
Q: ถ้าตรวจอาคารไม่ทันภายใน 14 วัน จะต้องดำเนินการอย่างไร?
A: เนื่องจากการตรวจสอบอาคารเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฉบับลงวันที่ 29 มีนาคม 2568
ดังนั้น หากท่านไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบได้ทันภายใน 14 วัน ขอให้แจ้งเหตุผล ความจำเป็น และแผนการดำเนินการ รวมทั้งกำหนดยื่นรายงานการตรวจอาคารครั้งที่ 2 แก่สำนักงานเขตในพื้นที่ หรือสอบถามแนวทางเพิ่มเติมที่สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2203 2431 หรือ 0 2203 2400
📌 การตรวจสอบควรดำเนินการโดยผู้ตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง
🔗 ตรวจสอบรายชื่อผู้ตรวจสอบอาคาร:
http://webs-apps.dpt.go.th/dpt_auditbldg/BCB/search.php

Q: ค่าตรวจอาคารครั้งนี้แพงกว่าปกติจริงไหม? แล้ว กทม. มี “ราคากลาง” ให้ดูหรือเปล่า?
A: ค่าตรวจสอบอาคารครั้งนี้อาจสูงกว่าการตรวจประจำปีทั่วไป เพราะต้องพิจารณา “โครงสร้าง” เพิ่มเติม หลังเหตุแผ่นดินไหว
✅ สามารถดู “ราคากลาง” ได้จาก สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร
✅ และค้นหารายชื่อผู้ตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียนได้ที่เว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง
📌 รายชื่อผู้ตรวจสอบอาคาร:
http://webs-apps.dpt.go.th/dpt_auditbldg/BCB/search.php
📌 ราคากลางจากสมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร:
https://www.bsa.or.th/อัตราค่าบริการตรวจสอบอาคาร.html

Q: ตรวจรอบนี้ ใช้แทนการตรวจประจำปีได้ไหม?
A: ✅ ตรวจรอบนี้เน้น “ความปลอดภัยหลังแผ่นดินไหว” เพื่อให้มั่นใจว่าอาคารยังใช้งานได้ตามปกติ
📌 ถ้าผู้ตรวจสอบ ตรวจครบองค์ประกอบสำคัญ เช่น ระบบไฟฟ้า, ระบบป้องกันอัคคีภัย ฯลฯ
👉 ก็สามารถใช้เป็น “การตรวจประจำปี” ได้ในคราวเดียว
แนะนำ: สื่อสารกับผู้ตรวจสอบให้ชัดว่า ต้องการให้รวมการตรวจประจำปีไปด้วยเลย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
โทร. 0 2203 2431 หรือ 0 2203 2400
ตรวจอาคาร #แผ่นดินไหว #bangkokbma #กทม #กรุงเทพมหานคร #กรุงเทพดีได้ทุกด้าน #ปลอดภัยดี