ร้องเข้ามาต่อเนื่องพร้อมตั้งคำถามว่าโครงการก่อสร้างอาคารใหญ่แทนโรงแรมดุสิตที่ส่งเสียงรบกวนประชาชนในยามกลางคืน และกลางวันฝุ่นฟุ้งนั้นเหตุใดผู้ว่าฯกทม. จึงไม่ลงไปดูบ้าง โดยเฉพาะการก่อสร้างในเวลากลางคืน ซึ่งขออนุญาตไว้เท่านั้นเท่านี้ ได้ทำเกินเวลาทุกคืน ที่สำคัญโครงการก็อยู่ใกล้กับเขตบางรัก แต่ทุกฝ่ายเงียบสนิทหมด ถ้าเป็นประชาชนคนธรรมดากระทำบ้าง เจ้าหน้าที่จะนิ่งเฉย ดูดายหรือไม่ ที่จริงเมื่อมีการอนุญาตก่อสร้างล่วงเวลาแล้วควรอย่างยิ่งต้องตรวจสอบ แต่กลับปล่อยให้ทำกันโดย ไม่เกรงใจชาวบ้านเหตุการณ์นี้หาได้แตกต่างจากโครงการใหญ่ ย่านซอยร่วมฤดี เขตปทุมวัน ที่ขออนุญาตการก่อสร้างแล้วไม่ดูไม่พูดไม่ตรวจสอบ จึงเป็นที่มาของการร้องเรียนว่าการก่อสร้างรุกล้ำที่สาธารณะ สุดท้ายเป็นเรื่องเป็นความใหญ่โต ถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่จบ ขณะที่ กทม.นั่งแบะๆ ทำอะไรไม่ได้ ปัญหาต่างๆ ถ้าได้รับการตรวจสอบเหลียวแลเนิ่นๆ จะไม่เกิด ประเด็นการร้องเรียนและกระทำผิดข้อกฎหมาย สร้างความเดือดร้อนประชาชน…
วันนี้คนสูงอายุ คนป่วยสุขภาพ ย้ำแย่อยู่ใกล้ๆ กับโครงการดังกล่าวกำลังเดือดร้อนหนัก เพราะใช้เวลาก่อสร้างในยามค่ำคืนชนิดเกินเวลาขออนุญาต ฝ่าฝืนกฎชัดๆ แปลกผู้คนวิพากษ์วิจารณ์หึ่ง รวมทั้งเอะอะโวยวายอื้ออึง ทว่า กทม. กลับพากันบำเพ็ญตบะจำศีลเงียบสงบหมด นี่คือเสียงร้องทุกข์ของประชาชน…
ช่วงฝุ่นควันพิษกำลังปกคลุม กทม. สุดอันตรายหัวใจและปอด ปรากฏว่า บนท้องถนน โรงงานบางแห่งยังปล่อยควันพิษอย่างท้าทาย บนท้องถนนนอกจากรถยนต์ส่วนตัวจำนวนไม่น้อย เห็นแก่ได้ไม่เคารพกฎหมายแล้ว อนิจจารถเมล์ ขสมก. (ครีมแดง) สาย 60 และหลายสายหลายคันที่สั่งซื้อจากประเทศเกาหลีสมัยคุณปู่ยังวัยรุ่น ก็วิ่งปล่อยควันดำหน้าตาเฉย อันนี้ก็แปลกที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ไม่ยอมออกอาการใดๆ ทั้งๆ พูดได้คุยได้ หรือออกมาตรการใดๆ ตามอำนาจได้ ที่สำคัญบิ๊กใหญ่ ขสมก.ก็เคยเป็นทรัพยากรเกรดเอของ กทม. ยิ่งไม่ใช่ปัญหา…
หรือเหตุการณ์ดังกล่าว กทม.นั่งรอให้หน่วยงานอื่นออกมาเล่นก่อนจากนั้นค่อยชักธงรบ เหมือนปมเน่าในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่มีการระบุว่าเรียกรับเงินเกี่ยวกับโครงการอาหารกลางวันเด็ก และมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นร่วมกับตำรวจวางแผนจับกุม เสร็จสรรพเรียบร้อย กทม.ทุบโต๊ะเล่นตาม นี่แสดงว่าไร้ประสิทธิภาพ…
ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 9 ก.พ. 2566