเดินลอยฟ้า ต้องอาศัยพื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่ทางเดิน ลอยฟ้าตัดผ่าน เพื่อสร้างประโยชน์สาธารณะร่วมกัน ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อดำเนินโครงการ
ที่มา: นสพ.ข่าวสด ฉบับวันที่ 28 ธ.ค. 2566