ทีมข่าวชุมชนเมือง รายงาน
จาก 216 นโยบายที่นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ประกาศแผนทำงาน 9 ด้าน 9 ดี กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ 365 วัน ผ่านไป ลองมาเช็กลิสต์ กันหน่อย 93 นโยบายที่ลงมือทำไปแล้ว คนเมืองรับรู้ความเปลี่ยนแปลงแค่ไหน หลังผู้ว่าฯ ออก ตัวอาจเห็นไม่ชัด เพราะเน้นแก้ที่ “เส้นเลือดฝอย” ไม่ใหญ่แต่สำคัญ คนเมืองรู้สึกเหมือนกันหรือเปล่า
๏ กรุงเทพฯ ต้องสว่าง
๏ พัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลพื้นที่จุดเสี่ยงความปลอดภัย
๏ หน่วยงาน กทม.เข้าใจ สนับสนุนความเท่าเทียม และยอมรับความหลากหลายทางเพศ
๏ ขอดูภาพจากกล้อง CCTV ออนไลน์ได้สะดวกรวดเร็ว
๏ ใช้ข้อมูลอาชญากรรมกำหนดพิกัดอันตราย เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
๏ ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเชิงรุก
๏ ซ้อมการเผชิญเหตุให้ครอบคลุมทุกระดับ ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่
๏ ปลูกฝังจิตสำนึก ส่งเสริมการสร้างระเบียบ กวดขันวินัยจราจรอย่างเข้มงวด
๏ พนักงาน กทม.ตรวจสอบความพร้อมใช้สาธารณูปโภคเมืองเชิงรุก
๏ รณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชัน สิ่งแวดล้อม
๏ เพิ่มเวลา เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มการเข้าถึงสวนและพื้นที่สาธารณะ
๏ รักษาสิทธิขั้นพื้นฐานให้คนไร้บ้าน ผ่านการตรวจสอบสิทธิและสวัสดิการ
๏ จัดระบบความช่วยเหลือคนไร้บ้านให้มีประสิทธิภาพ
๏ ช่วยหางาน สร้างรายได้ สร้างความมั่นคง
๏ กำหนดหน้าที่ และเป้าหมายของคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขตและระดับจังหวัด
๏ จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับเขต
๏ กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง
๏ เปิดโรงเรียนวันหยุดเป็นพื้นที่กิจกรรม พื้นที่การเรียนรู้สำหรับนักเรียนและชุมชน
๏ 12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ
๏ ห้องสมุดออนไลน์ อ่านอีบุ๊กได้จากทุกที่
๏ เพิ่มฟังก์ชันให้ห้องสมุดเป็น Co-working Space
๏ จัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้ง ทุกมุมเมืองเป็นพื้นที่ศิลปะ
๏ พื้นที่สาธารณะอเนกประสงค์ทั่วกรุง
๏ ชมรมผู้สูงอายุ สร้างสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพใจ
๏ จัดทีม “นักสืบฝุ่น” ศึกษาต้นตอ PM2.5
๏ ขยายระบบการติดตามและแจ้งเตือนฝุ่นสู่ระดับแขวง 1,000 จุด
๏ ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง
๏ พยากรณ์ แจ้งเตือน ป้องกันฝุ่น PM2.5
๏ สวน 15 นาที ทั่วกรุง
๏ พิจารณาให้นำสัตว์เลี้ยงไปออกกำลังกายในสวน กทม.ได้
๏ สร้างต้นแบบการแยกขยะ ต่อยอดให้การแยกขยะระดับเขตสมบูรณ์ครบวงจร
๏ สภาพแวดล้อมเมืองดี จุดทิ้งขยะถูกสุขอนามัย ไม่มีขยะตกค้าง
๏ มุ่งเน้นแยกขยะต้นทางและขยะเปียกจากองค์กรแบบมุ่งเป้า
๏ พัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม
๏ สนับสนุนให้เกิด ecosystem รถพลังงานไฟฟ้า
๏ อาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) ตัวช่วยด้านเทคโนโลยีสำหรับคนกรุงเทพฯ
๏ สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ค้าแผงลอย ภาคประชาชน และเอกชนในพื้นที่ ช่วยดูแลพื้นที่การค้า
๏ ทำฐานข้อมูลผู้ค้าแผงลอย พร้อมติดตามการดำเนินการ
๏ กรุงเทพฯ มั่นใจ ปลอดภัยโควิด
๏ จัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ กทม.
๏ ฝึกอาชีพพัฒนาทักษะยุคใหม่ตอบโจทย์ตลาดงาน
๏ ส่งเสริมการออมและเข้าถึงแหล่งเงินทุนตั้งแต่ระดับครอบครัวถึงระดับชุมชน
๏ นำร่องผ้าอนามัยฟรี
๏ ส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยให้เข้าถึงระบบจัดซื้อจัดจ้างของ กทม.
