(3 ต.ค.67) เวลา 13.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตบางรัก ประกอบด้วย
พัฒนาสวน 15 นาที สวนพบรัก ซึ่งเขตฯ ได้ปรับปรุงพื้นที่ว่างบริเวณด้านข้างตู้ควบคุมไฟสัญญาณจราจรแยกสามย่าน โดยจัดทำสวนหย่อมขนาดเล็ก ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ตั้งวางม้านั่ง ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1.สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ พื้นที่ 1,000 ตารางเมตร 2.สวนหย่อมพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก พื้นที่ 400 ตารางเมตร 3.สวนรักษ์ภิรมย์ ซอยสีลม 23 (ซอยวิจารณ์) พื้นที่ 647 ตารางเมตร กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 4.สวนพบรัก พื้นที่ 89.95 ตารางเมตร 5.สวนรักแรกพบ พื้นที่ 115 ตารางเมตร อยู่ระหว่างปรับปรุงภูมิทัศน์ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ สำรวจพื้นที่ว่างเพื่อจัดทำสวน 15 นาที ให้ครบทั้ง 10 แห่ง ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่ การออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในสวนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ เพื่อให้การจัดทำสวน 15 นาที เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
ตรวจการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณซอยสาทร 12 ผู้ค้า 4 ราย ซึ่งเขตฯ จะยุบรวมผู้ค้าจุดดังกล่าว โดยไปรวมกับผู้ค้าในจุดใกล้เคียง ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 32 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 618 ราย ได้แก่ 1.ถนนนเรศ (ซอยพระพุทธโอสถ) ผู้ค้า 18 ราย 2.ถนนนเรศ (ซอยสันติภาพ) ผู้ค้า 3 ราย 3.ถนนพระรามที่ 4 (หน้าวัดหัวลำโพง) ผู้ค้า 38 ราย 4.ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ซอย 1 ฝั่งขวา) ผู้ค้า 30 ราย 5.ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ซอย 1 ฝั่งซ้าย) ผู้ค้า 19 ราย 6.ซอยสันติภาพ 1 ผู้ค้า 13 ราย 7.ซอยเจริญกรุง 43 ผู้ค้า 13 ราย 8.ซอยสาทร 8 ผู้ค้า 3 ราย 9.ถนนศาลาแดง ผู้ค้า 45 ราย 10.ซอยศาลาแดง 2 ผู้ค้า 14 ราย 11.ซอยศาลาแดง 1 ผู้ค้า 15 ราย 12.ซอยสีลม 20 ผู้ค้า 80 ราย 13.ปากซอยมเหสักข์ ผู้ค้า 4 ราย 14.ซอยสีลม 30 ผู้ค้า 4 ราย 15.ซอยสีลม 22 ผู้ค้า 3 ราย 16.ซอยเจริญกรุง 47/3 ผู้ค้า 10 ราย 17.ซอยปราโมทย์ 3 ผู้ค้า 12 ราย 18.ซอยโทรคาเดโร ผู้ค้า 3 ราย 19.ซอยอนุมานราชธน ผู้ค้า 4 ราย 20.ถนนศรีเวียง ฝั่งซ้าย ผู้ค้า 20 ราย 21.ถนนศรีเวียง ฝั่งขวา ผู้ค้า 34 ราย 22.ถนนเจริญกรุง ฝั่งตรงข้ามโรบินสัน ผู้ค้า 24 ราย 23.ถนนเจริญเวียง ผู้ค้า 18 ราย 24.ซอยสาทร 10 ผู้ค้า 15 ราย 25.ซอยสาทร 12 ผู้ค้า 4 ราย 26.ซอยสีลม 9 ผู้ค้า 10 ราย 27.ข้างสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา ผู้ค้า 5 ราย 28.ถนนประมวล ผู้ค้า 9 ราย 29.ถนนปั้น ข้างวัดแขก ผู้ค้า 10 ราย 30.ถนนปั้น ปากซอยถนนปั้น ผู้ค้า 13 ราย 31.ซอยสีลม 19 ผู้ค้า 7 ราย 32.ซอยสีลม 5 ผู้ค้า 118 ราย ส่วนพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 5 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 181 ราย ได้แก่ 1.ถนนคอนแวนต์ ฝั่งซ้าย-ฝั่งขวา ผู้ค้า 91 ราย 2.ถนนพระรามที่ 4 ผู้ค้า 7 ราย 3.ซอยสีลม 9 ถึงซอยสาทร 12 ผู้ค้า 17 ราย 4.ถนนสีลม หัวมุมถนนมเหสักข์ ถึงปากซอยสีลม 12 ผู้ค้า 6 ราย 5.ถนนสุรวงศ์ ขาเข้า ผู้ค้า 60 ราย ซึ่งในปี 2567 เขตฯ จะดำเนินการยกเลิกจุดทำการค้า 2 จุด ได้แก่ 1.ถนนพระรามที่ 4 ผู้ค้า 7 ราย 2.ถนนสีลม ผู้ค้า 6 ราย กำหนดยกเลิกวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 รวมถึงพิจารณายกเลิกจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยให้ย้ายเข้ามาทำการค้าในจุดที่เขตฯ จัดเตรียมไว้รองรับ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่
ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการก่อสร้างโรงแรมนารายณ์ ถนนสีลม ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งผู้ประกอบการได้ติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศและจอแสดงผลด้านหน้าโครงการ ฉีดล้างทำความสะอาดล้อรถบรรทุกก่อนออกจากโครงการ รวมถึงล้างทำความสะอาดพื้นด้านหน้าโครงการ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการเปิดเครื่องพ่นละอองน้ำในช่วงเวลาที่ทำการก่อสร้าง ตรวจสอบป้องกันไม่ให้น้ำที่ล้างทำความสะอาดพื้นไหลลงสู่ผิวจราจรด้านหน้าโครงการ พร้อมทั้งมอบหมายให้เขตฯ จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 ควบคุมสถานประกอบการไม่ให้ปล่อยมลพิษในอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ โรงแรมดุสิตดีทู สามย่าน กรุงเทพฯ พื้นที่ 1 ไร่ 4 ตารางวา ห้องพัก 179 ห้อง ห้องอาหาร 3 ห้อง ห้องจัดเลี้ยง 2 ห้อง พนักงาน 125 คน ลูกค้าที่ใช้บริการเดือนสิงหาคม 2567 จำนวน 2,237 คน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2566 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ เศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน เหลือจากการปรุงอาหาร จะใส่ถังรองรับขยะเศษอาหารที่เตรียมไว้ รวบรวมไว้บริเวณจุดพักขยะ ซึ่งเป็นห้องควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรอเอกชนมาจัดเก็บทุกวัน 2.ขยะรีไซเคิล ขวดพลาสติก แกลลอนนม กล่องน้ำผลไม้ กระดาษสำนักงาน และกล่องกระดาษ รวบรวมไว้ที่จุดพักขยะ นัดหมายบริษัท Wake Up waste มาจัดเก็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 3.ขยะทั่วไป รวบรวมไว้บริเวณจุดพักขยะ ประสานเขตฯ จัดเก็บวันเว้นวัน 4.ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านรีโมท แบตเตอรี่ กระป๋องสี แกลลอนน้ำยา รวบรวมไว้ที่จุดพักขยะ ประสานเขตฯ จัดเก็บเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก (ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2567) ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 2,403 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 850 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 177 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 1,324 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 52 กิโลกรัม/เดือน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้คำแนะนำในการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ โดยเฉพาะขยะอินทรีย์ เพื่อให้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปริมาณขยะที่คัดแยกจะมีผลต่ออัตราจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
ในการนี้มี นางพรพัน วัฒนสินธุ์ ผู้อำนวยการเขตบางรัก พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตบางรัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี
—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)