ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568
: ตรวจวัดได้ 13.7-31.7 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าไม่เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.)
ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 19.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)

ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร
: ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศดี
ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น


12 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
1 เขตวังทองหลาง 32 มคก./ลบ.ม.
2 เขตหนองจอก 28.4 มคก./ลบ.ม.
3 เขตลาดกระบัง 27.1 มคก./ลบ.ม.
4 เขตบางนา 26.4 มคก./ลบ.ม.
5 เขตธนบุรี 26.3 มคก./ลบ.ม.
6 เขตประเวศ 26.1 มคก./ลบ.ม.
7 เขตราษฎร์บูรณะ 26.1 มคก./ลบ.ม.
8 เขตบึงกุ่ม 26 มคก./ลบ.ม.
9 เขตสาทร 25.2 มคก./ลบ.ม.
10 เขตบางพลัด 25.1 มคก./ลบ.ม.
11 เขตคลองสามวา 24.5 มคก./ลบ.ม.
12 เขตสวนหลวง 24.1 มคก./ลบ.ม.
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา
ในช่วงวันที่ 16-23 มี.ค.68 การระบายอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ “ดี” ขณะที่ชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะเปิดสลับปิด จึงคาดว่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง และคาดการณ์วันนี้ อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1 – 2 องศาเซลเซียส

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน และขอเชิญชวนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน โดยช่วยกันปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละออง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ “5 วิธีลดฝุ่น คุณก็ทําได้” 1. หมั่นทําความสะอาดบ้านด้วยวิธีเช็ดฝุ่น 2. งดเผาขยะ งดจุดธูป 3. ปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับมลพิษดักจับฝุ่นละออง 4. เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และ 5. ดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถ ตรวจสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีค่าควันดํา เกินมาตรฐาน

– แอปพลิเคชัน AirBKK
– FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
– FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
– FB: กรุงเทพมหานคร
– LINE ALERT


