(26 มี.ค. 67) รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการประจำปี ครั้งที่ 20 สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร “50 Years Journey for BKK Healthcare : 50 ปี สำนักการแพทย์ เพื่อสุขภาพคนกรุง” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 27 มีนาคม 2567 โดยมี แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมงาน ณ โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา เขตห้วยขวาง
รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าวว่า เราช่วยกันทำงานจนทำให้คนรู้สึกว่าเรามีปัญหาน้อยลง การให้บริการประชาชนดีขึ้น มีพลังในการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาล หน่วยบริการสาธารณสุข ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าปราการที่เขามีอยู่ไม่ว่าด่านหน้า (หน่วยปฐมภูมิ) หรือด่านหลัง เราต้องไม่ปล่อยให้มีแค่ด่านเดียวแบบในอดีต เพราะจะทำให้การทำงานร่วมกับหน่วยบริการและเครือข่ายต่างๆ สำเร็จมากขึ้น
ขอให้เจ้าหน้าที่อย่าย่อท้อต่อการทำงานอยากตั้งหลักให้มั่น ปัญหาที่พบเรียนรู้เพื่อแก้ไขและทำให้ดีขึ้น และสิ่งที่ทำให้รู้สึกดีใจคือแม้ว่าวันนี้จะเป็นการสัมมนาด้านการแพทย์นอกจากหัวข้อที่เป็นเรื่องการแพทย์โดยเฉพาะแล้วยังมีหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวข้อ Data และ Soft skills ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสิ่งที่สำคัญสำหรับหมอนอกจากการรักษาคนแล้วยังต้องทำให้คนสุขภาพดีด้วย ดังนั้นการจะบริหารจัดการสุขภาวะของคนเมืองได้ต้องรู้ตั้งแต่ต้นว่าภาวะเสี่ยงของประชาชนคืออะไรเพื่อนำข้อมูลมาออกแบบการทำงานในระดับปฐมภูมิได้ดีมากขึ้น
สำหรับงานสัมมนาวิชาการประจำปี ครั้งที่ 20 ในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือจากโรงพยาบาล 11 แห่งในสังกัดสำนักการแพทย์ อันเป็นการแสดงถึงความร่วมมือกัน ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเนื้อหาในการบรรยายประเด็นสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพของคนกรุงเทพมหานคร ย้ำถึงความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทุกช่วงวัย ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมากประสบการณ์ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์และวิทยากรรับเชิญจากภายนอก เสวนาต่อยอดความรู้และประสบการณ์ความชำนาญของสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจในเรื่องการวิจัยทางการแพทย์และการใช้เทคโนโลยีนทันสมัยในการเชื่อมโยงการรักษา นอกจากนี้การจัดงานมีความคาดหวังถึงการแบ่งปันประสบการณ์และนำเสนอแนวคิดที่มีประโยชน์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาดูแลสุขภาพของประชาชนต่อไป
นอกจากนี้รองผู้ว่าฯ ได้มอบรางวัล MSD Awards 2024 โดยมีรางวัลดีเด่นประเภทต่าง ๆ จำนวน 11 รางวัล ดังนี้
1. รางวัล Outstanding Executive สาขานักบริหารดีเด่น ได้แก่ รองศาสตราจารย์นายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
2. รางวัล Excellent Healthcare สาขาบริการสุขภาพ ได้แก่ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) Big Data Institute (Public Organization)
3. รางวัล MSD Advance – EMS Award สาขาการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
4. รางวัล MSD Basic – EMS Award สาขาการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ มูลนิธิสยามรวมใจ
5. รางวัล MSD Academic สาขานักวิชาการดีเด่น ได้แก่แพทย์หญิงจินตนันท์ จังศิริพรปกรณ์ นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลตากสิน
6. รางวัล MSD Outstanding Personnel สาขาบุคลากรดีเด่น ได้แก่1. นายปรีชา ชาลีทำ นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ (ด้านบริการทางวิชาการ) โรงพยาบาลนคราภิบาล 2. นางสาวประพันธ์ ปานประเสริฐ พนักงานทั่วไป บ2 โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
7. รางวัล MSD Management สาขาบริหารองค์กร ได้แก่ โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
8. รางวัล MSD Service Special สาขาบริการทางการแพทย์ ได้แก่ โรงพยาบาลตากสิน
9. รางวัล MSD Digital Development สาขาพัฒนาองค์กรดิจิทัล ได้แก่ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
10. รางวัล MSD Executive สาขานักบริหารดีเด่น สังกัดสำนักการแพทย์ ได้แก่ แพทย์หญิงอัมพร เกียรติปานอภิกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิรินธร
11. รางวัลประเภทผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ร่วมต่อต้านการทุจริต
ข้าราชการ ได้แก่ 1. นายศราวุธ อินทร์ชัย นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ สำนักงานเลขานุการ ลูกจ้างประจำ ได้แก่ 2. นายเด่นดวง คงมีสุข พนักงานสวนสาธารณะ บ1 โรงพยาบาลตากสิน ลูกจ้างชั่วคราว ได้แก่ 3. นายปิยะ เนียมชื่น ผู้ช่วยช่าง (ช่างไฟฟ้า) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
รางวัลคลินิกการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกคุณภาพของสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
ระดับ Intermediate ได้แก่ 1. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
3. โรงพยาบาลสิรินธร
ระดับ Basic ได้แก่ 1. โรงพยาบาลกลาง 2. โรงพยาบาลตากสิน 3. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
4. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ 5. โรงพยาบาลนคราภิบาล 6. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน และ 7. โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร
————————