Search
Close this search box.
ยกต้นแบบโรงพยาบาลธนบุรีบำรุงเมืองคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิด เดินหน้าจัดระเบียบผู้ค้าถนนดำรงรักษ์ ติดตามการปรับปรุงภูมิทัศน์พร้อมสำรวจสวน 15 นาที ริมคลองผดุงกรุงเกษมช่วงแยกมัฆวานถึงแยกเทวกรมเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

 

(30 พ.ย.66) เวลา 14.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ประกอบด้วย

 

 

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิด โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง พื้นที่ 82,760 ตารางเมตร มีบุคลากร 557 คน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2566 มีโครงการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิด โครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ เปลี่ยนขยะเศษอาหารในครัวให้กลายเป็นปุ๋ย โดยคัดแยกขยะเศษอาหารใส่ในเครื่องกำจัดเศษอาหาร เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยนำไปใส่แปลงผักบริเวณดาดฟ้า ชั้น 8 นำเศษผักผลไม้และกิ่งไม้ใบไม้แห้งไปทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ 2.ขยะรีไซเคิล ลดการใช้ขวดพลาสติก เปลี่ยนขวดบรรจุน้ำเป็นกล่องนม รวบรวมขยะรีไซเคิลไปขายร้านรับซื้อของเก่า 3.ขยะทั่วไป คัดแยกและส่งเขตฯ นำไปฝังกลบ 4.ขยะอันตราย รวบรวมส่งเขตฯ และ บจก.อัคคีปราการ นำไปเผาทำลาย 5.ขยะติดเชื้อ ส่ง บจก.กรุงเทพธนาคม นำไปเผาทำลายด้วยความร้อนสูง สำหรับปริมาณขยะหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปหลังคัดแยก 11,000 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 1,410 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 130 กิโลกรัม/เดือน ขยะติดเชื้อหลังคัดแยก 4,650 กิโลกรัม/เดือน

ตรวจความเป็นระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณถนนดำรงรักษ์ เขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 28 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 818 ราย ได้แก่ 1.ถนนกรุงเกษม (ผู้ค้าผลไม้ มหานาค ฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม) ผู้ค้า 4 ราย 2.ถนนกรุงเกษม (มหานาค ฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม) ผู้ค้า 77 ราย 3.ถนนกรุงเกษม (มหานาค ฝั่งอาคาร) ผู้ค้า 47 ราย 4.ดำรงรักษ์ ฝั่งโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ผู้ค้า 43 ราย 5.ดำรงรักษ์ ฝั่งกระทรวงพัฒนาสังคม ผู้ค้า 28 ราย6.ถนนพะเนียง ฝั่งวัดโสมนัส ผู้ค้า 11 ราย 7.ถนนกรุงเกษม (โบ๊เบ๊ฝั่งริมคลองผดุงกรุงเกษม) ผู้ค้า 126 ราย 8.ถนนกรุงเกษม (โบ๊เบ๊ฝั่งอาคาร) ผู้ค้า 33 ราย 9.ถนนบริพัตร ผู้ค้า 8 ราย 10.ถนนกรุงเกษม (มหานาคฝั่งริมคลองผดุงกรุงเกษม กลางคืน) ผู้ค้า 31 ราย 11.ถนนกรุงเกษม (มหานาคฝั่งอาคาร กลางคืน) ผู้ค้า 17 ราย 12.ถนนกรุงเกษม (โบ๊เบ๊ฝั่งริมคลองผดุงกรุงเกษม กลางคืน) ผู้ค้า 98 ราย 13.ถนนกรุงเกษม (โบ๊เบ๊ฝั่งอาคาร กลางคืน) ผู้ค้า 105 ราย 14.ซอยพระยามหาอำมาตย์ ผู้ค้า 46 ราย 15.ซอยอนันตนาค ผู้ค้า 7 ราย 16.ถนนเฉลิมเขต 2 ฝั่งธนาคารกรุงไทย ผู้ค้า 4 ราย 17.วงเวียน 22 กรกฎาคม (หน้าอาคารหมอมี) ผู้ค้า 5 ราย 18.ถนนยุคล 2 ผู้ค้า 4 ราย 19.สวนมะลิ 1 ผู้ค้า 11 ราย 20.ถนนเจริญกรุง ผู้ค้า 3 ราย 21.ถนนเจริญกรุง (ตรอกอิสรานุภาพ) 15 ราย 22.ถนนมังกรตัดถนนเจริญกรุง ผู้ค้า 4 ราย 23.ถนนพลับพลาไชย ผู้ค้า 12 ราย 24.ถนนเจริญกรุง (ปากซอยศรีธรรมาธิราช) ผู้ค้า 4 ราย 25.ถนนมังกร ผู้ค้า 21 ราย 26.ถนนเสือป่า ผู้ค้า 14 ราย 27.ถนนมหาจักร ผู้ค้า 27 ราย และ 28.ถนนเจ้าคำรบ ผู้ค้า 13 ราย ส่วนพื้นที่ทำการค้า จำนวน 2 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 52 ราย ได้แก่ 1.ถนนเจริญกรุง หน้าโรงพยาบาลกว๋องสิว ถึงแยกหมอมี ผู้ค้า 24 ราย (กลางวัน 12 ราย กลางคืน 12 ราย) 2.ถนนวรจักร หน้าบ้านเลขที่ 232 ถึงบ้านเลขที่ 90-92 ผู้ค้า 28 ราย (กลางวัน 25 ราย กลางคืน 3 ราย)

ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 เขตฯ จะดำเนินการยกเลิกพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 10 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 552 ราย ได้แก่ 1.ถนนกรุงเกษม (ผู้ค้าผลไม้ มหานาค ฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม) ผู้ค้า 4 ราย 2.ถนนกรุงเกษม (มหานาค ฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม) ผู้ค้า 77 ราย 3.ถนนกรุงเกษม (มหานาค ฝั่งอาคาร) ผู้ค้า 47 ราย 4.ถนนกรุงเกษม (โบ๊เบ๊ฝั่งริมคลองผดุงกรุงเกษม) ผู้ค้า 126 ราย5.ถนนกรุงเกษม (โบ๊เบ๊ฝั่งอาคาร) ผู้ค้า 33 ราย6.ถนนกรุงเกษม (มหานาคฝั่งริมคลองผดุงกรุงเกษม กลางคืน) ผู้ค้า 31 ราย7.ถนนกรุงเกษม (มหานาคฝั่งอาคาร กลางคืน) ผู้ค้า 17 ราย 8.ถนนกรุงเกษม (โบ๊เบ๊ฝั่งริมคลองผดุงกรุงเกษม กลางคืน) ผู้ค้า 98 ราย 9.ถนนกรุงเกษม (โบ๊เบ๊ฝั่งอาคาร กลางคืน) ผู้ค้า 105 ราย และ 10.ถนนเสือป่า ผู้ค้า 14 ราย

ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้พูดคุยสร้างความเข้าใจกับผู้ค้าให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า เพื่อคืนทางเท้าให้ประชาชนใช้ในการสัญจรได้อย่างสะดวกและปลอดภัย กำชับผู้ค้าให้ตั้งวางสินค้าให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดวางสิ่งของให้อยู่ภายในแนวเส้นที่กำหนด จัดเก็บอุปกรณ์และทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน พร้อมทั้งมอบหมายให้เขตฯ กวดขันผู้ค้าในจุดอื่นๆ ไม่ให้ตั้งวางสิ่งของรุกล้ำพื้นที่ทางเท้า รวมถึงพิจารณาหาแนวทางยกเลิกหรือยุบรวมพื้นที่ทำการค้าที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย ให้ย้ายเข้ามาทำการค้าในจุดเดียวกัน โดยจัดหาพื้นที่ใกล้เคียงกับจุดทำการค้าเดิมเพื่อรองรับผู้ค้าต่อไป

พร้อมกันนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ติดตามการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองผดุงกรุงเกษม ภายหลังการรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำริมคลองผดุงกรุงเกษมออกไป จากนั้นสำรวจสวน 15 นาที สวนริมคลองผดุงกรุงเกษม (แยกมัฆวาน-แยกเทวกรม) ถนนกรุงเกษม เขตฯ ดำเนินการจัดทำสวน 15 นาที จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1.สวนหย่อมวงเวียน 22 กรกฎา พื้นที่ 1 ไร่ 1 งาน กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของที่ราชพัสดุ ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์เสร็จเรียบร้อยแล้ว 2.สวนหย่อมจักรพรรดิพงษ์ พื้นที่ 3 ตารางวา อยู่ในขั้นตอนสำรวจและออกแบบสวน 3.สวนหย่อมและลานกีฬาศูนย์สวัสดิภาพเด็ก เยาวชน และสตรี พื้นที่ 2 ไร่ 3 งาน กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของกองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี อยู่ในขั้นตอนสำรวจและออกแบบสวน 4.สวนริมคลองผดุงกรุงเกษม (แยกมัฆวาน-แยกเทวกรม) พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน ดำเนินการปลูกต้นไม้แล้วบางส่วน โดยปลูกต้นไทรช่อในกระถางมังกร จัดเรียงตามแนวถนนให้เป็นระเบียบและสวยงาม โดยได้มอบหมายให้เขตฯ ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยพื้นที่ริมคลองผดุงกรุงเกษมทั้ง 2 ฝั่งอย่างต่อเนื่อง บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกไว้ให้มีความร่มรื่นและสวยงาม

ในการนี้มี นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ นายขวัญเมือง บุญประสงค์ ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สำนักเทศกิจ สำนักสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี

—–  (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200