Flag
📣 ประกาศ  👀  5 มีนาคม ประเทศไทยเข้าสู่​ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ 📃 ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา …  ⛈️ โปรดระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง 🌂 🌳 ร่วมกันตรวจสอบสภาพต้นไม้ กิ่งไม้ และป้ายโฆษณา 🛣️ หากพบอยู่ในสภาพเสี่ยงที่จะหัก โค่นล้ม หรือผิดปกติ โปรดแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่ หรือ 📞 โทร. สายด่วน กทม. 1555 หรือ 🔶 แอปพลิเคชัน Traffy Fondue….
ทลายกล่องการทำงานแบบแยกกัน ผ่านการประชุมแนวดิ่งบูรณาการกลุ่มภารกิจด้านต่าง ๆ

 

 

(1 ก.พ. 66) นายต่อศักดิ์ โชติมงคล ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายวิศณุ ทรัพย์สมพล และรศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมแนวดิ่งบูรณาการกลุ่มภารกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัย ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมรับฟังการประชุม ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร

 

ประธานที่ปรึกษาฯ กล่าวภายหลังการประชุมว่า วันนี้เป็นการประชุมหลังจากที่เราได้จัดแนวทางบริหารออกเป็นกลุ่มภารกิจ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดของกรุงเทพมหานครคือการเชื่อมโยงแนวนโยบายระหว่างสำนักและสำนักงานเขต โดยแต่เดิมนั้นงานของกรุงเทพมหานครจะอยู่ในลักษณะเป็นกล่อง แบบกล่องใครกล่องมัน แต่วันนี้เราได้ทลายกล่องระหว่างสำนักกับเขตโดยกระบวนการประชุมแนวดิ่ง เพื่อเชื่อมโยงภารกิจหลายอย่างที่เคยแยกจากกัน เช่น เรื่องคลอง สำนักการระบายน้ำดูแล 213 คลอง สำนักงานเขตต่าง ๆ ดูแล 948 คลอง ท่อระบายน้ำกว่า 6,000 กิโลเมตร สำนักการระบายน้ำดูแล 2,000 กิโลเมตร อีกกว่า 4,000 กิโลเมตร สำนักงานเขตดูแล ซึ่งที่ผ่านมาต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างใช้งบประมาณ วันนี้เราบูรณาการเชื่อมกันเพื่อให้สำนักกับเขตเกิดความเข้าใจร่วมกัน ผ่านตัวชี้วัด BMA Digtal Plans ซึ่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเป็นผู้จัดทำระบบขึ้นมา โดยใช้เป้าหมายความสำเร็จเป็นตัวหลัก มุ่งเน้นเพื่อประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้ การบูรณาการตามกลุ่มภารกิจจะทำให้เขตและสำนักมีเป้าหมายเดียวกัน เห็นภาพรวมเท่ากันและเห็นว่าการดำเนินการของแต่ละหน่วยงานมีผลต่อภาพรวมอย่างไร ซึ่งจะทำให้ทุกหน่วยงานทำงานได้ง่ายขึ้นเพราะมีเป้าหมายที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

 

● กทม.จัดกลุ่มภารกิจเป็น 3 ด้าน พร้อมจัดทำคู่มือปฏิบัติงานที่ระบุหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานสนับสนุนชัดเจน

 

ปัจจุบันได้มีการจัดนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามกลุ่มภารกิจออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ด้านงบประมาณ แผน และบุคคล กลุ่ม 2 ด้านคุณภาพชีวิต และกลุ่ม 3 ด้านโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัย โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้มีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (Action Plans) ที่ระบุหน่วยงานรับผิดชอบหลัก (H) และหน่วยงานสนับสนุน (R) ไว้ในคู่มือฯ เพื่อให้หน่วยงานรับทราบและทำความเข้าใจบทบาทและภารกิจตามนโยบายทั้ง 216 นโยบาย

 

สำหรับในวันนี้เป็นการประชุมแนวดิ่งบูรณาการกลุ่มภารกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยเป็นครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างสำนักและสำนักงานเขตในเรื่องของนโยบายต่าง ๆ เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกัน รวมถึงเพื่อรายงานปัญหาอุปสรรคให้ผู้บริหารทราบ และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและฝ่ายปฏิบัติในการผลักดันนโยบายให้เป็นรูปธรรม

 

โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มภารกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัย ดังนี้ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักเทศกิจ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต หัวหน้าฝ่ายโยธา หัวหน้าฝ่ายเทศกิจ

 

ในที่ประชุมได้มีการแนะนำรายละเอียดคู่มือของหน่วยงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น ระดับสำนัก และสำนักงานเขต เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของนโยบายผู้ว่าฯ กับหน่วยงานรับผิดชอบหลัก (H) และหน่วยงานสนับสนุน (R) และรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม เป้าหมาย ทั้งในฐานะของการเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก (H) และหน่วยงานสนับสนุน (R) อีกทั้งได้แนะนำถึงช่องทางการรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายผ่านระบบบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plans) และแจ้งที่ประชุมทราบถึงข้อสั่งการของปลัดกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องกับด้านโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัย ได้แก่ การดูแลรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน ทางเท้า คลอง ท่อระบายน้ำ ไฟฟ้าส่องสว่าง

 

โดยที่ประชุมได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานรับผิดชอบหลัก (H) ทำความเข้าใจ 216 นโยบาย ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน จัดลำดับภารกิจที่ต้องดำเนินการในปีนี้ โดยแยก Key Projects ออกมาเพื่อดำเนินการก่อน ในส่วนของข้อมูลที่เขตต้องกรอกเข้ามาในระบบ BMA Digital Plans นั้น ให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลจัดทำเป็นสรุปขึ้น dashboard เพื่อให้สามารถดูและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

 

จากนั้นเป็นการหารือ ระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคืบหน้า ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินการตามนโยบายต่าง ๆ เช่น การซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่าง การสร้างซ่อมทางเท้า การขุดลอกและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ การขุดลอกคลอง การตรวจสอบและปรับปรุงทางข้าม การยกระดับคุณภาพกล้องวงจรปิด การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดรูปที่ดิน การจัดระเบียบทางเท้า หาบเร่แผงลอย การตรวจจุดเสี่ยง/พื้นที่เปลี่ยว การรณรงค์ไม่ทิ้งขยะในคูคลอง การซ้อมการเผชิญเหตุสาธารณภัย การพัฒนาบัญชีอุปกรณ์ในการเผชิญเหตุสาธารณภัยฉุกเฉินระดับย่าน การจัดทำ BKK Risk Map เป็นต้น

 

ทั้งนี้ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (สยป.) ได้จัดทำแนวทางดำเนินการหลังการประชุมแนวดิ่งในครั้งนี้โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.ให้หน่วยงานรับผิดชอบหลัก (H) จัดการประชุม Workshop ร่วมกับหน่วยงานสนับสนุน (R) เพื่อทบทวนรายละเอียดกิจกรรม เป้าหมาย ในคู่มือปฏิบัติงาน (Action Plans) พร้อมปรับแก้ให้แล้วเสร็จ และรายงาน สยป. รวบรวม 2. ให้หน่วยงานรับผิดชอบหลัก (H) จัดการประชุมติดตามงานร่วมกับหน่วยงานสนับสนุน (R) 2 เดือน/ครั้ง โดยเชิญ สยป. เข้าร่วม และ 3. ให้หน่วยงานรับผิดชอบหลัก (H) จัดทำรายงานการประชุมฯ นำเสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครทราบต่อไป

——————————

แชร์ข่าว: