(22 ธ.ค.65) เวลา 09.00 น. : นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมการถอดบทเรียนจากปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขตประเวศ ปี 2565 โดยมี นายธนวัฒน์ เชิดชูกิจกุล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำนักการระบายน้ำ สำนักการโยธา สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ผู้บริหารเขตประเวศ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 7 สำนักงานเขตประเวศ
ที่ประชุมรายงานจุดเสี่ยงน้ำท่วมในพื้นที่เขตประเวศ มีจำนวน 8 จุด ประกอบด้วย 1. หมู่บ้านทุ่งเศรษฐี สภาพปัญหา เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำถนนมีสภาพทรุดต่ำทำให้น้ำในคลองที่มีระดับสูงไหลเข้าท่วมพื้นที่ 2.หมู่บ้านเสรี-อ่อนนุช สภาพปัญหา ถนนมีระดับต่ำและมีขยะจำนวนมากอุดตันท่อระบายน้ำ 3. ชุมชน 14 ไร่, 19 ไร่ สภาพปัญหา เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ หากน้ำในคลองมีปริมาณสูงจะไหลเข้าชุมชน 4. ชุมชน 40 ไร่ สภาพปัญหา เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ หากน้ำในคลองมีปริมาณสูงจะไหลเข้าชุมชน 5. ซอยพัฒนาการ 65 (หมู่บ้านผาสุก) สภาพปัญหา ถนนมีสภาพทรุดต่ำในบางช่วง ทำให้น้ำในคลองสายหลักที่มีระดับสูงไหลเข้าท่วมผิวจราจร 6. หมู่บ้านเคหะนคร แปลง 1 สภาพปัญหา ถนนมีสภาพทรุดต่ำในบางช่วง ทำให้น้ำในคลองสายหลักที่มีระดับสูงไหลเข้าท่วมผิวจราจร 7. หมู่บ้านสมใจวิลเลจ สภาพปัญหา ถนนมีสภาพทรุดต่ำในบางช่วง ทำให้น้ำในคลองสายหลักที่มีระดับสูงไหลเข้าท่วมผิวจราจร และ8.หมู่บ้านเคทะนครแปลง 3 (ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 26) สภาพปัญหา ถนนมีสภาพทรุดต่ำในบางช่วง ทำให้น้ำในคลองสายหลักที่มีระดับสูงไหลเข้าท่วมผิวจราจร
จุดเฝ้าระวังน้ำท่วม จำนวน 3 จุด ประกอบด้วย 1.หมู่บ้านสุธาทิพย์ ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 สภาพปัญหา ถนนมีสภาพทรุดต่ำในบางช่วง ทำให้น้ำในคลองสายหลักที่มีระดับสูงไหลเข้าท่วมผิวจราจร 2. ซอยอ่อนนุช 59/1 (หมู่บ้านชมเดือน) ถนนอ่อนนุช สภาพปัญหา ถนนมีสภาพทรุดต่ำในบางช่วง ทำให้น้ำในคลองสายหลักที่มีระดับสูงไหลเข้าท่วมผิวจราจร และ 3.หมู่บ้านเมืองทองการ์เด้น (พัฒนาการ 65) ถนนพัฒนาการ สภาพปัญหา ถนนมีสภาพทรุดต่ำในบางช่วง ทำให้น้ำในคลองสายหลักที่มีระดับสูงไหลเข้าท่วมผิวจราจร
สำหรับแนวทางการแก้ไขจุดเสี่ยงน้ำท่วม 8 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม 3 จุดในพื้นที่ ดำเนินการขุดลอกคูคลองเปิดทางน้ำไหล ทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ทำการปรับปรุงถนนและท่อระบายน้ำใหม่แทนของเดิมที่มีการชำรุด ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำให้ดีขึ้น ก่อสร้าง subgate แทนการบล็อกด้วยกระสอบทราย ก่อสร้างเขื่อนป้องกันดินริมคลองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ
สำหรับจุดที่มีการจราจรติดขัดบ่อยครั้ง(จุดฝืด) ในพื้นที่มี 5 จุด ประกอบด้วย 1.บริเวณแยกประเวศ (ถนนสุขุมวิท 77- ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 สภาพปัญหา ทางแยกมีสัญญาณไฟจราจร ในช่วงเช้าและเย็น มีรถที่มาจากทุกเส้นทางจะมากลับรถเพื่อเลี้ยวขวาเข้าถนนมอเตอร์เวย์ ปริมาณรถสะสมเป็นจำนวนมากทำให้เกิดปัญหารถติดสะสม แนวทางการแก้ไข กรมทางหลวงอยู่ระหว่างก่อสร้างถนนเพื่อเข้าไปยังถนนมอเตอร์เวย์โดยไม่ผ่านจุดกลับรถ 2. บริเวณปากซอยอ่อนนุช 65 ถนนอ่อนนุช สภาพปัญหา ทางแยกไม่มีสัญญาณไฟจราจร ในช่วงเช้าและเย็น มีรถของประชาชนที่พักอาศัยในซอยอ่อนนุช 65 และใช้เส้นทางผ่านปากซอยเป็นจำนวนมาก มีการชะลอตัวเพื่อรอการกลับรถ แนวทางการแก้ไข ได้ดำเนินการเปิดช่องเกาะกลางปากซอยอ่อนนุช 65 เพื่อให้รถที่ออกจากซอยสามารถเลี้ยวขวาได้โดยไม่ต้องรอกลับรถ แก้ไขปัญหารถชะลอตัวไม่เกิดการติดขัดและติดตั้งสัญญาณไฟจราจรสำหรับประชาชนเดินข้ามถนน 3.บริเวณสะพานข้ามคลองเคล็ด ถนนอุดมสุข สภาพปัญหา เนื่องจากมีการก่อสร้างและซ่อมแชมอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอน จำเป็นต้องปิดการจราจรบางส่วน ทำให้เกิดปัญหาการจราจรไม่คล่องตัว โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนตอนเช้าและเย็น แนวทางการแก้ไข จัดช่องทางเดินรถเป็น 2 ช่องทาง เพื่อให้รถสามารถสวนทางกันได้สะดวก 4.