นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ประชุมร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) หารือเรื่องการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง ดิจิทัลสำหรับครูบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้วยสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลหลักสูตร “อุ่นใจ ไซเบอร์” บนแพลตฟอร์ม LearnDi for Thais โดยมี นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะที่ปรึกษาผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร และทีมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำโดย ดร.ดารุวรรณ ศรีแก้ว รศ.ดร.เสกสรรค์ แย้มพินิจ และรศ.ดร.ธเนศ ธนิตย์ธีรพันธ์ ร่วมด้วย คณะจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS นำโดย นายสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ ร่วมประชุม ณ ห้องอัมรินทร์ศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า)
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร กล่าวภายหลังการประชุมว่า ทาง มจธ. พูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นของนักเรียน เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ และความปลอดภัยของไซเบอร์ ซึ่ง มจธ. มีหลักสูตรที่ทำมาร่วมกับทาง AIS ทำมาตั้งแต่ต้นปี ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ดำเนินการ ได้ผลดี มีการออกใบรับรอง รูปแบบ ทันสมัย เป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้สามารถเข้าไปเรียนและออกใบรับรองได้ ด้วยตัวเอง เป็นรูปแบบที่ไม่มีค่าใช้จ่าย และมีเรื่องที่น่าสนใจและเป็นเรื่องของความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ประชาชนน่าจะมีความสนใจ ทางกรุงเทพมหานคร โดยสำนักการศึกษาจึงจะนำมาประชาสัมพันธ์ รวมถึง ปรับในหลักสูตร 8 กลุ่มสาระวิชาที่เรามี ให้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เราสามารถนำมาใช้ออกใบรับรอง และให้คะแนนวัดผลกับเด็กนักเรียนได้ เรื่องนี้เป็นความร่วมมือหลายส่วน ทั้ง เอกชนและสำนักการศึกษา
ในการดำเนินการทางสำนักการศึกษาจะนำข้อมูลจากหลักสูตร ดังกล่าวที่ทาง มจธ.ร่วมกับ AIS ทำไว้ มาวิเคราะห์ เพื่อปรับให้ผู้เรียนสามารถเรียนจบได้มากขึ้น เช่น จากข้อมูล ที่ได้มามีผู้เรียน 160,000 คน เรียนจบ 90,000 คน ก็จะได้วิเคราะห์ และพัฒนาปรับรายละเอียดของหลักสูตรให้ผู้เรียนได้เรียนจบมากขึ้น ในเบื้องต้น จะนำหลักสูตรนี้มาใช้ก่อน ทั้งนี้ มีหลายเรื่อง เช่น เรื่องการบูลลี่ เรื่องความปลอดภัยของสื่อ การใช้สื่ออย่างเท่าทัน เชื่อว่านักเรียนเราจะได้ประโยชน์ โดยจะมีการลงนามบันทึก ข้อตกลงร่วมกันในเร็วๆ นี้ และจะมีความชัดเจนในปีการศึกษาหน้า
“ประเด็นของเด็กในเรื่องการรู้ เท่าทันสื่อ และความปลอดทาง ไซเบอร์ ไม่เฉพาะนักเรียนเท่านั้น คุณครูก็ด้วยบางครั้งมาช้ากว่าเด็ก ด้วยซ้ำ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ร่วมมือหลายส่วน ทั้งเอกชน และภาครัฐ ผมว่าไม่มี เรื่องอะไรผิดอะไรถูก แต่เป็นเรื่องที่เรารู้เท่าทันหรือไม่ จริงๆ เรามีความ ร่วมมือในเรื่องนี้กับหลายภาคส่วน มี AIS มี Dtac มี Google และอีกหลายบริษัทที่เข้ามา หน้าที่ของสำนักการศึกษาก็ต้อง มาจัดเรียงและจัดทำ หลักสูตรให้ลงตัว แต่หัวใจคือต้อง ไม่เพิ่มภาระครู และนอกจากนี้ ไม่ใช่ เรื่องรู้เท่าทันสื่ออย่างเดียว ท่านผู้ว่าฯ ยังได้บอกด้วยว่า เราสามารถนำ ต้นแบบวิธีการของ มจธ.นี้ มาปรับใช้ เรื่องอื่นได้ เช่นเรื่องความเท่าเทียม” นายศานนท์ กล่าว
ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 8 ธ.ค. 2565