กทม. เปิดแซนด์บ็อกซ์ “กลางโมเดล” ครอบคลุม 4 เขต เน้นเพิ่ม Motorlance เข้าถึงชุมชน-ดูผู้ป่วยสูงอายุ/ ตั้งเป้า พ.ค.นี้ ใช้ระบบ Telemedicine ได้ทั้งกรุงเทพฯ
วันที่ 7 มี.ค. 2566 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้านการแพทย์และสาธารณสุข Urban Sanbox : Klang Model โดยมีคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครร่วม ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า)
รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผย ภายหลังว่า Sandbox : Klang Model จะมีโรงพยาบาลกลาง เป็น แม่ข่ายเชื่อมศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ ครอบคลุม 4 เขต (ป้อมปราบ ศัตรูพ่าย บางรัก สัมพันธวงศ์ และ ปทุมวัน) เสริมในกลุ่มกรุงเทพฯ ชั้นใน จากที่เปิด ดุสิตโมเดล ที่มี โรงพยาบาลวชิระฯ เป็นแม่ข่าย มีแผน ดำเนินการ 4 ระยะ รวม 17 โครงการ โดยจะเน้นใน 2 เรื่อง คือ Motorlance ด้วยสภาพจราจร และความคับแคบแออัดของพื้นที่ชุมชนเมือง จำเป็นต้องเพิ่มในจุดนี้ซึ่งไม่ง่ายเพราะผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความพร้อมทั้งด้านการแพทย์และการขับขี่มอเตอร์ไซค์ฉุกเฉินที่มีขนาดใหญ่ด้วย รวมถึงการทำงานร่วมกับเครือข่ายกู้ชีพ เชื่อมกับระบบโรงพยาบาลในการดูทีมฉุกเฉินในผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ อีกเรื่องคือ ในโซนนี้มีผู้สูงอายุจำนวนมาก มีผู้ป่วย ผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองไม่ได้ รวมถึงมีเด็กเล็กด้วย โรงพยาบาลกลางอาจต้องทำโมเดลที่พิเศษกว่าพื้นที่อื่น โดยจะนำ mapping แผนที่กลาง มาเพิ่ม ในส่วนนี้ จะให้ อสส. ที่เข้าพื้นที่นำแผนที่ดิจิทัลไประบุพิกัดข้อมูลผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวยาก ผู้พิการ ในผังชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมเส้นทางเข้าถึงผู้ป่วยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมถึงส่งทีมส่งเสริมสุขภาพเข้าพื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดที่ต้องเน้นและให้เร่งทำ
นอกจากนี้ “กลางโมเดล” จะเอาระบบ E-Referral ที่ทำได้ผลใน ดุสิตโมเดล ราชพิพัฒน์โมเดล และ สิรินธรโมเดล คือทำอย่างไรให้ประชาชน มีขั้นตอนน้อยที่สุดในการถึงมือแพทย์ การส่งต่อเร็วขึ้น โดยทำระบบ Telemedicine ให้มีหมอเข้าถึงศูนย์บริการสาธารณสุขและศูนย์สุขภาพชุมชน ให้คำปรึกษาผู้ป่วยได้ และ ตั้งเป้าไว้ว่าให้ Telemedicine รวมถึง เล็งเรื่องการส่งยาให้ไปถึงบ้านผู้ป่วยได้ด้วย ซึ่งระบบ Telemedicine เป็นเรื่องที่ต้องเร่งทำให้ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ ขณะนี้ยังมีปัญหาในเรื่อง ของข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องเชื่อมกัน ทั้งหมด การลิงก์ระบบ ที่กำลังทดสอบ ระบบอยู่ที่โรงพยาบาลเจริญกรุง ประชารักษ์ ซึ่งยังต้องปรับลดขั้นตอน ลงอีกเพื่อให้ประชาชนสะดวกที่สุด ตั้งเป้าภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ระบบ Telemedicine จะต้องใช้ได้ทั้งกรุงเทพฯ ลิงก์ระบบของโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์สุขภาพชุมชน ที่อยู่ในหน้าตักกรุงเทพมหานครให้เชื่อมกันทั้งหมด
ทั้งนี้ Urban Sandbox : Klang Model มีวัตถุประสงค์ในการ ดำเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนระบบสาธารณสุข เชื่อมโยง และเสริมความ เข้มแข็งในการจัดบริการปฐมภูมิ การส่งต่อ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเปราะบาง โดยประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลด้าน บริการการส่งต่อและการดูแลต่อเนื่อง อย่างเป็นระบบ ในพื้นที่ 4 เขต รับผิดชอบของโรงพยาบาลกลาง สามารถเข้าถึงง่าย ทั่วถึง และครอบคลุมอย่างเป็นองค์รวม ตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลรักษาฟื้นฟู และดูแล ต่อเนื่อง โดยวางแผนโครงการตามการดูแลผู้ป่วยเป็น 4 ระยะ คือ 1.ระยะเฉียบพลัน ได้แก่ โครงการ Urgent Care Unit, Telemedicine, E-Referral, Motorlance, Tele-Consult และเครือข่ายกู้ชีพ โรงพยาบาลกลาง 2.ระยะกึ่งเฉียบพลัน ได้แก่ โครงการ Palliative Care, Geriatric Care, NCDs Health Literacy, Advance Wound Care, Stroke Corner, Stop TB BKK, เยี่ยมบ้านไตรภาคี 3.ระยะยาว คือ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทางการแพทย์ อสส. และ 4.การ ส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ โครงการนักสืบ Dementia, Day Care ผู้สูงอายุ และชมรมผู้สูงอายุ
ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 8 มี.ค. 2566