(10 ต.ค. 67) เวลา 13.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตลาดกระบัง ประกอบด้วย
พัฒนาสวน 15 นาที “สวน 15 นาที พระจอมเกล้า” ซึ่งเขตฯ ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตั้งวางม้านั่ง จัดทำทางเดินวิ่ง ปลูกไม้พุ่มไม้ประดับ ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที (สวนเดิม) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.สวนสุขภาพร่มเกล้า 1 พื้นที่ 4 ไร่ 2 งาน 45 ตารางวา 2.สวนสุขภาพร่มเกล้า 2 พื้นที่ 4 ไร่ 2 งาน 65 ตารางวา 3.สวนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ (โคก หนอง นา) พื้นที่ 3 งาน 66 ตารางวา สวน 15 นาที (สวนใหม่) จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ 1.สวนจุดพักรถลาดกระบังขาออก พื้นที่ 1 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา 2.สวนหย่อมหน้าร้านกาแฟอินทนิลปั๊มบางจาก ถนนลาดกระบัง พื้นที่ 95 ตารางวา 3.สวนทุ่งทองอุไร ถนนเจ้าคุณทหาร พื้นที่ 1 ไร่ 3 งาน 15 ตารางวา 4.สวนริมถนนลาดกระบังหน้าร้านป้าแก้ว พื้นที่ 5 ตารางวา 5.สวนริมถนนทางเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ 4 พื้นที่ 2 ไร่ 3 งาน 6.สวนใต้ทางด่วนมอเตอร์เวย์ ถนนหลวงแพ่ง พื้นที่ 2 งาน 36 ตารางวา 7.สวนหย่อมตรงข้ามหอประชุมสุรวงษ์ไวยวัฒน์ สถาบันเทคโนโลยีฯ พระจอมเกล้า ถนนฉลองกรุง พื้นที่ 3 งาน 8.สวนบริเวณร้านอาหาร Jamaica Park ถนนพัฒนาชนบท 3 พื้นที่ 3 ไร่ 74 ตารางวา 9.สวนบริเวณข้างอาคารฝ่ายรักษาความสะอาดฯ สำนักงานเขตลาดกระบัง พื้นที่ 2 งาน 10.สวนหน้าสำนักงานเขตลาดกระบัง ถนนลาดกระบัง พื้นที่ 1 งาน 39 ตารางวา 11.สวนบริเวณด้านหน้าอาคารสงเคราะห์ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ถนนหลวงแพ่ง พื้นที่ 1,000 ตารางเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ 12.สวนหน้าโรงเรียนวัดปลูกศรัทธา ซอยฉลองกรุง 1 พื้นที่ 800 ตารางเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบหมายให้เขตฯ ดูแลบำรุงรักษาสวน 15 นาที ให้คงความร่มรื่นและสวยงามอยู่เสมอ
ตรวจการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณซอยลาดกระบัง 52 ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน 8 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 143 ราย ได้แก่ 1.ซอยลาดกระบัง 52 ผู้ค้า 8 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-12.00 น. (5 ราย) ช่วงเวลาทำการค้า 15.00-21.00 น. (3 ราย) 2.หน้าแฟลต 25 ผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-16.00 น. 3.ซอยเคหะร่มเกล้า 37 ผู้ค้า 17 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-18.00 น. 4.หน้าหมู่บ้านพูนสินธานี 1 ผู้ค้า 32 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-12.00 น. (19 ราย) ช่วงเวลาทำการค้า 14.00-21.00 น. (13 ราย) 5.ตลาด 24 ผู้ค้า 18 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-20.00 น. 6.ข้างตลาดกลางร่มเกล้า ผู้ค้า 9 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-15.00 น. 7.ตลาดเย็นวิลล่า ผู้ค้า 27 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 14.00-22.00 น. 8.แยกนิคมนำไกร ผู้ค้า 19 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-18.00 น. ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ยกเลิกจุดทำการค้าแล้ว 4 จุด ได้แก่ 1.ซอยฉลองกรุง 1 ผู้ค้า 7 ราย ยกเลิกวันที่ 15 ม.ค. 67 2.ซอยลาดกระบัง 46/4 ผู้ค้า 8 ราย ยกเลิกวันที่ 1 มี.ค. 67 3.ซอยลาดกระบัง 14/1 ผู้ค้า 14 ราย ยกเลิกวันที่ 16 มี.ค. 67 4.สวนวนาภิรมย์ ร่มเกล้า ผู้ค้า 7 ราย ยกเลิกวันที่ 1 ก.ย. 67 ส่วนในปี 68 เขตฯ พิจารณายกเลิกจุดทำการค้าอีก 1 จุด บริเวณแยกนิคมนำไกร ผู้ค้า 19 ราย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 กวดขันผู้ค้าไม่ให้ตั้งวางสินค้ารุกล้ำเข้ามาในทางเท้า ขอความร่วมมือผู้ค้าให้เก็บอุปกรณ์ทำการค้าและทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน เพื่อความเป็นระเบียบในพื้นที่ต่อไป
