สัมพันธวงศ์พาชม River City Bangkok แยกขยะไม่เทรวม ตรึงแนวแผงค้าถนนโยธา ดันผู้ค้าเยาวราชเข้าพื้นที่อัตลักษณ์ คุมเข้มฝุ่นจิ๋วไซต์งานภูมิสยามวิศวกรรม พัฒนาสวนหย่อมวัดสัมพันธวงศ์ เลาะหาที่ว่างปั้นสวนให้เต็มสิบ

(18 มิ.ย. 68) เวลา 12.45 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ ประกอบด้วย

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ ศูนย์การค้า River City Bangkok ซอยเจริญกรุง 24 พื้นที่ 34,804 ตารางเมตร ผู้มาใช้บริการ 3,000-5,000 คน/วัน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2566 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ คัดแยกขยะอินทรีย์ ประเภทเศษอาหาร โดยนำมารวบรวมไว้ที่จุดพักขยะ เขตฯ จัดเก็บทุกวัน 2.ขยะรีไซเคิล คัดแยกขยะรีไซเคิล มีจุดรวบรวมไว้ที่ห้องพักขยะรีไซเคิล นำไปจำหน่าย 1 ครั้ง/เดือน เป็นรายได้มอบให้กับพนักงาน 3.ขยะทั่วไป คัดแยกขยะทั่วไป รวบรวมไว้ที่ห้องพักขยะทั่วไป เขตฯ จัดเก็บทุกวัน 4.ขยะอันตราย คัดแยกขยะอันตราย มีจุดรวบรวมขยะอันตราย เขตฯ จัดเก็บ 1 ครั้ง/เดือน สำหรับปริมาณขยะก่อนและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 29,760 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 25,916กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลก่อนคัดแยก 450 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 650 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 1,550 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 3,250 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายก่อนคัดแยก 3 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 8 กิโลกรัม/เดือน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวขอบคุณทางศูนย์การค้าที่เห็นถึงความสำคัญในการคัดแยกขยะ พร้อมให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมกับกรุงเทพมหานครในโครงการไม่เทรวม โดยให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการคัดแยกประเภทต่างๆ โดยเฉพาะขยะทั่วไปที่ยังสามารถแยกประเภทขยะออกมาได้อีก เพื่อให้การจัดเก็บเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปริมาณขยะที่คัดแยกจะมีผลต่ออัตราจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยฉบับใหม่ โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคมนี้

ตรวจการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า บริเวณถนนโยธา ผู้ค้า 48 ราย ซึ่งเขตฯ ได้ขีดสีตีเส้นกำหนดแนวขอบเขตของร้านค้า เว้นช่องว่างเพื่อให้ประชาชนเดินเข้าออกอาคาร ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 3 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 441 ราย ได้แก่ 1.ถนนเยาวราช ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่แยกเฉลิมบุรีถึงแยกราชวงศ์ ช่วงเวลาทำการค้า 10.00-18.00 น. ผู้ค้า 96 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 18.00-24.00 น. ผู้ค้า 173 ราย 2.ถนนราชวงศ์ ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่แยกราชวงศ์ถึงท่าเรือราชวงศ์ ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-17.00 น. ผู้ค้า 144 ราย 3.ถนนข้าวหลาม ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงถึงสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-24.00 น. ผู้ค้า 28 ราย ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 60 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 1,651 ราย ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ได้ยกเลิกพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 3 จุด ได้แก่ 1.ถนนพาดสาย ผู้ค้า 1 ราย 2.ถนนทรงสวัสดิ์ บริเวณวัดสัมพันธวงศ์ ผู้ค้า 2 ราย 3.ถนนทรงวาด ผู้ค้า 1 ราย ควบรวมพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 20 จุด ให้คงเหลือ 8 จุด ได้แก่ 1.ถนนมังกรฝั่งซ้าย ผู้ค้า 32 ราย ควบรวมกับถนนมังกรฝั่งโลตัส (ซ้าย) ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงถึงถนนเยาวราช ผู้ค้า 27 ราย เปลี่ยนชื่อเป็นถนนมังกรฝั่งซ้าย ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงถึงถนนทรงวาด รวมผู้ค้า 59 ราย 2.ถนนมังกรฝั่งขวา ผู้ค้า 37 ราย ควบรวมกับถนนมังกรฝั่งโลตัส (ขวา) ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงถึงถนนเยาวราช ผู้ค้า 19 รายเปลี่ยนชื่อเป็นถนนมังกรฝั่งขวา ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงถึงถนนทรงวาด รวมผู้ค้า 56 ราย 3.ถนนเยาวราช ตั้งแต่หน้าโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิถึงซอยเยาวราช ผู้ค้า 8 ราย ควบรวมกับซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ ผู้ค้า 8 ราย เปลี่ยนชื่อเป็นถนนเยาวราชฝั่งซ้าย ตั้งแต่ซอยเยาวราช 1 ถึงซอยเยาวราช 7 รวมผู้ค้า 16 ราย 4.ถนนข้าวหลาม ผู้ค้า 4 ราย ควบรวมกับซอยสุกร 1 ตั้งแต่ถนนมิตรภาพไทย-จีน ถึงถนนข้าวหลาม ผู้ค้า 21 ราย เปลี่ยนชื่อเป็นซอยสุกร 1 ตั้งแต่ถนนมิตรภาพไทย-จีน ถึงถนนข้าวหลาม รวมผู้ค้า 25 ราย 5.ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่แยกหมอมีถึงแยกลำพูนไชย ผู้ค้า 12 ราย ควบรวมกับถนนเจริญกรุง แยกหมอมี ผู้ค้า 2 ราย และถนนเจริญกรุงฝั่งขวา ตั้งแต่สะพานดำรงสถิตย์ถึงแยกเสือป่า ผู้ค้า 16 ราย เปลี่ยนชื่อเป็นถนนเจริญกรุงฝั่งขวา ตั้งแต่สะพานดำรงสถิตย์ถึงแยกลำพูนไชย รวมผู้ค้า 30 ราย 6.ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่ถนนลำพูนไชยถึงถนนมิตรภาพไทย-จีน ผู้ค้า 4 ราย ควบรวมกับถนนเจริญกรุง หน้าวัดไตรมิตรวิทยาราม ผู้ค้า 17 ราย เปลี่ยนชื่อเป็นถนนเจริญกรุงฝั่งซ้าย ตั้งแต่แยกลำพูนไชยถึงถนนมิตรภาพไทย-จีน รวมผู้ค้า 21 ราย 7.ควบรวมถนนบริพัตร (กลางคืน) ผู้ค้า 1 ราย ถนนเจริญกรุง ซอยเจริญกรุง 16 (กลางคืน) ผู้ค้า 1 ราย ถนนเจริญกรุง ซอยเจริญกรุง 27 (กลางคืน) ผู้ค้า 1 ราย ถนนเจริญกรุง ซอยเจริญกรุง 33 (กลางคืน) ผู้ค้า 3 ราย และซอยสุกร 2 (กลางคืน) ผู้ทำการค้า 1 ราย เปลี่ยนชื่อเป็นถนนเจริญกรุงและซอยสุกร 2 (กลางคืน) รวมผู้ค้า 7 ราย 8.ถนนเยาวราช (กลางคืน) ตั้งแต่แยกราชวงศ์ถึงแยกวัดตึก ผู้ค้า 12 ราย ควบรวมกับแยกวัดตึกถึงคลองโอ่งอ่าง (กลางคืน) ผู้ค้า 4 ราย เปลี่ยนชื่อเป็นถนนเยาวราช (กลางคืน) ตั้งแต่แยกราชวงศ์ถึงสะพานภาณุพันธุ์ รวมผู้ค้า 16 ราย ซึ่งในปี 2568 เขตฯ มีแผนจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน ดังนี้ 1.ถนนเยาวราช ผู้ค้า 96 ราย ขอทบทวนเป็นพื้นที่อัตลักษณ์ 2.ถนนราชวงศ์ ผู้ค้า 144 ราย ขอยกเว้นหลักเกณฑ์ทำการค้า 3.ถนนข้าวหลาม ผู้ค้า 25 ราย ขอยกระดับเป็นจุดผ่อนผัน พื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน ดังนี้ 1.ยกเลิกทำการค้า 20 จุด 2.จัดระเบียบโดยยกเว้นหลักเกณฑ์ทำการค้า 6 จุด 3.ยุบรวมพื้นที่ทำการค้า 27 จุด 4.ขอเป็นพื้นที่อัตลักษณ์ ย่านเยาวราช 7 จุด ย่านสำเพ็ง 12 จุด ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ จัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 พิจารณาตามประกาศพื้นที่ทำการค้าฉบับใหม่ ในการจัดทำเป็นพื้นที่อัตลักษณ์ ขอความร่วมมือผู้ค้าให้เก็บอุปกรณ์ทำการค้าและทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน เพื่อความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ ผู้ค้าและนักท่องเที่ยวสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทางเท้าร่วมกันได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ไซต์งานก่อสร้าง บริษัท ภูมิสยาม วิศวกรรม จำกัด ซึ่งเป็นการก่อสร้างอาคารโรงแรม ความสูง 5 ชั้น ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้งนี้ รองผู้ราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ กำชับผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 อย่างเคร่งครัด ตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องฉีดพ่นละอองน้ำและเปิดในช่วงการปฏิบัติงานตลอดเวลา ตรวจสอบความสูงของแนวรั้วโดยรอบโครงการโดยมีความสูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 6 เมตร ติดตั้งตาข่ายกันฝุ่นให้ครอบคลุมอาคารที่กำลังก่อสร้างให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นจากการก่อสร้างฟุ้งกระจายไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ฉีดล้างทำความสะอาดล้อรถบรรทุกก่อนออกโครงการ นอกจากนี้เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อาทิ ประเภทกิจการหลอมโลหะ 5 แห่ง ประเภทสถานที่ก่อสร้าง 4 แห่ง รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 กำชับสถานประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมค่าฝุ่น PM2.5 ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

พัฒนาสวน 15 นาที สวนวัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งเขตฯ ได้ปรับปรุงพื้นที่ภายในวัด จัดทำทางเดิน ตั้งวางม้านั่ง ปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพิ่มเติม ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที (สวนเดิม) คือสวนหย่อมพระมหาธีรญาณมุนี พื้นที่ 2 งาน 35 ตารางวา สวน 15 นาที (สวนใหม่) จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ 1.สวนศิลป์ป๋วย อึ๋งภากรณ์ พื้นที่ 2 งาน 10.77 ตารางวา 2.สวนวัดสัมพันธวงศ์ พื้นที่ 2 งาน 34 ตารางวา 3.สวนหย่อมชุมชนโชฎึก พื้นที่ 1 งาน 12.5 ตารางวา 4.สวนหย่อมชุมชนโปลิศสภา พื้นที่ 1 งาน 6.25 ตารางวา 5.สวนศาลเจ้าไทฮั้ว พื้นที่ 1 งาน 12.5 ตารางวา 6.สวนสะพานเจริญสวัสดิ์ พื้นที่ 23 ตารางวา ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ สำรวจพื้นที่ว่างที่มีความเหมาะสม เพื่อจัดทำสวน 15 นาทีให้ครบทั้ง 10 แห่ง ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในสวนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ เพื่อให้สวนดังกล่าวเกิดประโยชน์จากการใช้งานอย่างแท้จริง

ในการนี้มี นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ นายชัยวัฒน์ รังษีภโนดร ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตสัมพันธวงศ์ สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี #บ้านนี้ไม่เทรวม #แยกขยะจ่ายน้อยกว่า #แยก20ไม่แยก60 #BKKWASTEPAY

—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200