กทม.ทุ่มงบฯเฉียด 30 ล้านจ้างบริษัท ศึกษาเอกชนร่วมทุนโรงฯน้ำเสียคลองเตย

กทม.จ้างที่ปรึกษา 29.6 ล้าน ศึกษา รูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนโรงบำบัด น้ำเสียคลองเตย ครอบคลุม 6 เขต

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า สำนักการระบายน้ำ ได้จัดสรรงบประมาณ วงเงิน 29,660,000 บาท ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ ประกอบด้วย บริษัท โปรเกรส เทคโนโลยี คอนซัลแท็นส์ จำกัด ร่วมกับ บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด โดยมีบริษัท โปรเกรส เทคโนโลยี คอน ซัลแท็นส์ จำกัด เป็นบริษัทหลัก (Lead Firm) เป็นบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุน และ ดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย พร้อมทั้งให้มีการจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ และเสนอแนะรูปแบบที่เหมาะสมในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนสำหรับ การดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสีย ของ กทม.ที่มีความสอดคล้องตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562

ในการศึกษาดังกล่าว กทม.พิจารณาทางเลือกการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP) สำหรับโครงการ บำบัดน้ำเสียคลองเตย 3 รูปแบบ ดังนี้ 1.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน กรณีที่ 1(PPP1) เอกชนมีสัดส่วน หน้าที่ความรับผิดชอบมาก โดยเอกชน เป็นผู้รับผิดชอบค่าลงทุนการก่อสร้างทั้งระบบบำบัดน้ำเสียและระบบรวบรวมน้ำเสีย รวมถึง การดำเนินงาน และบำรุงรักษา (O&M) ทั้งสองระบบ 2.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน กรณีที่ 2 (PPP2) เอกชนมีสัดส่วน หน้าที่ความรับผิดชอบ ปานกลาง โดย เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบค่าลงทุนการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย และการ ดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ทั้งสอง ระบบ ขณะที่กทม.เป็นผู้รับผิดชอบ ค่าลงทุนการก่อสร้างระบบรวบรวม น้ำเสีย และ 3. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน กรณีที่ 3 (PPP3) เอกชน มีสัดส่วนหน้าที่ความรับผิดชอบน้อย โดยเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบค่าลงทุนการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย การจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย และการดำเนินงานและบำรุง รักษา (O&M) ทั้งสองระบบ ขณะที่ กทม.เป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้าง ทั้งระบบรวบรวมน้ำเสีย และงานโยธา โครงสร้างของระบบบำบัดน้ำเสีย รวมถึง ระบบอาคารของระบบบำบัดน้ำเสีย

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน กทม.มีความเห็น ว่า การร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost ไม่มีความเป็นไปได้ทางการเงิน เนื่องจากเอกชนมีมูลค่า ปัจจุบันจากการลงทุนติดลบทั้งรูปแบบ ของ PPP1 PPP2 และ PPP3 ในขณะที่ การร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Modified Gross Cost เอกชนจะมีอัตราผลตอบแทน ของผู้ถือหุ้น มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ และตัวชี้วัดทางการเงินอื่น สูงกว่าการร่วมทุนรูปแบบโครงการ บำบัดน้ำเสียคลองเตย

PPP Gross Cost แต่รัฐจะมีภาระทางการเงินสูงกว่าภาระทาง การเงินของการร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Gross Cost

ดังนั้น รูปแบบ PPP Gross Cost เป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด โดย การร่วมทุนกรณีที่มีความเป็นไปได้มาก ที่สุด คือ กรณี PPP2 รูปแบบ PPP Gross Cost กทม.เสนอรูปแบบการ จัดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโครงการ ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่เหมาะสม สำหรับโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย เป็นรูปแบบ ก่อสร้าง-โอน-ดำเนินงาน (Build-Transfer-Operate : BTO) ซึ่งเอกชนจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ของโครงการให้แก่กทม.ทันทีเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ก่อนที่จะเริ่มให้บริการมาตรการสนับสนุนโครงการร่วมลงทุนการดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนได้

อย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ระหว่าง เสนอหลักการของโครงการ ร่วมลงทุน และรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ โครงการให้ผู้ว่าฯกทม.ลงนาม เพื่อเสนอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ความเห็นชอบ เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วจัดส่งหลักการของโครงการ ร่วมลงทุน และรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจนำเสนอต่อ คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อพิจารณา

สำหรับโครงการโรงบำบัดน้ำเสียคลองเตย ครอบคลุมพื้นที่เขตคลองเตย เขตพระโขนง และพื้นที่บางส่วนของเขตวัฒนา เขตบางนา เขตสวนหลวง และเขตประเวศ รวมเป็นพื้นที่บริการบำบัด น้ำเสียประมาณ 67.13 ตร.กม. กทม. ได้เตรียมพื้นที่เพื่อก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียคลองเตย ตั้งอยู่ในแขวงบางจาก เขตพระโขนง พื้นที่ 28.64 ไร่ ซึ่งระบบรวบรวมน้ำเสีย จะมีโครงข่ายท่อรวบรวมน้ำเสีย โดยการวางท่อรวบรวมน้ำเสียสายหลักในคลองพระโขนง ผ่านคลองบางนางจีน และคลองบางอ้อใหญ่ มายังที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย มีการ วางท่อรวบรวมน้ำเสียสายรอง ในคลองไผ่สิงโตกับคลองหัวลำโพง (คลองเตย) เพื่อรวบรวมน้ำเสียทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่โครงการ วางท่อรวบรวมน้ำเสียสายรองในคลองตัน เพื่อรวบรวมน้ำเสียทาง ด้านทิศเหนือของพื้นที่โครงการ วางท่อ รวบรวมน้ำเสียสายรองในคลองเคล็ด เพื่อรวบรวมน้ำเสียทางด้าน ทิศตะวันออกของพื้นที่โครงการ และ วางท่อรวบรวมน้ำเสียสายรองในคลองบางนา เพื่อรวบรวมน้ำเสียทางด้านทิศใต้ของพื้นที่โครงการ มีขีดความสามารถในการบำบัด น้ำเสีย 332,000 ลบ.ม./วัน สามารถ รองรับอัตราการไหลของน้ำเสียได้ 996,000 ลบ.ม./วัน

 



ที่มา:  นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 25 ธ.ค. 2566

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200