(30 พ.ค. 68) เวลา 13.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ประกอบด้วย

ติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า บริเวณหน้าตลาดพรานนก ถนนอิสรภาพ ซึ่งเขตฯ ได้ยกเลิกพื้นที่ทำการค้าดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา เพื่อความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบกับทางเท้าหน้าตลาดพรานนก อยู่ในพื้นที่โครงการปรับปรุงทางเท้าถนนอิสรภาพ โดยย้ายผู้ค้าเข้าไปทำการค้าในตลาดพรานนก ส่วนผู้ค้าที่เช่าพื้นที่ด้านหน้าอาคาร ได้จัดระเบียบแผงค้าให้อยู่ในแนวอาคาร ไม่ให้ตั้งวางแผงค้ารุกล้ำออกมาบนพื้นทางเท้า ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 5 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 376 ราย ได้แก่ 1.ท่าน้ำพรานนกฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลศิริราช ถนนวังหลัง ผู้ค้า 123 ราย 2.ปากตรอกวังหลัง ถนนอรุณอมรินทร์ ผู้ค้า 25 ราย 3.ซอยแสงศึกษา ฝั่งนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ ผู้ค้า 38 ราย 4.ตลาดบางขุนนนท์ ถนนบางขุนนนท์ ผู้ค้า 172 ราย และ 5.หน้าไปรษณีย์บางขุนนนท์ ถนนบางขุนนนท์ ผู้ค้า 18 ราย ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ยกเลิกจุดทำการค้า 2 จุด ได้แก่ 1.หน้าตลาดพรานนก ถนนอิสรภาพ ผู้ค้า 181 ราย 2.หน้าตลาดบางกอกน้อย ถนนอิสรภาพ ผู้ค้า 30 ราย ยกเลิกวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 13 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 126 ราย ได้แก่ 1.ใต้สะพานอรุณอมรินทร์ ผู้ค้า 2 ราย 2.ถนนอิสรภาพหน้าร้าน 7-11 ผู้ค้า 4 ราย 3.หน้าที่ทำการไปรษณีย์บางกอกน้อย ผู้ค้า 2 ราย 4.เวิ้งปิ่นเกล้า ผู้ค้า 7 ราย 5.หน้าวัดเจ้าอามและฝั่งตรงข้ามวัด ผู้ค้า 12 ราย 6.หน้าไปรษณีย์บางขุนนนท์ ผู้ค้า 8 ราย 7.ปากซอยบางขุนนนท์ 2 ผู้ค้า 3 ราย 8.ปากซอยสมเด็จพระปิ่นเกล้า 3-5 ผู้ค้า 17 ราย 9.หน้าห้างแม็คโคร ปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 ผู้ค้า 19 ราย 10.ถนนบางขุนนนท์ ทั้ง 2 ฝั่ง ผู้ค้า 20 ราย 11.ปากซอยแสงศึกษา (อิสรภาพ 44) หน้าโรงพยาบาลธนบุรี ผู้ค้า 13 ราย 12.หน้าโรงเรียนชิโนรส ผู้ค้า 7 ราย และ 13.ตรงข้ามห้างพาต้า ผู้ค้า 12 ราย ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ยกเลิกพื้นที่ทำการค้า 6 จุด ได้แก่ 1.ปากซอยโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา 2.ถนนอรุณอมรินทร์ 3.ปากซอยอรุณอมรินทร์ 20 4.หน้าห้างโลตัสบางขุนนนท์ 5.ถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 และ 6.หน้าธนาคารกรุงเทพ สามแยกไฟฉาย ส่วนในปี 2568 เขตฯ จะยกเลิกพื้นที่ทำการค้าอีก 5 จุด ได้แก่ 1.ถนนอิสรภาพหน้าร้าน 7-11 ผู้ค้า 4 ราย 2.เวิ้งปิ่นเกล้า ผู้ค้า 7 ราย 3.ใต้สะพานอรุณอมรินทร์ ผู้ค้า 2 ราย 4. หน้าที่ทำการไปรษณีย์บางกอกน้อย ผู้ค้า 2 ราย 5.ตรงข้ามห้างพาต้า ผู้ค้า 12 ราย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ จัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ โรงพยาบาลธนบุรี 1 พื้นที่ 102,093 ตารางเมตร (8 อาคาร) มีประชาชนมาใช้บริการเฉลี่ย 2,597 คน/วัน พนักงานเฉลี่ย 1,217 คน/วัน OPD 1,234 คน/วัน และ IPD 146 คน/วัน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2520 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ เกษตรกรมารับไปเป็นอาหารสัตว์ 3 วัน/สัปดาห์ 2. ขยะรีไซเคิล SCG จัดเก็บ 3 วัน/สัปดาห์ (อังคาร พฤหัสบดี เสาร์) 3.ขยะทั่วไป สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. จัดเก็บวันละ 1 รอบ เวลา 05.00 น. 4.ขยะอันตราย สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. จัดเก็บร่วมกับขยะทั่วไป 5.ขยะติดเชื้อ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด จัดเก็บวันละ 1 รอบ เวลา 00.00 น. 6.