Search
Close this search box.
กทม. สนองพระราชดำริฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ปีงบประมาณ 65-66 ครบ 3 กรอบการดำเนินงาน 5 กิจกรรม

(28 ส.ค.66) เวลา 13.30 น. : นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดยกรุงเทพมหานคร (อพ.สธ.-กทม.) ประจำปี 2566 โดยมี ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการคณะกรรมการ อพ.สธ. คณะกรรมการโครงการฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า)

ที่ประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดยกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565-2566 ว่า กรุงเทพมหานครร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยมีผลการดำเนินงานครบ 3 กรอบการดำเนินงาน จำนวน 5 กิจกรรม ดังนี้ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร 1.สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชควรค่าแก่การอนุรักษ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักงานเขตดำเนินการสำรวจพืชควรค่าแก่การอนุรักษ์พันธุกรรมภายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการสำรวจ รวบรวมข้อมูลพันธุ์ไม้ยืนต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น สวนสาธารณะ สถานศึกษา ชุมชน และหน่วยงาน เพื่อจัดทำข้อมูลทะเบียนพันธุ์ไม้และรับรู้สถานะปัจจุบันของต้นไม้แต่ละต้นที่มีความสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยในปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.64-ก.ย.65) รวม 35,167 ต้น เช่น สะตือ สักทอง ประดู่ ปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-มี.ค.66) รวม 3,806 ต้น เช่น นุ่น มะฮอกกานี ตะแบก

2.การสำรวจข้อมูลไม้ยืนต้นในสวนสาธารณะด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ระบุและบันทึกพิกัดเพื่อรับรู้ที่อยู่ของการปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ไทร กระดังงา สัก ยางนา ในปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.64-ก.ย.65) รวม 57,003 ต้น ปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-มี.ค.66) รวม 22,790 ต้น โดยบันทึกรวบรวมรายละเอียดข้อมูลและพิกัดของไม้ยืนต้นลงในระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งผู้ปฏิบัติงานและรวมรวมไว้ที่กลุ่มงานวิชาการ สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม และ Online ในระบบ Bangkok Tree โครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น

กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร
1.การปลูกรักษาพันธุกรรมพืชควรค่าแก่การอนุรักษ์ ดูแลรักษาพันธุ์ไม้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งไหล่ทาง สวนสาธารณะ สถานศึกษา ชุมชน แปลงเพาะพันธุ์ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับพันธุ์ไม้แต่ละชนิด ได้แก่ ตัดแต่ง ทรงพุ่ม ศัลยกรรมต้นไม้ ปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.64-ก.ย.65) รวม 1,094,319 ต้น ปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-มี.ค.66) รวม 2,334,652 ต้น 2.การขยายพันธุ์พืชควรค่าแก่การอนุรักษ์เพื่อปลูกหรือแลกเปลี่ยนหรือแจกจ่ายพันธุกรรม มีการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด เช่น เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพาะเมล็ด ปลูก ปักชำ แยกหน่อ เป็นต้น โดยแจกจ่ายให้กับประชาชนที่มาติดต่อราชการหรือผู้ที่สนใจ ปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.64-ก.ย.65) ขยายพันธุ์ 246,247 ต้น แจกจ่าย 81,496 ต้น ปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-มี.ค.66) ขยายพันธุ์ 259,751 ต้น แจกจ่าย 483,785 ต้น

กรอบการใช้ประโยชน์ กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร การจัดทำฐานข้อมูลพืชควรค่าแก่การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชกรุงเทพมหานคร และฐานข้อมูลไม้ยืนต้น ปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.64-ก.ย.65) รวม 164,941 ต้น ปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-มี.ค.66) รวม 174,966 ต้น และการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นพื้นที่เขต ได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.64-ก.ย.65) จำนวน 300 ทรัพยากร แบ่งเป็น ทรัพยากรกายภาพ 25 แห่ง ทรัพยากรชีวภาพ 189 แห่ง ทรัพยากรทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 86 ชิ้น/งาน ปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-มี.ค.66) จำนวน 44 ทรัพยากร แบ่งเป็น ทรัพยากรกายภาพ 13 แห่ง ทรัพยากรชีวภาพ 22 แห่ง ทรัพยากรทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 9 ชิ้น/งาน

กรอบการสร้างจิตสำนึก กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพมหานครและงานพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับทรัพยากรทั้ง 3 ฐาน จัดแสดงอยู่ในพื้นที่ 15 สำนักงานเขต 1 สวนสาธารณะ รวมทั้งหมด 30 แห่ง ในรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ประกอบด้วย 1.เขตจอมทอง 10 แห่ง 2.เขตบางกอกน้อย 4 แห่ง 3.เขตบางเขน 2 แห่ง 4.เขตพระโขนง 2 แห่ง 5.เขตจตุจักร 1 แห่ง 6.เขตดอนเมือง 1 แห่ง 7.เขตบางซื่อ 1 แห่ง 8.เขตบางนา 1 แห่ง 9.เขตบางพลัด 1 แห่ง 10.เขตบางรัก 1 แห่ง 11.เขตบึงกุ่ม 1 แห่ง 12.เขตราษฎร์บูรณะ 1 แห่ง 13.เขตวังทองหลาง 1 แห่ง 14.เขตสัมพันธวงศ์ 1 แห่ง 15.เขตหนองแขม 1 แห่ง และ 16.สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม 1 แห่ง

กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มีการบูรณาการเข้ากับกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เช่น ให้ความรู้ทางวิชาการพร้อมลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพยากรภายในโรงเรียน การสำรวจและศึกษาพืช/สมุนไพรภายในโรงเรียน กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสวนพฤกษศาสตร์ ปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.64-ก.ย.65) รวบรวมกิจกรรมภายในโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร รวม 79 กิจกรรม ปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-มี.ค.66) รวบรวมกิจกรรมภายในโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร รวม 62 กิจกรรม

และกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร 1.สนับสนุนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปีงบประมาณ 2565-2566 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 307 โรงเรียน จากโรงเรียนทั้งหมด 437 โรงเรียน คิดเป็น 70.25% 2.สนับสนุนการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ด้านการอบรม ปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.64-ก.ย.65) การอบรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ “งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น” ระหว่างวันที่ 9- 12 พ.ค.65 มีผู้เข้าร่วมโครงการ 108 คน ประกอบด้วยข้าราชการสังกัดสำนักงานเขต 98 คน และเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักสิ่งแวดล้อม 10 คน ปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-มี.ค.66) การอบรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ “งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น” วันที่ 3, 5 และ 7 ก.ค.66 มีผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร และข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวน 791 คน

———————

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200