เรียนรู้ เพื่อรับมือ กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย Climate Change 🌦️ สถานการณ์ของฝนฟ้าคะนอง / ลมหนาว / อากาศร้อน / ฝุ่น PM2.5 🍃
.
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดจากปริมาณความเข้มข้นของก๊าซบางชนิดที่สามารถกักเก็บความร้อนเพิ่มมากขึ้นในชั้นบรรยากาศโลก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเรา เช่น โรงงานไฟฟ้า ยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม การตัดไม้ทำลายป่า 🍂
.
📍 Climate Change ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง / ใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น / เกิดโรคภัยชนิดใหม่ / กระทบภาคการเกษตร และอาจขาดแคลนอาหารในอนาคต / เกิดไฟป่า ทำให้สัตว์ไม่มีแหล่งที่อยู่อาศัย / การขยายพันธุ์ของสัตว์บางชนิดจะลดลง
.
🌳 #สิ่งแวดล้อมดี ชวนชาวกรุงเทพฯ
เร่งปรับพฤติกรรม เพื่อทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น: ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ / ลดการสร้างขยะ / ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า / ลดการใช้งานพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยาก / ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน (โซลาร์เซลล์) / ลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล เปลี่ยนมาใช้ขนส่งมวลชน
.
กรุงเทพฯ พัฒนาโครงการ “BMA Net Zero” ใช้หลักการ “ CRO (คำนวณ ลด ชดเชย)”
⚙️ ‘คำนวณ’ (C–Calculate) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทรัพย์สินของ กทม.
ดำเนินการใน 3 สำนักงานเขตนำร่อง ได้แก่ เขตดินแดง เขตประเวศ และเขตบางขุนเทียน ภายในปี 2566 นี้
⚙️ ‘ลด’ (R–Reduce) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการลดใช้พลังงานและใช้พลังงานทดแทน
– โครงการ City to City Collaboration for Zero-Carbon Society ดำเนินงานด้านพลังงานของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร และเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น
– โครงการ BMA2 Net Zero พัฒนาอาคารในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เป็นอาคารต้นแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
– โครงการลดใช้พลังงานในอาคาร
– โครงการสำนักงานสีเขียว
– โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เช่น การติดตั้ง Charging Station การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาของอาคารภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และการปรับเปลี่ยนรถยนต์ราชการเป็นรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
⚙️ ‘ชดเชย’ (O–Offset) ส่งเสริมโครงการที่เก็บกักหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออยู่
เช่น โครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น สวน 15 นาที เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมถึงคำนวณค่าการดูดซับคาร์บอน จากโครงการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศไม้ยืนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร
.
#สุขภาพดี ชวนคุณดูแลตนเอง ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
- สวมหน้ากากอนามัย
- การดูแลรักษาร่างกายให้สะอาด และให้ความอบอุ่นอย่างเพียงพอ
- ล้างมือบ่อย ๆ ก่อน-หลังการรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- รับประทานผักและผลไม้ เพิ่มวิตามินและแร่ธาตุ
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที)
.
🌪️🔔 ตามติดสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ได้ที่
▪️ แอปพลิเคชัน AirBKK / Line @linealert
▪️ www.airbkk.com
▪️ www.pr-bangkok.com
———————–