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ โรงแรมคอร์ทยาร์ด บาย แมริออท กรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ แอร์พอร์ท ถนนลาดกระบัง พื้นที่ 12 ไร่ ในปี 2567 เข้าร่วมกิจกรรมโครงการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โครงการ Green leaf program ใบไม้สีเขียว โครงการ เก็บเพื่อกลาย Circulife by M Wrap โดยร่วมเก็บฟิล์มถนอมอาหารที่ใช้แล้ว หรือที่ใช้คลุมอาหารในห้องอาหาร นำไปรีไซเคิลผ่านกระบวนการกลายเป็นสิ่งของต่าง ๆ โครงการ Frycycle Cooking oil Solution นำน้ำมันประกอบอาหารที่ใช้แล้ว กลับมาไซเคิลกับบริษัท Frycycle โครงการ HP Planet Partners Rewards Program รีไซเคิล หมึกพิมพ์ โดยนำตลับหมึกของ HP ที่ใช้แล้วผ่านกระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ได้เข้าร่วมบริษัท Wastebuy การแยกขยะรีไซเคิล และนำขยะไปขายให้กับบริษัท Wastebuy วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ พนักงานห้องอาหารคัดแยกขยะและเศษอาหารจากโต๊ะอาหารที่ลูกค้ารับประทานเสร็จแล้ว นำไปใส่ภาชนะแยกประเภทหลังร้านอาหาร และนำเศษอาหารใส่ถังไปเก็บไว้ในห้องเย็น เพื่อรักษาอุณหภูมิเศษอาหาร โดยมีเกษตรกรมารับเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ 2.ขยะรีไซเคิล พนักงานโรงแรมคัดแยกขยะรีไซเคิลจากต้นทาง โดยแยกเป็นประเภท ขวดน้ำพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋องอลูมิเนียม กระดาษลัง ถุงพลาสติกใส สบู่ที่เหลือใช้จากห้องพัก ส่วนกระดาษชำระที่เหลือจากห้องพัก จะนำมา reuse แล้วนำมาใช้ใหม่สำหรับห้องน้ำของพนักงาน พนักงานดูแลความสะอาดในครัว นำขยะรีไซเคิลจากในโรงครัว เช่น กล่องกระดาษ ขวดแก้วใส ขวดพลาสติก ใส่ภาชนะแยกขยะนำมาไว้จุดพักขยะ และพนักงานครัวร่วมโครงการเก็บเพื่อกลาย โดยเก็บฟิล์มถนอมอาหารที่ใช้แล้วนำไปรีไซเคิล นอกจากนี้ ทางโรงแรมไม่ใช้ขวดน้ำแบบพลาสติกในห้องพักลูกค้า ห้องอาหาร และห้องประชุม โดยใช้ขวดน้ำแบบแก้วใส แล้วนำไปบรรจุน้ำมาใช้ใหม่ รวมถึงไม่ใช้หลอดพลาสติก โดยใช้หลอดกระดาษรีไซเคิล 3.ขยะทั่วไป พนักงานดูแลความสะอาดในครัว พนักงานแม่บ้าน พนักงานห้องอาหาร คัดแยกขยะทั่วไปใส่ถุงดำมัดปากถุง นำมาวางไว้ที่จุดพักขยะ รอเขตฯ จัดเก็บ 4.ขยะอันตราย ฝ่ายบำรุงรักษา รวบรวมขยะหลอดไฟ แบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว เศษวัสดุ แยกใส่ถังขยะ แจ้งเขตฯ จัดเก็บ สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 27,000 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 22,021 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 898 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 3,719 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 20 กิโลกรัม/เดือน น้ำมันประกอบอาหารหลังคัดแยก 190 กิโลกรัม/เดือน ขยะฟิล์มถนอมอาหารหลังคัดแยก 151 กิโลกรัม/เดือน
ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 บริษัท ทีพีไอ คอนกรีต จำกัด ถนนลาดกระบัง ซึ่งประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสมเสร็จ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการปรับปรุงรั้วโดยรอบแพลนท์ปูนให้มีความสูงไม่น้อยกว่า 6 เมตร โดยด้านล่างให้เป็นรั้วทึบ 4 เมตร ด้านบนเป็นรั้วโปร่ง 2 เมตร ตรวจสอบเครื่องฉีดพ่นละอองน้ำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตรวจสอบบ่อคายกากคอนกรีตและบ่อตกตะกอนไม่ให้มีตะกอนสะสมจนทำให้น้ำปูนล้นออกมา ล้างทำความสะอาดพื้นไม่ให้มีน้ำปูนหรือเศษหินเศษทรายตกค้าง ตรวจวัดค่าควันดำรถโม่ปูนอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อาทิ ประเภทสถานประกอบการ/โรงงาน 12 แห่ง ประเภทแพลนท์ปูน 4 แห่ง ประเภทตรวจวัดควันดำในสถานที่ต้นทาง 2 แห่ง ประเภทถมดิน-ท่าทราย 1 แห่ง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 กำชับสถานประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อควบคุมค่าฝุ่น PM2.5 ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ป้องกันมลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตรวจสอบพื้นที่รกร้างและการลักลอบทิ้งขยะ บริเวณถนนเลียบมอเตอร์เวย์ จากการสำรวจในพื้นที่เขตฯ พบว่ามีพื้นที่รกร้างและมีการลักลอบทิ้งขยะ จำนวน 10 จุด ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบหมายให้เขตฯ ปฏิบัติตามหนังสือสั่งการของสำนักเทศกิจ ดำเนินการตามข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ พัฒนาทำความสะอาดจัดเก็บขยะให้เรียบร้อย ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ห้ามทิ้งขยะ สืบหาเจ้าของที่ดินให้ดำเนินการล้อมรั้วโดยรอบให้มิดชิด รวมถึงสำรวจการใช้ประโยชน์จากที่ดิน หากไม่มีการใช้ประโยชน์หรือปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้างว่างเปล่าให้จัดเก็บภาษีตามอัตราที่กำหนด นอกจากนี้ให้จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจพื้นที่เป็นประจำ ป้องกันการลักลอบนำเศษวัสดุจากสิ่งปลูกสร้างมาทิ้งในพื้นที่ดังกล่าว
ในการนี้มี นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ นายธราพงษ์ เพ็ชร์คง ผู้อำนวยการเขตลาดกระบัง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตลาดกระบัง สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี
—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)