ขยะกำพร้า Yolo Zero Waste จัดเก็บ 2 ครั้ง/เดือน (พุธที่ 1 และ 3 ของเดือน) สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปหลังคัดแยก 32,652 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 8,148 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 684 กิโลกรัม/เดือน ขยะติดเชื้อหลังคัดแยก 17,667 กิโลกรัม/เดือน ขยะกำพร้าหลังคัดแยก 293 กิโลกรัม/เดือน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้คำแนะนำในการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะขยะทั่วไปที่มีเป็นจำนวนมาก สามารถคัดแยกออกมาได้อีก เพื่อให้การจัดเก็บขยะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปริมาณขยะที่คัดแยกจะมีผลต่ออัตราค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยฉบับใหม่
พัฒนาสวน 15 นาที สวนถนนพระเทพ บริเวณถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งเขตฯ ได้ปรับปรุงพื้นที่ว่าง ปลูกไม้พุ่มไม้ประดับ ปูหญ้า จัดทำทางเดิน ตั้งวางม้านั่งภายในสวน ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที (สวนเดิม) จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1.สวนหย่อมอัศวิน พื้นที่ 2 งาน 62 ตารางวา 2.สวนหย่อมจักรวาล พื้นที่ 33 ตารางวา 3.สวนหย่อมปากซอยรุ่งประชา พื้นที่ 1 งาน 27 ตารางวา 4.สวนหย่อมสายใต้เก่า พื้นที่ 1 งาน 25 ตารางวา สวนสาธารณะในพื้นที่ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1.สวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา พื้นที่ 21 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา 2.สวนสิรินธราพฤกษา พื้นที่ 3 ไร่ 16 ตารางวา สวน 15 นาที (สวนใหม่) จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ 1.สวนอรุณอมรินทร์ พื้นที่ 23.5 ตารางวา 2.สวนยูเทิร์นเพลินใจ บริเวณทางกลับรถใต้สะพานข้างคลองบางขุนศรี ถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 พื้นที่ 22 ตารางวา 3.สวนวัดรวกสุทธาราม พื้นที่ 147 ตารางวา 4.สวนวัดชิโนรสารามวรวิหาร พื้นที่ 60 ตารางวา 5.สวนวัดสุวรรณ ลานทองคล้องใจ พื้นที่ 13 ตารางวา 6.สวนถนนพระเทพ พื้นที่ 36.25 ตารางวา 7.สวนหย่อมสายใต้เก่า พื้นที่ 1 งาน 25 ตารางวา อยู่ระหว่างดำเนินการ 8.สวนหย่อมโรงเรียนสุวรรณาราม พื้นที่ 30 ตารางวา ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ สำรวจพื้นที่ว่างโดยพิจารณาถึงความเหมาะสม เพื่อจัดทำสวน 15 นาทีให้ครบทั้ง 10 แห่ง ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกแบบพื้นที่ภายในสวนให้ตรงกับความต้องการของประชาชนที่จะเข้ามาใช้บริการหรือทำกิจกรรมภายในสวน เพื่อให้การจัดทำสวน 15 นาที เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง
ตรวจมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการก่อสร้างดีคอนโด คีรี (Dcondo Kiri) ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน ซึ่งเป็นการก่อสร้างอาคารพักอาศัย ความสูง 8 ชั้น จำนวน 2 อาคาร ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ. 2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการเปิดเครื่องฉีดพ่นละอองน้ำในช่วงการปฏิบัติงานตลอดเวลา ฉีดล้างทำความสะอาดล้อรถบรรทุกและรถโม่ปูนก่อนออกโครงการ ตรวจสอบความสูงของแนวรั้วโดยรอบโครงการ ให้มีความสูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 6 เมตร ติดตั้งเครื่องวัดค่าฝุ่น PM2.5 และจอแสดงผลด้านหน้าโครงการให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ตรวจวัดค่าควันดำรถบรรทุกให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามรอบที่กำหนด นอกจากนี้ เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ประเภทสถานที่ก่อสร้าง 7 แห่ง ประเภทจุดถมดินท่าทราย 2 แห่ง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 กำชับสถานประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อลดมลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ในการนี้มี นางกฤติมา นิ่มน้อย ผู้อำนวยการเขตบางกอกน้อย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตบางกอกน้อย สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี
บ้านนี้ไม่เทรวม #แยกขยะจ่ายน้อยกว่า #แยก20ไม่แยก60
—– (จิรัฐคม…สปส. รายงาน)