‘กทม.-สถานทูตฝรั่งเศส-UDDC’ จัดงาน หารือเชิงนโยบาย Toward 2050 เมืองยั่งยืน

กทม. จับมือ สถานทูตฝรั่งเศส – UDDC จัดกระบวนการหารือเชิงนโยบาย Toward 2050 มุ่งพัฒนาเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนและ ยืดหยุ่น

วันที่ 18 มิ.ย. 2567 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวต้อนรับในกระบวนการหารือเชิงนโยบาย Toward 2050 : Future Bangkok for a Resilient and a Livable City ซึ่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส (AFD) และศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC-CEUS) จัดขึ้น ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกทม. โดยมี Jean-Claude POIMBOEUF เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำ ประเทศไทย กล่าวเปิดงาน กรุงเทพฯ-ปารีส การหารือเชิงนโยบายและมุมมอง ขณะที่ Jean-Pierre Marcelli Southeast Asia Regional Director สำนักงานเพื่อการพัฒนา แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (AFD) กล่าวถึงอนาคต ที่ยั่งยืนของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC-CEUS) นำเสนอที่มาของกระบวนการหารือเชิงนโยบาย ความท้าทาย และโอกาสของกรุงเทพมหานคร

การประชุมวันนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถานทูตฝรั่งเศส UDDC และกรุงเทพมหานคร หารือในการวางผังเมืองหรือวางแผนเมืองถึงปี 2050 โดยฝรั่งเศสมีความเชี่ยวชาญในการวางผังเมืองระดับโลก ในหลายเรื่อง เช่น นโยบายปารีส 15 นาที (เดินทางถึงจุดหมายต่างๆ ใน 15 นาที) เป็นแนวคิดที่เรานำมาใช้ในเรื่องสวน 15 นาที ถือเป็นโอกาสอันดีให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างกัน แม้โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญ แต่ผู้คนเป็นส่วนสำคัญมากกว่า ด้วยความท้าทายของเมืองต่างๆ เช่น ความไม่เท่าเทียม เราจึงควรร่วมกันวางเป้าหมายเพื่ออนาคต ของเมือง พัฒนาให้เมืองเตรียมพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โลกร้อน โรคระบาด แผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติ ความไม่สงบ สภาพเศรษฐกิจ ความขัดแย้ง ในภูมิภาค ที่มีผลกระทบกับเมือง ซึ่งต้องเตรียม รับมือใน 3 ด้าน คือ ต้องมียุทธศาสตร์ที่จะเป็น เข็มทิศบอกทิศทางในอนาคต ซึ่งเข็มทิศของ กทม.คือ ทำให้เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน, มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม และมีคนที่พร้อม เพราะเป็นหัวใจของทุกอย่าง เพราะเมืองเป็น ตลาดแรงงานหลัก ผู้คนจะอยู่ในเมืองเพราะมีงาน เราจึงมุ่งเน้นนโยบายพัฒนาเส้นเลือดฝอย หรือองค์ประกอบเล็กๆ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของเมือง เช่น ทางเท้า การสัญจรถนนสายรอง/ตรอกซอกซอยเข้าสู่ระบบหลัก พัฒนาทักษะของคน (human capitals) และมีการใช้ช่องทาง ออนไลน์เพื่อสื่อสารกับประชาชนให้มีส่วนร่วม ในการพัฒนาเมือง เช่น การใช้ Traffy Fondue รับเรื่องร้องเรียน

“ความสำคัญของการหารือเชิงนโยบายครั้งนี้ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้พวกเราประสบความสำเร็จในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่ยั่งยืน สิ่งสำคัญ คือ การมีทิศทางที่ดี (Good Direction) และการร่วมมือของ ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน” ผู้ว่าฯกทม.กล่าวและได้ยกคำพูดของ Sir Isaac Newton “if I have seen further than others, it is by standing upon the shoulders of giants” ว่า เราไม่จำเป็นต้องเป็น ยักษ์ หรือ คนที่เก่งที่สุด แต่เราสามารถดึงความร่วมมือ จากคนที่เก่งที่สุดมาร่วมมือกันจากหลากหลายด้าน เพื่อพัฒนาเมืองให้มีความยั่งยืนและประสบความสำเร็จในการมุ่งสู่ Resilent City”

สำหรับกระบวนการหารือเชิงนโยบาย Toward 2050 : Future Bangkok for a Resilient and a Livable City จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 มิถุนายน 2567 มีเป้าหมายในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการ พัฒนาเมืองจากผู้เชี่ยวชาญของประเทศไทยและสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อหารือในประเด็นความท้าทายในการขับเคลื่อนการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่เติบโตน่าอยู่และรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างยืดหยุ่น ตลอดจนหาแนวทางความร่วมมือในการ พัฒนานโยบายและนวัตกรรมการพัฒนาเมืองในระยะยาว สำหรับวันแรก แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วง 1 ผู้นำและ ยุทธศาสตร์สำหรับเมือง ช่วงที่ 2 การพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน เรื่องการเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจและสังคม ช่วงที่ 3 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงสร้างพื้นฐาน และระบบนิเวศ เรื่องการสร้างความยืดหยุ่นสำหรับเมืองในวันพรุ่งนี้

ส่วนในวันพุธที่ 19 มิ.ย. แบ่งเป็นช่วงความมีชีวิตชีวาของเมือง โดยการบูรณาการสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในการวางผังเมืองที่ยืดหยุ่น การสนทนากลุ่มและการสรุปผลกระบวนการหารือเชิงนโยบาย และ วันที่ 20 มิ.ย. เป็นการเปิดกระบวนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการออกแบบ ทบทวนประเด็นที่ได้จากกระบวนการหารือเชิงนโยบาย ในวันที่ 18-19 มิ.ย. 2567 และแจ้งรายละเอียดกระบวนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการออกแบบ ซึ่งจะดำเนินงานในพื้นที่นำร่องย่านสุขุมวิทใต้ : พระโขนง-บางนา ต่อไป

 



ที่มา:  นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 19 มิ.ย. 2567

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200