🚮 แค่แยกขยะจากบ้านก็ช่วยให้เมืองประหยัดงบประมาณได้
📣 ทำได้ยังไง ไปดู 👀
.
.
🎯 กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินโครงการไม่เทรวม ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกเขต และหน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมส่งเสริมการคัดแยกขยะจากต้นทาง วิธีง่าย ๆ ที่ทุก ๆ คนสามารถร่วมมือกันไม่เทรวมได้ คือ
เริ่มแยกขยะง่าย ๆ โดยใส่ถุงขยะแยกประเภท หรือใส่ถุงดำพร้อมเขียนข้อความระบุประเภทขยะไว้บนถุง ดังนี้
🟢 ขยะเศษอาหาร เช่น เศษผักผลไม้ เศษอาหาร เศษเนื้อสัตว์
🔵 ขยะทั่วไป เช่น ถุงพลาสติกเปื้อนอาหาร ซองบะหมี่ ถุงขนม กล่องโฟม ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
🟠 ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย ยาหมดอายุ กระป๋องสเปรย์ ขวดน้ำยาล้างห้องน้ำ
🟡 ขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ
โดยพี่เก็บของ กทม. จะดำเนินการแยกขยะเหล่านั้นออกจากประเภทอื่น
.
🚛 กทม. ได้จัดระบบรองรับขยะแยกประเภท ในรถเก็บขนมูลฝอยแบบอัด ขนาด 2 ตัน และแบบอัด ขนาด 5 ตัน ทุกคัน โดยตั้งถังขยะเศษอาหาร (ถังสีเขียว) ถังขยะรีไซเคิล (ถังสีเหลือง) และถังขยะอันตราย (ถังสีส้ม) ในช่องใส่ขยะแยกประเภทด้านหลังคนขับ พร้อมประชาสัมพันธ์แนะนำวิธีการคัดแยกขยะและวิธีการทิ้งขยะแยกประเภทให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
.
🚛 นอกจากนี้ยังจัดให้มีรถเฉพาะสำหรับจัดเก็บขยะเศษอาหารและขยะรีไซเคิลจากประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ “ไม่เทรวม” อย่างน้อยสำนักงานเขตละ 1 คัน โดยให้นำรถมาติดสติกเกอร์ “ไม่เทรวม” ที่สำนักสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดให้มีจุดรวบรวมขยะเศษอาหารเพื่อนำไปทำปุ๋ยหรือส่งต่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ รวมถึงจัดให้มีจุดพักขยะอันตรายแยกประเภทเพื่อส่งกำจัดอย่างถูกวิธี และจุดพักขยะรีไซเคิลขายนำเข้าเป็นกองทุนสวัสดิการพนักงาน
.
👩🏻💻และยังจัดทำฐานข้อมูลบัญชีรายชื่อ สถานที่ติดต่อ ประชาชนและสถานประกอบการที่ร่วมโครงการไม่เทรวม และร่วมโครงการคัดแยกขยะ BKK Zero Waste และนำเข้าระบบรายงานตามที่สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด
.
♥️ สำหรับความร่วมมือร่วมใจกันในครั้งนี้ พบว่าปริมาณขยะปี 2566 ลดลงจากปี 2565 เฉลี่ย 204 ตัน/วัน ลดค่าใช้จ่าย เป็นเงิน 387,600 บาท/วัน หรือ 74,460 ตัน/ปี ลดค่าใช้จ่าย เป็นเงิน 141,474,000 บาท/ปี 💸
.
.
💚 แค่คุณปรับ เมืองก็เปลี่ยน 💚
.