(10 เม.ย. 68) เวลา 12.45 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตบางคอแหลม ประกอบด้วย


พัฒนาสวน 15 นาที สวนทวีสุข เชิงสะพานพระราม 3 ซึ่งเขตฯ ได้พัฒนาพื้นที่ว่าง ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตั้งวางโต๊ะม้านั่ง ปลูกหญ้า ปลูกไม้พุ่มไม้ประดับเพิ่มเติม รวมถึงอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นอยู่เดิมภายในสวน ในโอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเขตฯ ร่วมกันตัดริบบิ้นเปิดสวนทวีสุขอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งปลูกต้นประดู่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างความร่มรื่นภายในสวนดังกล่าว ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที (สวนเดิม) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1.สวนหย่อมแท่นศิลาฤกษ์ ถนนพระรามที่ 3 พื้นที่ 2 งาน 50 ตารางวา 2.สวนหย่อมใต้สะพานพระราม 3 พื้นที่ 3 ไร่ 1 งาน 89 ตารางวา สวน 15 นาที (สวนใหม่) จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1.สวนมาตานุสรณ์ ถนนมไหสวรรย์ พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 45 ตารางวา อยู่ระหว่างดำเนินการ 2.สวนหย่อมริมถนนเจริญราษฎร์ 7 พื้นที่ 1 งาน 38 ตารางวา อยู่ระหว่างดำเนินการ 3.สวนหย่อมริมถนนเจริญราษฎร์ 10 พื้นที่ 1 งาน 13 ตารางวา อยู่ระหว่างดำเนินการ 4.สวนตลาดริมคลองเจริญกรุง 103 พื้นที่ 118.31 ตารางเมตร 5.สวนสุสานโปรเตสแตนต์ พื้นที่ 73 ตารางเมตร 6.สวนหย่อมทวีสุข เชิงสะพานพระราม 3 พื้นที่ 450 ตารางเมตร 7.สวนไทรภิรมย์ วัดไทร พื้นที่ 371.54 ตารางเมตร ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่จัดทำสวน 15 นาที ให้ครบ 10 แห่ง ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกแบบพื้นที่ภายในสวนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการภายในสวนอย่างแท้จริง
ติดตามการดำเนินงานจัดทำปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง บริเวณซอยเจริญกรุง 82 (ซอยมาตานุสรณ์) ซึ่งเขตฯ นำเศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้ ที่มีการจัดเก็บในพื้นที่ มาทำปุ๋ยหมักบำรุงดิน โดยใช้เศษใบไม้และดินเทเป็นชั้น ๆ สลับกันกับเศษอาหาร เปลือกผลไม้ ก่อนคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน และรดน้ำหมักจุลินทรีย์ที่เจือจางน้ำแล้ว หรือรดด้วยน้ำเปล่า เพื่อช่วยในการย่อยสลายเศษอาหารและใบไม้ สำหรับวิธีการนี้จะไม่มีการใช้มูลสัตว์ในการหมัก จึงไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเน่า ซึ่งคอกหมักปุ๋ยนี้ตั้งอยู่บริเวณใต้ทางลงสะพานพระราม 3 ซอยเจริญกรุง 82 (ซอยมาตานุสรณ์) เพื่อนำมาใช้ในการบำรุงดิน ปลูกต้นไม้สร้างสวน 15 นาที ทั้งนี้ เขตฯ ได้จัดทำบ่อปุ๋ยหมักใบไม้แล้ว จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.สวนใต้สะพานพระราม 3 2.ใต้ทางลงพระราม 3 ซอยเจริญกรุง 82 (ซอยมาตานุสรณ์) 3.ใต้สะพานข้ามแยกรัชดา
ติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า บริเวณตลาดคลองสวนหลวง ปากซอยเจริญกรุง 101 ถึงปากซอยเจริญกรุง 103 ผู้ค้า 73 ราย ซึ่งเป็นจุดที่เขตฯ จะยกเลิกพื้นที่ทำการค้า เนื่องจากจุดดังกล่าว ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทำการค้าปี 67 ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 3 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 114 ราย ได้แก่ 1.ตลาดบางคอแหลม ตั้งแต่ปากซอยเจริญกรุง 107 ถึงหน้ามัสยิดอัสสละฟรียะห์ ผู้ค้า 41 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-18.00 น. 2.ถนนเจริญกรุง 89-91 ตั้งแต่หน้าอาคารเลขที่ 89/1 ถึงปากซอยเจริญกรุง 91 ผู้ค้า 12 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 07.00-22.00 น. 3.ฝั่งบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด ถนนเจริญราษฎร์ ตั้งแต่เชิงสะพานข้ามคลองบางโคล่ ถึงประตูทางเข้าบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด ผู้ค้า 6 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-14.00 น. และฝั่งตรงข้ามบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด ถนนเจริญราษฎร์ ตั้งแต่เชิงสะพานข้ามคลองบางโคล่ ถึงอาคารเลขที่ 4236/197 ผู้ค้า 55 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-14.00 น. รวมผู้ค้า 61 ราย สำหรับพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 4 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 150 ราย ได้แก่ 1.ตลาดคลองสวนหลวง ตั้งแต่ปากซอยเจริญกรุง 101 ถึงปากซอยเจริญกรุง 103 ผู้ค้า 73 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-22.00 น. 2.ซอยเจริญกรุง 81-85 ตั้งแต่ปากซอยเจริญกรุง 81 ถึงปากซอยเจริญกรุง 85 ผู้ค้า 43 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-22.00 น. 3.หน้าศูนย์บริการสาธารณสุข 18 ตั้งแต่ซอยจันทน์ 43 แยก 33 ถึงหน้าบ้านเลขที่ 877 ผู้ค้า 14 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-18.00 น. 4.ซอยเจริญกรุง 99 ตั้งแต่ปากซอยเจริญกรุง 99 ถึงบริเวณข้างสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ผู้ค้า 20 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-22.00 น. ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 เพื่อความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่
ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ได้ยกเลิกพื้นที่ทำการค้าบริเวณฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ผู้ค้า 8 ราย และด้านหลังโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ผู้ค้า 16 ราย โดยย้ายผู้ค้าบริเวณฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ (ผู้ค้า 8 ราย เลิกทำการค้า 1 ราย) เข้ามาทำการค้าในจุดที่เขตฯ จัดทำเป็น Hawker Center บริเวณพื้นที่ว่างหน้าโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โดยจัดทำแผงค้าให้มีรูปแบบเดียวกัน เพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบในพื้นที่ ส่วนผู้ค้าด้านหลังโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ผู้ค้า 16 ราย ย้ายเข้า Hawker Center จำนวน 6 ราย เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 อีก 10 ราย ย้ายเข้าจุดที่เขตฯ จัดเตรียมไว้รองรับ รวมผู้ค้าที่อยู่ใน Hawker Center ทั้งหมด 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. จากนั้นเขตฯ ได้ปรับปรุงพื้นที่ด้านหลังโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ติดตั้งเสาจราจรสีส้ม ทาสีพื้นทางเดิน เพื่อความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาใช้บริการโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ในการเดินไปยังพื้นที่ลานจอดรถที่อยู่บริเวณด้านหลังโรงพยาบาล
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟรอนท์ พื้นที่ 44 ไร่ ร้านค้า 360 ร้าน เป็นร้านอาหาร 70 ร้าน เข้าร่วมโครงการไม่เทรวมแล้ว 70 ร้าน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2568 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะทั่วไป จัดตั้งถังรองรับขยะทั่วไปตามจุดที่กำหนด พนักงานทำความสะอาดเป็นผู้รวบรวมไว้ บริเวณห้องเก็บขยะทั่วไป เขตฯ จัดเก็บทุกวัน 2.ขยะรีไซเคิล มีพื้นที่สำหรับจัดเก็บขยะรีไซเคิลโดยเฉพาะ เพื่อเป็นสวัสดิการของพนักงานและบริหารจัดการภายในศูนย์การค้าฯ โดยบริหารจัดการเองเป็นประจำทุกอาทิตย์ 3.ขยะอินทรีย์ คัดแยกขยะเศษอาหาร ตั้งถังรองรับขยะเศษอาหารบริเวณจุดทิ้งขยะเศษอาหารในศูนย์การค้าฯ รวบรวมนำไปไว้ บริเวณห้องพักขยะเศษอาหาร โดยมีบริษัทเอกชนจัดเก็บทุกวัน 4.ขยะอันตราย มีพื้นที่สำหรับจัดเก็บขยะอันตรายโดยเฉพาะ จัดเก็บอย่างมิดชิด โดยบริหารจัดการเองปีละ 2 ครั้ง สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 128,800 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 120,778 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 2,781 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 5,240 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 1 กิโลกรัม/เดือน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้คำแนะนำในการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ เพื่อให้การคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บไปกำจัด ซึ่งปริมาณขยะที่คัดแยกจะมีผลต่ออัตราค่าธรรมเนียมในการจัดการมูลฝอยฉบับใหม่
ติดตามการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณซอยเจริญกรุง 72/1 คลองบ้านใหม่ ซึ่งเขตฯ ร่วมกับโรงแรมเดอะ สลิล ริเวอร์ไซด์ (The Salil Riverside) ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณซอยเจริญกรุง 72/1 สะพานคลองบ้านใหม่ รวมถึงอาคารทางเข้าซอยและบริเวณหน้าโรงแรม เพื่อให้มีความปลอดภัย สะอาด สวยงาม มีศิลปะ และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนปรับปรุงแบบเพิ่มเติม จากนั้นจะจัดหาผู้รับจ้างเข้ามาดำเนินการ คาดว่าการปรับปรุงภูมิทัศน์จะแล้วเสร็จประมาณเดือนธันวาคม 2568 ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองบ้านใหม่ พรัอมทั้งให้เขตฯ พิจารณาดำเนินการขุดลอกคลองไปในคราวเดียวกัน เพื่อเปิดทางน้ำไหล เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่
ในการนี้มี นางสาวอรชา มุ้ยเสมา ผู้อำนวยการเขตบางคอแหลม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตบางคอแหลม สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี
บ้านนี้ไม่เทรวม #แยกขยะจ่ายน้อยกว่า #แยก20ไม่แยก60
—– (จิรัฐคม…สปส. รายงาน)