(30 เม.ย.68) เวลา 10.00 น. นางสาวกัลยา บุญแดง ผู้อำนวยการเขตคันนายาว มอบหมายนายสาธิต ยิ่งยวด ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเขต และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในฐานะผู้บริโภค การบังคับใช้กฎหมาย การแนะนำและตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค เนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย 2568 ณ บริเวณห้องฝ่ายทะเบียน ชั้น 1 สำนักงานเขตคันนายาว
ทั้งนี้ เนื่องจากการโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือบริการในปัจจุบันได้ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ ไม่รู้เท่าทัน ตกเป็นเหยื่อ ถูกเอาเปรียบได้รับความเดือนร้อน ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดหรือโปรโมชั่น ด้วยเหตุนี้เมื่อปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญ และความจำเป็น ของการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคขึ้น โดยมีการจัดองค์การของรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ต่อมาได้มีการพิจารณายกร่างกฎหมายว่าด้วย “การคุ้มครองผู้บริโภค” นำร่างขึ้นบังคมทูล และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 30 เมษายน 2522 และนับตั้งแต่นั้น ประเทศไทยได้ถือเอาวันที่ 30 เมษายนของทุกปี เป็น “วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย”
สำหรับสิทธิที่ได้รับจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มีดังนี้
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูก ต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพีย งพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
2 สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว