บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายขนมและของว่างแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ร่วมมือกับแทรชลัคกี้ และ กรุงเทพมหานคร เปิดตัวโครงการ “โรงเรียนรักษ์โลก แยกขยะลุ้นโชคกับมอนเดลีซ” เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้และสร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เริ่มจาก 4 โรงเรียนนำร่องในกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งปลูกฝังพฤติกรรมการแยกขยะของนักเรียน คณาจารย์ และต่อยอดไปยังผู้ปกครอง ของนักเรียน และชุมชนโดยรอบ เพื่อช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่ สะอาดและการสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน โดยขยะที่เก็บคัดแยกจะ นำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและอัพไซเคิล เพื่อจัดการปัญหาขยะ แบบยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โครงการดังกล่าวจะเริ่ม ดำเนินการระยะนำร่องในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีนาคม 2566
คุณพสิษฐ์ อัครนันท์กรณิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด มีความมุ่งมั่นด้านการส่งเสริมความยั่งยืนและการลดขยะพลาสติกอย่าง ต่อเนื่อง และในปีนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลกด้านความยั่งยืนของบริษัทในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สามารถ รีไซเคิลได้ 100% ภายในปี พ.ศ. 2568 รวมทั้งตั้งเป้าหมาย Net Zero เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในปี พ.ศ.2593 เพื่อบรรเทาปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงได้ริเริ่มโครงการ” โรงเรียนรักษ์โลก แยกขยะลุ้นโชคกับมอนเดลีซ” ในระยะนำร่องร่วมกับ 4 โรงเรียนภายใต้สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นจุดเริ่ม ต้นครั้งสำคัญในการปูทางสู่การขยายการดำเนินงานระยะยาว ในอนาคต เราขอขอบคุณ กรุงเทพมหานคร แทรชลัคกี้ สำนักการ ศึกษา และคณาจารย์ ที่เห็นความสำคัญของการส่งเสริมความยั่งยืนและการลดขยะพลาสติกด้วยการแยกขยะรีไซเคิล พร้อม ผลักดันเยาวชนในโรงเรียนภายใต้สังกัดกรุงเทพมหานครให้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้”
การจัดการขยะเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง และ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาอย่าง จริงจังด้วยวิธีการที่ยั่งยืน จึงนำไปสู่ความร่วมมือในโครงการ “โรงเรียนรักษ์โลก แยกขยะลุ้นโชคกับมอนเดลีซ” ในครั้งนี้ ซึ่งยังเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการบริหารจัด การขยะ และการรักษาสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร ทั้งใน ด้านงบประมาณดำเนินการ วิทยากรให้ความรู้ และการเพิ่ม ช่องทางเพื่อส่งเสริมระบบการจัดเก็บขยะที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีโรงเรียนนำร่องในสังกัดกรุงเทพมหานครเข้าร่วมทั้งหมด 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดบึงทองหลาง โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ) โรงเรียนวัดนิมมานรดี โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ รวมนักเรียนจำนวน 7,912 คน
คุณศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “กรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับการปลูกฝังค่านิยมการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบให้แก่เยาวชนและประชาชน รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้และแรงจูงใจ ในการแยกขยะอย่างต่อ เนื่อง เพื่อง่ายต่อการนำไปต่อยอด ผ่านกระบวนการต่างๆ และยัง เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ขยะและรายได้เสริมให้แก่ประชากรลด ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การดำเนินงานของ โครงการดังกล่าวยังเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความมุ่งมั่นของ ประเทศไทยในการลดและเลิกใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวและสอดคล้องกับเป้าหมายในการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ 100% ภายในปีพ.ศ.2570 ตามโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะได้มีการขยายผลไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในสังกัดกรุงเทพมหานคร และเกิดผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายที่ตั้งไว้”
ในโครงการนี้ แทรชลัคกี้ เป็นพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญใน การให้ความรู้แก่นักเรียน คณาจารย์ รวมถึงผู้ปกครองและชุมชน โดยรอบ จัดกิจกรรมลุ้นรางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการแยกขยะ รีไซเคิล และพร้อมนำขยะรีไซเคิลที่เก็บได้ไปพัฒนาต่อให้เกิดประโยชน์ผ่านกระบวนการอัพไซเคิล โดยคุณณัฐภัค อติชาตการ ผู้ร่วมก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แทรชลัคกี้ จำกัดกล่าวว่า “ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทาง มอนเดลีซ ประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญและส่งเสริมการจัดการขยะด้วย การแยกขยะรีไซเคิล ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของบริษัท แทรชลัค ในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนรีไซเคิล เพื่อลดขยะฝังกลบและในมหาสมุทร โดยแทรชลัคกี้จะจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการแยก ขยะอย่างถูกวิธีแก่นักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ดำเนินการติดตั้งจุดรับขยะภายใต้โครงการเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนนำขยะรีไซเคิลที่คัดแยกเรียบร้อย มาส่งให้ที่จุดรับขยะรีไซเคิลใน โรงเรียนเพื่อรับแต้มสะสม รวมทั้งดำเนินการจับรางวัลมอบให้แก่นักเรียนที่คัดแยกถูกต้องพร้อมมอบแต้มสะสม โดยผู้เข้าร่วม โครงการสามารถใช้แต้มสะสมแลกสิทธิ์จับฉลากเพื่อลุ้นรางวัล ต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนโดยมอนเดลีซ ประเทศไทย ในทุก ๆ 2 เดือน ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ สำคัญเช่นนี้ และเชื่อมั่นว่าการเริ่มปลูกฝังความเข้าใจ และ ทัศนคติการรีไซเคิลให้แก่ประชากรที่เป็นอนาคตของชาติ จะช่วย ขับเคลื่อนให้เกิดความตระหนักและพฤติกรรมการรีไซเคิลในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืนมากที่สุด”
ที่มา: นสพ.บางกอกทูเดย์ ฉบับวันที่ 25 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2565