นายชัยวัฒน์ รังษีภโนดร ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์ กทม. กล่าวกรณีมีข้อพิพาทระหว่างผู้ค้าในจุดพื้นที่ทำการค้าตลาดสำเพ็งว่า สำนักงานเขตฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีดังกล่าวพบว่า เกิดจากผู้เช่าอาคาร (เจ๊หมวย) เลขที่ 276 ภายในชุมชนเลื่อนฤทธิ์ซึ่งได้เช่าอาคารมาเป็นระยะเวลา 2 เดือน และผู้ค้าหาบเร่แผงลอย (เจ๊เหลียง) บริเวณด้านหลังอาคารเลื่อนฤทธิ์ โดยแผงค้าของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยตั้งอยู่บริเวณด้านหลังอาคารชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ซึ่งผู้เช่าอาคารอ้างว่าแผงค้าดังกล่าวกีดขวางทางเข้า-ออกอาคาร จึงขอเปิดทางเข้า-ออกโดยเสนอค่าตอบแทนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ภายหลังทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้จึงทำให้เกิดข้อพิพาทดังกล่าว เบื้องต้นสำนักงานเขตฯ ได้จัดระเบียบโดยให้ทั้งสองฝ่ายหยุดทำการค้าบริเวณพื้นที่พิพาทเป็นการชั่วคราว เพื่อระงับข้อพิพาทและให้ทั้งสองฝ่ายตกลงหาข้อยุติร่วมกัน ทั้งนี้ บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำการค้านอกจุดทำการค้า ปัจจุบันอยู่ระหว่างตรวจประเมินพื้นที่ทำการค้า เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดให้ยกเลิก หรือให้เป็นพื้นที่ทำการค้าต่อไป


สำหรับแนวทางการสร้างความเข้าใจพื้นที่ทำการค้า กทม. มีนโยบายให้สำรวจผู้ค้าบริเวณนอกจุดทำการค้าและสำนักงานเขตฯ ได้จัดระเบียบและกวดขันพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เช่น กำหนดขอบเขตพื้นที่ทำการค้า จัดประชุมร่วมกับผู้ค้าและสถานีตำรวจนครบาล (สน.) ในพื้นที่ ทำความเข้าใจหลักเกณฑ์ ระเบียบและแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องและตรงกัน ขอความร่วมมือผู้ค้าทำความสะอาดและจัดเก็บอุปกรณ์การทำการค้าทุกครั้งหลังเลิกทำการค้า รวมทั้งดำเนินการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รักษาความสะอาดและ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 อย่างเคร่งครัด เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และไม่ให้กีดขวางการสัญจรของประชาชน
นอกจากนี้ สำนักงานเขตฯ ยังได้จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจลงพื้นที่ตรวจสอบความเป็นระเบียบเรียบร้อยและกวดขันผู้ทำการค้าที่จำหน่ายสินค้าผิดกฎหมายทุกประเภททั้งในพื้นที่ตลาดสำเพ็งและพื้นที่อื่นในเขตสัมพันธวงศ์ โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าได้กำชับเน้นย้ำให้ตรวจตราและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและจริงจัง ในความรับผิดชอบของฝ่ายเทศกิจบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองฯ มีความผิดฐานตั้งวางสินค้าในที่สาธารณะ อัตราโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ปรับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัยฯ และมาตรการควบคุมหากตรวจพบภายในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการยึด อายัดของกลางและปรับเป็นพินัยอัตราสูงสุดทันที เพื่อไม่ให้กระทำผิดซ้ำ โดยเพิ่มรอบการตรวจทั้งพื้นที่ที่พบผู้กระทำความผิดและพื้นที่อื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ส่วนความผิดตามกฎหมายอื่น ๆ เจ้าหน้าที่เทศกิจจะประสานหน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อขยายผลคดี ดำเนินการทางกฎหมาย และให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษในทุกฐานความผิดตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองฯ มาตรา 39 ตั้งวางสินค้าในที่สาธารณะ อัตราโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย