รองผู้ว่าฯ ทวิดา ร่วมเวที WHS ถกแนวทางสร้างเสริมความพร้อมและความหยุ่นตัวของสถานบริการและระบบบริการสาธารณสุขของเมืองในภูมิภาคเอเชียใต้

 

 

(25 เม.ย. 68) รศ. ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมอภิปรายหัวข้อ “Strengthening emergency preparedness, readiness and resilience of health facilities and health system in urban areas of the South-East Asia Region” การสร้างเสริมการเตรียมความพร้อมและความหยุ่นตัวของสถานบริการและระบบบริการสาธารณสุขของเมืองในภูมิภาคเอเชียใต้ – เอเชียตะวันออก) ซึ่งเป็นการประชุมแบบ Panel Discussion (การอภิปรายแบบคณะ) ในการประชุม The World Health Summit (WHS) Regional Meeting (รูปแบบออนไลน์) ณ ห้อง Business Center ชั้น 2 โรงแรมโกลเดน ทิวลิป ซอฟเฟอริน พระราม 9 เขตห้วยขวาง 

 

การประชุม The World Health Summit (WHS) Regional Meeting ประจำปี พ.ศ. 2568 เป็นการประชุมที่ต่อยอดมาจากการประชุมสุดยอดสุขภาพโลก (World Health Summit) ซึ่งเป็นการประชุมนานาชาติที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นเวทีให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้นำจากทั่วโลกได้ร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพที่สำคัญ โดยการประชุม The World Health Summit (WHS) Regional Meeting ประจำปี พ.ศ. 2568 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 27 เม.ย.68 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ภายใต้หัวข้อ “Scaling Access to Ensure Health Equity (การเพิ่มช่องทางเข้ารับบริการเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางสุขภาพ)” 

 

สำหรับการอภิปรายหัวข้อ “Strengthening emergency preparedness, readiness and resilience of health facilities and health system in urban areas of the South-East Asia Region” การสร้างเสริมการเตรียมความพร้อมและความหยุ่นตัวของสถานบริการและระบบบริการสาธารณสุขของเมืองในภูมิภาคเอเชียใต้ – เอเชียตะวันออก) จัดคู่ขนานกับการประชุมหลักโดยมุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์

ในประเด็นสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1. การเสริมสร้างธรรมาภิบาลเมืองและนโยบายเพื่อให้เกิดความหยุ่นตัวต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (Health emergencies) และวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate crises) 2. ระบบสุขภาวะเมือง (Urban health system) ที่มีความหยุ่นตัวและมุ่งเน้นความเสมอภาค และ 3. นวัตกรรมด้านโครงสร้างพื้นฐาน แผนการดำเนินงาน และแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีดิดิจิทัล

 

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมเครือข่ายเมืองสุขภาวะ (Healthy Cities Networks : HCN) ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2564 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเมืองสุขภาวะ ธรรมาภิบาลเมืองสุขภาวะ และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้เกิดการสร้างหน่วยงานเครือข่ายเมืองสุขภาวะอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้นำเมืองและท้องถิ่นเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งเสริมศักยภาพของเมืองโดยการทำให้ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาวะของพลเมืองปรากฏชัดเจนมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมให้เมืองสามารถฟื้นตัวได้ภายหลังการเกิดโรคระบาด ตลอดจนการว่างแผนรับมือภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในอนาคต โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนเครือข่ายเมืองสุขภาวะของกรุงเทพมหานคร

 

ในวันนี้มีผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย 1. Dr. Sanjay Srivastava, Chief of Disaster Risk Reduction ICT and Disaster Risk Reduction Division, UNESCAP 2. Prof. Dr. Tavida Kamolvej, Deputy Governor, BMA 3. Prof. Vinod K Sharma, Senior Professor, Disaster Management/ Consultant, Indian Institute of Public Administration (IIPA) and Vice Chairman of Sikkim State Disaster Management Authority (SSDMA) 4. Ms. Aishwarya Pillai, Lead Specialist, Coalition for Disaster Resilient Infrastructure (CDRI) และ 5. Dr. Dinesh Arora, Principal Health Specialist, Human and Social Development Sector Office, Asian Development Bank (ADB)

 

#กทม 

        —————————– (พัทธนันท์..

.สปส. รายงาน)

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200