Search
Close this search box.
บางซื่อเล็งยกเลิกแผงค้าซอยโชติวัฒน์ (สะพาน 99) ปั้นสวนเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา ริมถนนรัชดาภิเษก ชมคัดแยกขยะชุมชนยิ้มประยูรพัฒนา เร่งแก้ปัญหาลักลอบทิ้งขยะถนนเลียบทางรถไฟ

(4 ต.ค.67) เวลา 13.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตบางซื่อ ประกอบด้วย

ตรวจการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณซอยโชติวัฒน์ (สะพาน 99) ผู้ค้า 8 ราย ซึ่งเป็น 1 ใน 2 จุดที่เขตฯ พิจารณายกเลิกพื้นที่ทำการค้าในปี 68 ที่ผ่านมามีผู้ค้าบางรายตั้งวางร้านค้ารุกล้ำพื้นที่ทางเท้า เขตฯ ได้กวดขันจัดระเบียบอย่างต่อเนื่อง โดยรื้อย้ายในส่วนที่รุกล้ำออกไปเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 6 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 224 ราย ได้แก่ 1.ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผู้ค้า 10 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-22.00 น. 2.ซอยโชติวัฒน์ (สะพาน 99) ผู้ค้า 8 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-22.00 น. 3.ข้างห้างโลตัสประชาชื่น ผู้ค้า 27 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-22.00 น. 4.ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ขาออก) ผู้ค้า 71 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-21.00 น. 5.ตลาดศรีเขมา ผู้ค้า 47 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-21.00 น. และ 6.ซอยประชานฤมิตร ผู้ค้า 61 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-20.00 น. ในปี 2567 ที่ผ่านมา เขตฯ ได้ยกเลิกจุดทำการค้าบริเวณซอยสะพานขวา ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผู้ค้า 9 ราย ยกเลิกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2567 ส่วนในปี 2568 เขตฯ มีเป้าหมายยกเลิกจุดทำการค้า 2 จุด ได้แก่ 1.ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผู้ค้า 10 ราย 2.ซอยโชติวัฒน์ (สะพาน 99) ผู้ค้า 8 ราย ส่วนพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 5 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 201 ราย ได้แก่ 1.ตลาดประจวบบางซื่อ ถนนเตชะวณิช ผู้ค้า 39 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 00.00-09.00 น. 2.ตลาดใต้สะพานสูง ถนนเตชะวณิช ผู้ค้า 74 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 10.00-14.00 น. 3.ตลาดมณีพิมาน ถนนประชาชื่น ผู้ค้า 12 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-20.00 น. 4.ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ผู้ค้า 46 ราย ฝั่งขาออก (บุญเหลือ) ผู้ค้า 17 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 07.00-22.00 น. ฝั่งขาเข้า (ตลาดมณีพิมาน) ผู้ค้า 29 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 07.00-22.00 น. และ 5.หน้าตลาดบางซ่อน ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ผู้ค้า 30 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-11.00 น. และ 15.00-22.00 น. ที่ผ่านมาเขตฯ ได้ตีเส้นกำหนดแนวขอบเขต จัดทำทะเบียนผู้ค้า บันทึกข้อมูล และคิวอาร์โค้ดให้แก่ผู้ค้า รวมถึงปรับปรุงแผงค้าให้เป็นรูปแบบและลักษณะเดียวกันทั้งหมด ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 กวดขันผู้ค้าไม่ให้ตั้งวางสิ่งของรุกล้ำเข้ามาในทางเท้า ขอความร่วมมือผู้ค้าให้จัดเก็บอุปกรณ์ทำการค้าและทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน รวมถึงพิจารณายกเลิกจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยให้ย้ายเข้ามาทำการค้าในพื้นที่ใกล้เคียงหรือจุดที่เขตฯ จัดเตรียมไว้รองรับ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่

สำรวจสวน 15 นาที บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 72 พรรษา หน้าร้านนิตยาไก่ย่าง ถนนรัชดาภิเษก ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1.สวนป่าวัดมัชฌันติการาม (วัดน้อย) พื้นที่ 5 ไร่ 2.สวนเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 72 พรรษา หน้าร้านศิริชัยไก่ย่าง ถนนรัชดาภิเษก พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 71 ตารางวา 3.สวนวัดทองสุทธาราม พื้นที่ 8 ไร่ 4.สวนหย่อมใต้ทางด่วน ซอยประชาชื่น 30 พื้นที่ 157 ตารางวา 5.สวนเกษตรดาดฟ้าในเมือง พื้นที่ 117 ตารางวา สวน 15 นาที อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1.สวนเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 72 พรรษา หน้าร้านนิตยาไก่ย่าง พื้นที่ 3 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา 2.สวนหย่อมริมคลองประปา พื้นที่ 25 ไร่ 3.สวนหน้าเขตบางซื่อ 4.สวนแยกวงศ์สว่าง 5.สวนกรมยุทธบริการทหาร ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่จัดทำสวน 15 นาที ให้ครบ 10 แห่ง ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมถึงอนุรักษ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ในพื้นที่ไว้ตามเดิม การออกแบบพื้นที่ภายในสวนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแก่ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการภายในสวน

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ ชุมชนยิ้มประยูรพัฒนา ซอยวงศ์สว่าง 4 ถนนวงศ์สว่าง พื้นที่ 25 ไร่ ประชากร 693 คน บ้านเรือน 265 หลังคาเรือน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่เพื่อจัดทำถังรักษ์โลก โดยคัดแยกเศษอาหารมาทำปุ๋ยอินทรีย์ 2.ขยะรีไซเคิล แต่ละบ้านจะคัดแยกขยะ โดยนำมาขายกับ Waste buy delivery ทุกวันที่ 25 ของเดือน เริ่มขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2567 3.ขยะทั่วไป คัดแยกขยะทั่วไป เขตฯ จัดเก็บสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี 4.ขยะอันตราย คัดแยกและรวบรวมไว้ บริเวณที่ทำการชุมชน เมื่อมีปริมาณมากพอ จะประสานเขตฯ ดำเนินการจัดเก็บ สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 27,825 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 26,709 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 1,249 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 11,925 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายก่อนคัดแยก 5 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 5 กิโลกรัม/เดือน

ตรวจสอบพื้นที่รกร้างและการลักลอบทิ้งขยะ บริเวณถนนเลียบทางรถไฟ เป็นจุดที่เขตฯ ได้รับการร้องเรียนเรื่องการลักลอบทิ้งขยะ ที่ผ่านมาเขตฯ ได้จัดทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ไม่ให้มีสภาพรกร้างและมีการลักลอบนำขยะมาทิ้ง โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันไม่ให้มีการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในพื้นที่ นอกจากนี้ เขตฯ ได้ติดตั้งป้ายประกาศห้ามทิ้งขยะ ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ จัดเก็บขยะออกจากพื้นที่ ฝ่ายเทศกิจตรวจตราพื้นที่เป็นประจำ เพื่อป้องกันการลักลอบนำขยะชิ้นใหญ่มาทิ้งในพื้นที่ดังกล่าว

ในการนี้มี นายเจษฎา ประภาสะวัต ผู้อำนวยการเขตบางซื่อ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตบางซื่อ สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี

—–  (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200