บริเวณหน้าโรงเรียนคลองปักหลัก ถนนคู่ขนานกาญจนา สภาพปัญหา ในชั่วโมงเร่งด่วนตอนเช้าและเย็น มีประชาชนและรถรับส่งคนงานที่สัญจรผ่านถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษกและบริเวณซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แยก 30 ใช้เส้นทางผ่านโรงเรียนคลองปักหลักมีจำนวนมาก แนวทางการแก้ไข จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจบูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยความสะดวกการจราจรและดูแลความปลอดภัยเด็กนักเรียนทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย ช่วงละ 2 นาย (กำหนดเป็นจุดนำร่องดำเนินการ) 5.บริเวณสะพานข้ามคลองตาล บริเวณคลองตันตาล ถนนรามคำแหง 2 (พื้นที่ติดต่อกรุงเทพมหานครกับสมุทรปราการ) สภาพปัญหา ถนนรามคำแหง 2 มีช่องเดินรถ 4 ช่องจราจร แต่สะพานข้ามคลองตาล มี 2 ช่องจราจร ทำให้เกิดการบีบช่องจราจร รถที่ต้องผ่านบริเวณดังกล่าวไปได้ช้า มีจำนวนรถที่ผ่านบริเวณดังกล่าว เป็นจำนวนมาก แนวทางการแก้ไข สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยความสะดวกการจราจรให้รถผ่านได้สะดวก
จุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จำนวน 5 จุด ประกอบด้วย 1.บริเวณปากซอยถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. 9 ที่ 72 สภาพปัญหา รถทางหลักวิ่งด้วยความเร็วสูง มีรถเข้าออกซอยเป็นจำนวนมาก ตรงข้ามซอยเป็นป้ายรถโดยสารประจำทาง 2.บริเวณสามแยกถนนสุขาภิบาล ตัดถนนกาญจนาภิเษก สภาพปัญหา รถวิ่งถนนกาญจนาภิเษกใช้ความเร็วสูง ไม่มีสัญญาณไฟจราจร เส้นทางการจราจรลบเลือน 3.บริเวณถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. 9 ที่ 81 – 85 สภาพปัญหา สภาพถนนเป็นทางโค้ง รถทางหลักวิ่งด้วยความเร็ว มีรถเข้าออกซอยเป็นจำนวนมาก 4.บริเวณปากซอยถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. 9 ที่ 62 สภาพปัญหารถทางหลักวิ่งด้วยความเร็ว มีรถเข้าออกซอยเป็นจำนวนมาก ถนนเป็นทางโค้ง 5.ทางลอดขึ้น – ลง ใต้สะพานคลองปากน้ำ ถนนกาญจนาภิเษก ฝั่งโรงเรียนคลองปักหลัก สภาพปัญหา รถวิ่งถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษกใช้ความเร็วสูง มีรถใช้ทางลอดขึ้น-ลง จำนวนมาก ไม่มีสัญญาณไฟจราจร
สำหรับการใช้งาน Traffy Fondue ของเขตประเวศ มีเรื่องทั้งหมด 7,416 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ 6,337 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 359 เรื่อง ส่งต่อ 540 เรื่อง และเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง 50 เรื่อง (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ธ.ค.65)
รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า วันนี้เป็นประชุมการถอดบทเรียนน้ำท่วม และการดำเนินการบริเวณจุดเสี่ยงน้ำท่วม จุดเฝ้าระวังน้ำท่วม การแก้ไขปัญหาการจราจร(จุดฝืด) และจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่เขตประเวศ ตามนโยบายของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถอดบทเรียนน้ำท่วมในพื้นที่เขตที่ผ่านมา การเตรียมแผนรับมือฤดูฝนครั้งหน้า การเตรียมรับมือขณะฝนตก การเตรียมความพร้อมหากเกิดน้ำท่วม การให้ความช่วยเหลือประชาชนขณะน้ำท่วมและการเยียวยาประชาชนหลังน้ำท่วม พร้อมทั้งมอบหมายสำนักการระบายน้ำ สำนักการโยธา และสำนักงานเขต ประสานความร่วมมือการแก้ไขจุดเสี่ยงน้ำท่วม 8 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม 3 จุดในพื้นที่ อาทิ การบริหารจัดการประตูระบายน้ำ เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร การติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การปิดกั้นป้องกันน้ำไหลกลับเข้าพื้นที่ รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เขตประเวศ และจัดตั้งคณะทำงานเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยดี สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาจุดฝืด และจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้มอบหมายสำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธา สำนักงานเขต ประสานความร่วมมือกรมทางหลวง แขวงการทาง และสถานีตำรวจท้องที่ ในการดำเนินการปรับปรุงผิวจราจร ติดตั้งไฟสัญญาณจราจร ติดตั้งป้ายเตือน ติดตั้งสัญญาณการจราจรที่เหมาะสม เส้นชะลอความเร็ว การอำนวยความสะดวกการจราจร และจัดทำแผนแนวทางการแก้ไขปัญหาจุดฝืดและจุดเสี่ยงในพื้นที่ ส่วนข้อร้องเรียน Traffy Fondue ให้ตรวจสอบประเด็นหรือเรื่องใดที่มีจำนวนมากให้จัดลำดับ 1-5 เพื่อให้ทราบปัญหาที่พบมากในพื้นที่และหาแนวทางดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ข้อร้องเรียนลดลง
————