ลาดพร้าวยิ้มแก้มปริ! เข็นนโยบายนำลิ่วเข้าเส้นชัย ชาวชุมชนหมู่บ้าน ต.รวมโชค พร้อมใจไม่เทรวม เล็งสลายแผงค้าถนนโชคชัย 4 ซอย 19-25 คุมเข้มฝุ่นจิ๋วหม้อไอน้ำ (Boiler) โรงงานผลิตยาฟาร์สเป็ค ปั้นสวนลาดปลาเค้า 39 ทะลุเป้า 12 สวน

(8 พ.ค. 68) เวลา 12.45 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตลาดพร้าว

“จากการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่องทุกวันในพื้นที่ทั้ง 50 สำนักงานเขต โดยในส่วนของเนื้องานที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ อาทิ การคัดแยกขยะ การจัดทำสวน 15 นาที การจัดเก็บภาษีรายได้ การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พบว่าสำนักงานเขตลาดพร้าว สามารถปฏิบัติงานตามนโยบายต่าง ๆ ได้ดีมาก ผลงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และยังมีผลงานที่ทำได้ดีเกินกว่าเป้าหมายอีกด้วย ผลงานที่มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจัดทำสวน 15 นาที ซึ่งแต่ละเขตฯ ต้องหาพื้นที่ว่าง เพื่อจัดทำสวนให้ได้ 10 แห่ง แต่เขตลาดพร้าวสามารถจัดทำสวน 15 นาทีได้ถึง 12 แห่ง การคัดแยกขยะ ซึ่งเขตฯ มีบ้านเรือนเข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะแล้วกว่า 50,000 หลัง จากทั้งหมด 60,000 กว่าหลัง นับว่าเขตฯ สามารถประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ สื่อความเข้าใจ ในการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ แก่ประชาชนตามชุมชนในพื้นที่ให้เห็นถึงความสำคัญในการคัดแยกขยะ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บขยะลดลง ส่วนการจัดเก็บภาษีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด เขตฯ ได้สำรวจและบันทึกลงในระบบครบทั้งหมดแล้ว 100% การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี อยู่ระหว่างดำเนินโครงการต่าง ๆ เป็นไปตามการจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้” รองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ ชุมชนหมู่บ้าน ต.รวมโชค ถนนโชคชัย 4 ซอย 54 แยก 21 พื้นที่ 340 ไร่ มีประชากร 3,537 คน บ้านเรือน 1,301 หลังคาเรือน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2567 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ นำเปลือกผลไม้มาทำน้ำหมักชีวภาพแจกจ่ายให้กับประชาชนในชุมชน โดยนำไปเทในท่อระบายน้ำเพื่อลดกลิ่นท่อระบายน้ำ และใช้รดต้นไม้ในชุมชนเป็นสารบำรุงดิน คัดแยกเศษอาหารส่งให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงสัตว์ บางส่วนนำไปทำปุ๋ยด้วยถังหมักรักษ์โลก (Green Cone) 2.ขยะรีไซเคิล คัดแยกขยะรีไซเคิลตามบ้าน นำไปขายเป็นรายได้ในครอบครัว หรือคัดแยกไว้ให้รถขยะที่เข้าเก็บในชุมชน นอกจากนี้ชุมชนฯ ร่วมกับ บริษัท เวสท์บาย เดลิเวอรี่ จำกัด จัดกิจกรรมขายขยะรีไซเคิลในชุมชน 3.ขยะทั่วไป คัดแยกขยะทั่วไปใส่ในถุงดำมัดปากถุงให้เรียบร้อย ใส่ถังขยะหรือตั้งวางไว้บริเวณหน้าบ้าน เขตฯ จัดเก็บสัปดาห์ละ 2 วัน 4.ขยะอันตราย ตั้งวางถังรองรับขยะอันตรายบริเวณที่ทำการชุมชน เขตฯ จัดเก็บ และนัดทิ้งนัดเก็บขยะอันตรายและขยะชิ้นใหญ่ ตามกำหนดการของเขตฯ สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 1,550 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 1,350 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 140 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 60 กิโลกรัม/วัน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ให้คำแนะนำในการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ เพื่อให้การจัดเก็บขยะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงชื่นชมประชาชนในหมู่บ้านที่ร่วมกันคัดแยกขยะนำเศษอาหารมาทำปุ๋ยในถังหมักรักษ์โลก และลงทะเบียนคัดแยกขยะไม่เทรวมกับทางกรุงเทพมหานคร ซึ่งปริมาณขยะที่คัดแยกจะมีผลต่ออัตราค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยฉบับใหม่

ติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า บริเวณถนนโชคชัย 4 ซอย 19-25 ตรงข้ามกองปราบฯ ผู้ค้า 39 ราย ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 15 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 317 ราย ดังนี้ 1.ถนนโยธินพัฒนา หน้าห้างสรรพสินค้าแม็คโคร ผู้ค้า 4 ราย 2.ถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 18-20 ผู้ค้า 6 ราย 3.ถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 9-13 ผู้ค้า 10 ราย 4.ถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 24 ผู้ค้า 4 ราย 5.ถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 25 ผู้ค้า 6 ราย 6.ถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 43 ผู้ค้า 3 ราย 7.ถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 60 ถึงแยกลาดพร้าววังหิน ผู้ค้า 21 ราย 8.ถนนสังคมสงเคราะห์ ซอยสังคมสงเคราะห์ 18 ผู้ค้า 2 ราย 9.ถนนโชคชัย 4 ซอยโชคชัย 4 ซอย 54 ผู้ค้า 66 ราย 10.ถนนสุคนธสวัสดิ์ สี่แยกถนนประเสริฐมนูกิจ ผู้ค้า 13 ราย 11.ถนนสุคนธสวัสดิ์ สี่แยกโรงไม้ ถึงซอยสุคนธสวัสดิ์ 24 ผู้ค้า 17 ราย 12.ถนนลาดปลาเค้า สี่แยกลาดพร้าววังหิน ผู้ค้า 32 ราย 13.ถนนมัยลาภ ปากซอยประเสริฐมนูกิจ 29 ผู้ค้า 16 ราย 14.ถนนเสนานิคม ซอยเสนานิคม 1 หมู่บ้านอมรพันธ์ 9 ผู้ค้า 78 ราย 15.ถนนโชคชัย 4 ซอย 19-25 ตรงข้ามกองปราบฯ ผู้ค้า 39 ราย (อยู่ระหว่างพิจารณาลงนามประกาศฯ) ส่วนพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน 1 จุด คือ หน้าตลาดบัวพัฒนา ผู้ค้า 30 ราย ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ยกเลิกจุดทำการค้า จำนวน 4 จุด ได้แก่ 1.ถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 29 ผู้ค้า 1 ราย 2.ถนนนาคนิวาส ซอยนาคนิวาส 49 ผู้ค้า 6 ราย 3.ถนนสุคนธสวัสดิ์ หน้าหมู่บ้านเฟรนชิฟ ผู้ค้า 15 ราย 4.ถนนสังคมสงเคราะห์ ซอยสังคมสงเคราะห์ 20 ผู้ค้า 1 ราย ต่อมาเขตฯ ได้ยกเลิกจุดทำการค้าอีก จำนวน 6 จุด ได้แก่ 1.ถนนสังคมสงเคราะห์ ซอยสังคมสงเคราะห์ 30 ผู้ค้า 6 ราย 2.ถนนโชคชัย 4 ซอยโชคชัย 4 ซอย 19-25 ตรงข้ามกองปราบฯ ผู้ค้า 8 ราย 3.ถนนโชคชัย 4 ซอยโชคชัย 4 ซอย 35 ผู้ค้า 5 ราย 4.ถนนโชคชัย 4 ซอยโชคชัย 4 ซอย 59 ผู้ค้า 6 ราย 5.ถนนนาคนิวาส ซอยนาคนิวาส 16-48 ผู้ค้า 18 ราย 6.ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ซอยประดิษฐ์มนูธรรม 25 ผู้ค้า 23 ราย ยกเลิกเดือนธันวาคม 2567 โดยผู้ค้าบางส่วนเช่าพื้นที่เอกชน บางส่วนผลักดันเข้าพื้นที่เอกชน 7-11 ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ จัดระเบียบพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พิจารณาจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย และผลการตรวจประเมินของสำนักงานเขตและสำนักเทศกิจ หาแนวทางจัดระเบียบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทำการค้าปี 67 เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่

ตรวจมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 บริษัท ฟาร์สเป็ค จำกัด ซอยนาคนิวาส 45 ซึ่งประกอบกิจการประเภทโม่บดผลิตยารักษาโรค ลักษณะของสถานประกอบการมีการใช้หม้อไอน้ำ (Boiler) โดยใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง มีกระบวนการเผาไหม้ที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ ซึ่งผู้ประกอบการให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 อย่างเคร่งครัด ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของหม้อไอน้ำตามแผนงานที่กำหนด ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 อย่างเนื่อง ตรวจวัดค่าควันดำรถบรรทุกขนส่งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามรอบที่กำหนด นอกจากนี้ เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อาทิ ประเภทสถานประกอบการ 3 แห่ง ประเภทแพลนท์ปูน 4 แห่ง ประเภทสถานที่ก่อสร้าง 13 แห่ง ประเภทตรวจวัดควันดำในสถานที่ต้นทาง 5 แห่ง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 กำชับสถานประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมค่าฝุ่น PM2.5 ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ป้องกันมลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

พัฒนาสวน 15 นาที สวนลาดปลา 39 ปากซอยลาดปลาเค้า 39 ติดถนนประเสริฐมนูกิจ ซึ่งเขตฯ ได้พัฒนาพื้นที่ว่าง จัดทำเป็นสวน 15 นาที เน้นการปรับพื้นที่ตามสภาพจริง จัดทำทางเดิน ตั้งวางม้านั่ง ปูหญ้า ปลูกไม้พุ่มไม้ประดับเพิ่มเติม ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ 1.สวนสุคนธสวัสดิ์ พื้นที่ 1 งาน 70 ตารางวา 2.สวนผลาสินธุ์ ริมคลองลาดพร้าว พื้นที่ 1 งาน 80 ตารางวา 3.สวนปลาเค้าภิรมย์ ซอยลาดปลาเค้า 24 พื้นที่ 1 งาน 40 ตารางวา 4.สวนสุขภาพอยู่เย็นเป็นสุข ถนนอยู่เย็น 2 พื้นที่ 10 ไร่ 3 งาน 32 ตารางวา 5.สวนหมู่บ้านเฟรนชิฟ Friendship Garden ซอยประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 2 พื้นที่ 30 ตารางวา 6.สวนลาดปลาเค้า 39 ปากซอยลาดปลาเค้า 39 ติดถนนประเสริฐมนูกิจ พื้นที่ 67 ตารางวา 7.สวนเฟรนชิฟ 2 ซอยประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 2 พื้นที่ 36 ตารางวา 8.สวนเฟรนชิฟ 3 ซอยประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 2 พื้นที่ 31 ตารางวา 9.สวนเฟรนชิฟ 4 ซอยประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 2 พื้นที่ 31 ตารางวา 10.สวนหมู่บ้านธันยกานต์ ถนนมัยลาภ พื้นที่ 1 งาน 20 ตารางวา อยู่ระหว่างดำเนินการ 11.สวนหมู่บ้านอมรพันธ์ 9 ซอยเสนานิคม 1 พื้นที่ 20 ตารางวา อยู่ระหว่างดำเนินการ นอกจากนี้ เขตฯ จะจัดทำสวนเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง คือสวนริมทางจักรยาน (ตลาดหัวมุม) เมื่อแล้วเสร็จจะมีสวน 15 นาที รวมทั้งหมด 12 แห่ง ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่จัดทำสวน 15 นาที ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเขตฯ ได้จัดทำสวนได้ครบทั้ง 10 แห่ง แต่ยังมีพื้นที่ว่างสามารถจัดทำสวนเพิ่มเติมได้อีก 2 แห่ง โดยออกแบบภายในสวนให้ตรงตามความต้องการของประชาชนในชุมชน เพื่อให้การจัดทำสวน 15 นาที เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง

ในการนี้มี นายนภพล มนต์มนัสสิทธิ ผู้อำนวยการเขตลาดพร้าว พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตลาดพร้าว สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี#บ้านนี้ไม่เทรวม #แยกขยะจ่ายน้อยกว่า #แยก20ไม่แยก60

—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200