ส่องมาตรฐานทางเท้าใหม่ ย่านทางเท้าดีไม่มีสายไฟ
ทางเท้าใหม่ “เพลินจิต”
ส่องมาตรฐานทางเท้าใหม่ ย่านทางเท้าดีไม่มีสายไฟ
.
กทม. เดินหน้าพัฒนาทางเท้า 16 เส้นทาง ทั่วกรุงเทพฯ ตามมาตรฐานใหม่ปี 2565 เนรมิต “เพลินจิต” ให้เป็นต้นแบบทางเท้าดี เดินสะดวก ปลอดภัย รองรับทุกคน
.
กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการโยธา ร่วมกับภาคประชาชน มุ่งมั่นพัฒนาทางเท้าใหม่ตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) เพื่อรองรับการใช้งานของทุกคน สนับสนุนแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี มุ่งสู่ “เมืองเดินได้ เดินดี”
.
มาตรฐานทางเท้าใหม่นี้มีอะไรบ้าง?
ลดระดับคันหินรางตื้นสูง 10 ซม.
เปลี่ยนพื้นฐานทางเท้าเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของทางเท้า
รูปแบบทางเข้า-ออก คันหินรางตื้นสูง 18.50 ซม. และ สูง 10 ซ.ม.
ปรับทางเข้า-ออก อาคารให้มีระดับเสมอกับทางเท้า สามารถเดินได้อย่างต่อเนื่อง
ช่องรับน้ำหน้าคันหินเปลี่ยนจากช่องตะแกรงรับน้ำในแนวตั้งเป็นแนวนอนเพิ่มอัตราการไหลของน้ำ
ปรับความลาดเอียงของทางเชื่อมและทางลาดเป็น 1:12 ตามมาตรฐานสากล
เพิ่มทางเลือกวัสดุปูทางเท้า แอสฟัลต์คอนกรีตพิมพ์ลาย
วางแนวทางการจัดวางตำแหน่งระบบสาธารณูปโภคบนทางเท้า
วางเบรลล์บล็อค (Braille Block) อำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการทางสายตา
.
เสร็จสิ้นไปแล้วกว่า 80% ของการปรับปรุงทางเท้าถนนเพลินจิตกว่า 1 กิโลเมตร (บริเวณแยกราชประสงค์ – ทางรถไฟสายท่าเรือ)
.
ทางเท้าใหม่เพลินจิตเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง?
ทางเท้ากว้างขวาง สะดวกสบาย
ลดระดับคันหินรางตื้นสูง 10 ซม.
เปลี่ยนพื้นฐานทางเท้าเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของทางเท้า
พื้นผิวเรียบ ทางลาด และทางเชื่อม รองรับผู้พิการทางสายตาและผู้ใช้รถเข็น
วางเบรลล์บล็อค (Braille Block) อำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการทางสายตา
ปรับความลาดเอียงของทางเชื่อมและทางลาดเป็น 1:12 ตามมาตรฐานสากล
ปรับปรุงแบบคอกต้นไม้
.
“เพลินจิต” เปรียบเสมือนต้นแบบทางเท้าที่ดี สะท้อนความมุ่งมั่นของ กทม. ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการเดินทางของผู้คน ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และสร้างเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน
.
ร่วมติดตามความคืบหน้าของโครงการทางเท้าใหม่ 16 เส้นทางทั่วกรุงเทพฯ ได้เร็ว ๆ นี้