๏ ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของ กทม.
๏ จัดตั้ง Command Center บริหารจราจรร่วมกับตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๏ รถหยุด รถติด ลดหยุด ลดติด
๏ กรุงเทพฯ เดินได้ พัฒนาทางเดินเท้าคุณภาพ 1,000 กม.
๏ สร้างซ่อมดี เพื่อทางเท้าคุณภาพและคงทน
๏ ตรวจสอบและปรับปรุงทางข้ามทั้งกรุงเทพฯ ให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย
๏ ทางเท้าเดิมโล่ง สะอาด เป็นระเบียบ
๏ สายสื่อสารลงดินไม่ซ้ำซ้อน สะท้อนต้นทุน ไม่กระทบประชาชน
๏ แจ้งปัญหาวินฯ ผ่านแพลตฟอร์มฟองดูว์
๏ สะพานลอยปลอดภัย มั่นคงแข็งแรง
๏ BKK Trail เส้นทางวิ่งดี ออกกำลังกายดี = เดินได้ดี
๏ กำกับดูแลและเร่งคืนผิวจราจรการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด เพื่อการจราจรที่คล่องตัว
๏ เทศกิจผู้ช่วยจราจร
๏ นำร่องพัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย
๏ พัฒนา 1,034 ลานกีฬา กับประชาชนและเอกชนในพื้นที่
๏ ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข เพิ่มการรักษา เพิ่มเวลา เพิ่มทรัพยากร
๏ หมอถึงบ้าน ผ่าน Telemedicine
๏ Mobile Medical Unit รถสุขภาพเชิงรุก ตรวจถึงชุมชน
๏ ถอดบทเรียนโควิด-19 ไม่ผิดพลาดซ้ำสอง
๏ การรักษาและส่งตัวผู้ป่วยไร้รอยต่อ ด้วยการบูรณาการข้อมูล
๏ นำร่องสร้างห้องปั๊มนม-ให้นมในสถานที่ของกทม.
๏ ลดจุดเสี่ยง จุดเฝ้าระวังน้ำท่วมทันที
๏ แก้ปัญหาพื้นที่ต่ำ 50 เขต
๏ ขุดลอกและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ 3,000 กม.
๏ กวดขันจับ/ปรับ การทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างจริงจัง
๏ ปรับปรุงซ่อมแซมแก้ฟันหลอคันกั้นน้ำริมแม่น้ำ และคลองสายหลัก
๏ แจ้งเตือนฝนตกล่วงหน้าแม่นยำ
๏ เพิ่มเงินสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชนและปรับการให้เป็นรายปี
๏ บัตรคนพิการ จุดเดียวจบ ทุก รพ.สังกัด กทม.
๏ ให้การศึกษา พัฒนานักเรียนสู่พลเมืองโลก
๏ After School Program เรียน เล่น หลังเลิกเรียน
๏ ยกระดับห้องแล็บคอมพิวเตอร์ทุกโรงเรียนให้ทันสมัยและเพียงพอ
๏ คืนครูให้นักเรียน ลดภาระงานเอกสารด้วยเทคโนโลยี
๏ พัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วยแนวคิด “โรงเรียนแห่งการเรียนรู้”
๏ พัฒนาห้องสมุดและห้องการเรียนรู้เคลื่อนที่
๏ ดูแลห้องสมุดชุมชน บ้านหนังสือ ให้มีความทันสมัยน่าใช้งาน
๏ ขยายขีดความสามารถของโรงเรียนและศูนย์ฝึกอาชีพ กทม. ให้สามารถดูแลและฝึกทักษะคนพิการได้
๏ ดูแลนักเรียนที่หลุดจากระบบการศึกษา และป้องกันกลุ่มเสี่ยงหลุดออกจากระบบ
๏ พัฒนาระบบติดตามการขออนุญาตกับ กทม.
๏ ประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในโครงการของ กทม.
๏ สร้างการสื่อสารสองทางระหว่าง กทม.และประชาชนผ่านสภาคนเมือง ประจำเขต
๏ สภาเมืองคนรุ่นใหม่
๏ เปิดเผยข้อมูลศักยภาพสูงของ กทม.
๏ เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างครอบคลุมทั้งของ กทม.และกรุงเทพธนาคม
๏ วิเคราะห์ข้อมูลเมือง ต่อยอดสู่การแก้ไขปัญหา
๏ รายงานปัญหาโดยประชาชน แก้ปัญหาโดย กทม.ผ่านแพลตฟอร์มทราฟฟีฟองดูว์
๏ โปร่งใส ไม่ส่วย
๏ จัดทำงบประมาณแบบเริ่มจากศูนย์
๏ ผู้ว่าฯ สัญจรประจำเขต
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 มิ.ย. 2566