(16 ก.ค. 67) เวลา 13.30 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตพระนคร ประกอบด้วย
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ ร้านนัฐพรไอศครีมและร้านอาหารละแวกแพร่งภูธร เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2566 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ คัดแยกขยะอินทรีย์ซึ่งเป็นขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เนื้อสัตว์ 2.ขยะรีไซเคิล คัดแยกขยะรีไซเคิลซึ่งเป็นขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง กล่องกระดาษ กระดาษ 3.ขยะทั่วไป คัดแยกขยะทั่วไปซึ่งเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก แต่ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าต่อการนำไปรีไซเคิล ต้องนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก ภาชนะปนเปื้อนอาหาร กระดาษชานอ้อย 4.ขยะอันตราย คัดแยกขยะอันตรายซึ่งเป็นขยะที่มีสารปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่าง ๆ เช่น ถ่านไฟฉาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยาหมดอายุ วัตถุไวไฟ กระป๋องสเปรย์ โดยจัดเก็บทุก 15 วัน หรือจัดเก็บพร้อมขยะชิ้นใหญ่ทุกวันเสาร์ สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 600 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 580 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 20 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 300 กิโลกรัม/เดือน
ติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณท่าเตียน ถนนมหาราช และพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน บริเวณถนนตรีเพชร ถนนพาหุรัด ซึ่งเขตฯ ได้ยกเลิกจุดทำการค้าบริเวณท่าเตียน ถนนมหาราช ผู้ค้า 24 ราย ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2567 โดยย้ายผู้ค้ามาทำการค้าบริเวณทางเข้าท่าเรือท่าเตียน ติดกับพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ (ท่าโรงโม่) ส่วนบริเวณถนนตรีเพชร เขตฯ ได้ยกเลิกผู้ค้าจุดดังกล่าว โดยย้ายผู้ค้าบางส่วนมาทำการค้าบริเวณถนนพาหุรัด ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ปรับปรุงข้อมูลจุดทำการค้าถนนจักเพชร-พาหุรัด-ตรีเพชร สำรวจจำนวนผู้ค้าให้เป็นยอดปัจจุบันที่ยังทำการค้าอยู่จริง พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงทางเท้าถนนตรีเพชรในจุดที่ชำรุดเสียหาย รวมถึงติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าอย่างต่อเนื่อง กวดขันไม่ให้ผู้ค้ารถเข็นเร่ขายของเข้ามาจอดทำการค้าในจุดที่เขตฯ ดำเนินการยกเลิกไปแล้ว นอกจากนี้ให้ยกเลิกจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยให้ย้ายมาทำการค้าในจุดที่เขตฯ จัดเตรียมไว้รองรับ หรือจัดทำเป็น Hawker Center เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่
ปัจจุบันเขตพระนคร มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 22 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 1,024 ราย ดังนี้ 1.บริเวณซอยท่ากลาง ผู้ค้า 35 ราย 2.ถนนบ้านหม้อ ผู้ค้า 10 ราย 3.ถนนจักรเพชร ผู้ค้า 6 ราย 4.ซอยทิพย์วารี ผู้ค้า 61 ราย 5.ซอยจินดามณี ผู้ค้า 36 ราย 6.ถนนจักรพงษ์ ผู้ค้า 55 ราย 7.ซอยรามบุตรี ผู้ค้า 46 ราย 8.ถนนรามบุตรี ผู้ค้า 11 ราย 9.ถนนพระสุเมรุ (แยกสิบสามห้าง-แยกบางลำพู) ผู้ค้า 7 ราย 10.ถนนสามเสน ผู้ค้า 96 ราย 11.ถนนสิบสามห้าง (กลางคืน) ผู้ค้า 50 ราย 12.ถนนรามบุตรี ฝั่งโรงแรมไอบิท (กลางคืน) ผู้ค้า 26 ราย 13.ถนนรามบุตรี ผู้ค้า 51 ราย 14.บริเวณท่าพระจันทร์ ผู้ค้า 22 ราย 15.บริเวณริมคลองหลอด ถนนราชินี ผู้ค้า 11 ราย 16.ถนนเฟื่องนคร ผู้ค้า 44 ราย 17.ถนนมหาไชย ผู้ค้า 18 ราย 18.บริเวณอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ผู้ค้า 99 ราย 19.บริเวณตลาดตรอกหม้อ ผู้ค้า 219 ราย 20.บริเวณปากคลองตลาด (กลางคืน) ผู้ค้า 50 ราย 21.บริเวณท่าพระจันทร์ ถนนมหาราช (กลางคืน) ผู้ค้า 44 ราย 22.ถนนราชินี (กลางคืน) ผู้ค้า 27 ราย ส่วนพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 8 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 972 ราย ดังนี้ 1.แพร่งนรา ผู้ค้า 16 ราย 2.ถนนอัษฎางค์ ผู้ค้า 43 ราย 3.ถนนสามเสน ผู้ค้า 13 ราย 4.ถนนไกรสีห์ ผู้ค้า 171 ราย 5.ถนนตานี ผู้ค้า 228 ราย 6.ถนนจักเพชร-พาหุรัด-ตรีเพชร ผู้ค้า 222 ราย 7.ถนนพาหุรัด ฝั่งไชน่าเวิลด์ ผู้ค้า 48 ราย 8.ถนนข้าวสาร 178 ราย โดยในปี 2567 เขตฯ ดำเนินการยกเลิกพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 9 จุด รวมผู้ค้า 150 ราย ได้แก่ 1.ถนนอัษฎางค์ ผู้ค้า 9 ราย ยกเลิกวันที่ 1 ก.พ. 67 2.ซอยดำเนินกลางเหนือ ผู้ค้า 8 ราย ยกเลิกวันที่ 1 ก.พ. 67 3.ถนนราชดำเนินกลาง (ข้างกองสลากเก่า) ผู้ค้า 7 ราย ยกเลิกวันที่ 1 ก.พ. 67 4.ถนนพระสุเมรุ (ซอยกสิกรไทย) ผู้ค้า 9 ราย ยกเลิกเดือนเม.ย. 67 5.ถนนดินสอ (หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา) ผู้ค้า 9 ราย ยกเลิกเดือนเม.ย. 67 6.ท่าพระจันทร์ (บนลานท่าพระจันทร์) ผู้ค้า 22 ราย ยกเลิกเดือนเม.ย. 67 โดยยุบรวมกับถนนมหาราชบางส่วน 7.ถนนมหาราช ผู้ค้า 50 ราย ยกเลิกเดือนเม.ย. 67 8.ท่าเตียน ผู้ค้า 24 ราย ยกเลิกวันที่ 21 เม.ย. 67 และ 9.ข้างศูนย์เบนซ์ ผู้ค้า 11 ราย ยกเลิกเดือนก.พ. 67 โดยยุบรวมกับผู้ค้าบริเวณอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา นอกจากนี้ เขตฯ ได้จัดทำ Hawker Center (ศูนย์อาหาร) บริเวณริมคลองบางลำพู ผู้ค้า 26 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-20.00 น. ทั้งยังได้จัดทำ Hawker Center บริเวณข้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ริมคลองหลอดวัดราชนัดดา ผู้ค้า 60 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-14.00 น.
ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณโครงการปรับปรุงซอยทิพย์วารี ซึ่งเขตฯ มีโครงการปรับปรุงซอยดังกล่าว จากถนนบ้านหม้อถึงถนนตรีเพชร ความยาว 210 เมตร ก่อสร้างบ่อพักและท่อระบายน้ำ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบหมายให้เขตฯ ประสานการประปานครหลวง เพื่อให้การปรับปรุงเดินหน้าไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งการประปานครหลวงจะทำการวางท่อประปาบริเวณดังกล่าว ส่วนผู้รับจ้างจะดำเนินการขุดวางท่อระบายน้ำและก่อสร้างบ่อพัก จึงมีความจำเป็นจะต้องปิดถนนเป็นช่วง ๆ ในระหว่างการปรับปรุง นอกจากนี้ให้เขตฯ พิจารณาหาแนวทางย้ายผู้ค้า 61 ราย ที่ทำการค้าบริเวณซอยทิพย์วารี ซึ่งเป็นพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน ในเบื้องต้นอาจให้หยุดทำการค้าชั่วคราวในระหว่างการปรับปรุงซอยดังกล่าว จากนั้นจะเชิญผู้ค้าประชุมสร้างความเข้าใจในการจัดระเบียบพื้นที่ ดำเนินการยกเลิกจุดทำการค้าดังกล่าว โดยจัดหาพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อรองรับผู้ค้าต่อไป ซึ่งเขตฯ จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมหารือร่วมกันอีกครั้งภายในสัปดาห์นี้
พัฒนาสวน 15 นาที SAMSEN Pocket Park ซอยสามเสน 4 เขตฯ มีสวน 15 นาที จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1.สวน 15 นาที คลองคูเมืองเดิม พื้นที่ 2,034 ตารางเมตร 2.สวน 15 นาที SAMSEN Pocket Park ซอยสามเสน 4 พื้นที่ 600 ตารางเมตร 3.สวน 15 นาที ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าธนาคารแห่งประเทศไทย พื้นที่ 1,140 ตารางเมตร 4.สวน 15 นาที ใต้สะพานพระราม 8 แยกวิสุทธิกษัตริย์ พื้นที่ 1,200 ตารางเมตร 5.สวน 15 นาที สะพานพระปิ่นเกล้า พื้นที่ 1,400 ตารางเมตร ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาความเหมาะสมในการใช้พื้นที่ เพื่อจัดทำสวน 15 นาที เพิ่มเติมให้ครบทั้ง 10 แห่ง โดยคำนึงประโยชน์ที่ประชาชนในชุมชนจะได้รับจากการเข้ามาใช้บริการและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างแท้จริง
ในการนี้มี นายศุภกฤต บุญขันธ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร นายโกศล สิงหนาท ผู้อำนวยการเขตพระนคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตพระนคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
#เศรษฐกิจดี #สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี
—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)