(6 พ.ย. 67) เวลา 13.30 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตพญาไท
พัฒนาสวน 15 นาที บริเวณสวนรณชัย @ เขตพญาไท ถนนกำแพงเพชร 5 ซึ่งเขตฯ ได้ปรับปรุงพื้นที่ จัดทำทางเดิน ตั้งวางม้านั่ง ปลูกไม้พุ่มไม้ประดับ รวมถึงอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่เดิมภายในสวน ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที (สวนเดิม) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1.สวนพญาไทภิรมย์ พื้นที่ 10 ไร่ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2.สวนอารีสัมพันธ์ พื้นที่ 9 ไร่ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของกรมประชาสัมพันธ์ สวน 15 นาที (สวนใหม่) ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1.สวนร่วมมิตร @ เขตพญาไท พื้นที่ 2 งาน 35 ตารางวา กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2.สวนอินทามระ 14 @ เขตพญาไท พื้นที่ 1 งาน 3.สวนซอยหม่อมแผ้ว @ เขตพญาไท ถนนพระราม 6 ซอย 41 พื้นที่ 200 ตารางเมตร กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการประปานครหลวง 4.สวนวิภาวดี @ เขตพญาไท แยกถนนวิภาวดีรังสิตตัดถนนสุทธิสาร พื้นที่ 100 ตารางเมตร กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของกรมทางหลวง 5.สวนรณชัย @ เขตพญาไท ถนนกำแพงเพชร 5 พื้นที่ 200 ตารางเมตร สวน 15 นาที (สวนใหม่) อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1.สวนย่านพหลโยธิน @ เขตพญาไท ปากซอยร่วมมิตร ถนนพหลโยธิน พื้นที่ 1 งาน 12 ตารางวา กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2.สวนร่มสุข @ เขตพญาไท ถนนพระรามที่ 6 พื้นที่ 2 งาน 50 ตารางวา กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการประปานครหลวง 3.สวนหน้ากรมดุริยางค์ @ เขตพญาไท พื้นที่ 250 ตารางเมตร กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของกรมทางหลวง 4.สวนป้ายรถประจำทาง ตรงข้ามโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ถนนพระรามที่ 6 ขาเข้า พื้นที่ 2 งาน กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการประปานครหลวง 5.สวนหน้าโรงเรียนอนุบาลสามเสน ถนนพระรามที่ 6 ขาเข้า พื้นที่ 2 งาน กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการประปานครหลวง ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ สำรวจพื้นที่ว่างพิจารณาถึงความเหมาะสมเพื่อจัดทำสวน 15 นาทีให้ครบทั้ง 10 แห่ง ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในสวนให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในชุมชนที่เข้ามาใช้บริการ เพื่อให้การจัดทำสวน 15 นาที เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง
ตรวจการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณถนนสาลีรัฐวิภาค ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 3 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 165 ราย ได้แก่ 1.ถนนประดิพัทธ์ ฝั่งขาออก ผู้ค้า 67 ราย 2.ถนนประดิพัทธ์ ฝั่งขาเข้า ผู้ค้า 21 ราย 3.ซอยพหลโยธิน 7 ฝั่งซ้าย ผู้ค้า 77 ราย ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 4 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 119 ราย ได้แก่ 1.ถนนสาลีรัฐวิภาค ผู้ค้า 54 ราย 2.ซอยพหลโยธิน 9 ผู้ค้า 17 ราย 3.หน้าโรงแรม Grand Tower Inn ผู้ค้า 4 ราย 4.ถนนดินแดง แนวในอาคาร หน้า ป.ป.ส. ซึ่งเป็นจุดทบทวน ผู้ค้า 44 ราย นอกจากนี้ เขตฯ ได้ประสานความร่วมมือกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) จัดทำ Hawker Center บริเวณพื้นที่ชั้น 1 ของอาคาร รองรับผู้ค้าได้ 50 ราย และพื้นที่ด้านนอกอาคาร รองรับผู้ค้าได้ 25 ราย โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ต่อมาได้รับความร่วมมือจากธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ ให้ใช้พื้นที่ด้านหน้าอาคาร 10 จัดทำ Hawker Center รองรับผู้ค้าได้ 25 ราย และพื้นที่ด้านนอกอาคาร รองรับผู้ค้าได้ 25 ราย โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ จัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าในแต่ละจุดให้เรียบร้อย เตรียมพร้อมการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน พื้นที่ 86,000 ตารางเมตร ประชากร 3,700 คน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานและร้านค้าคัดแยกขยะเศษอาหาร ตั้งถังขยะรองรับขยะอินทรีย์ ขยะเศษอาหารทุกชั้น จะมีเอกชนมารับเศษอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงสัตว์ 2.ขยะรีไซเคิล ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานและร้านค้าคัดแยกขยะรีไซเคิล แม่บ้านจะเก็บรวบรวมขยะ เมื่อได้ปริมาณมากพอจะนำไปจำหน่าย เงินที่ได้จะนำมาเป็นสวัสดิการให้แก่แม่บ้าน 3.ขยะทั่วไป ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานและร้านค้าคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะ แม่บ้านจะเก็บรวบรวมไว้ที่จุดพักขยะ เขตฯ ดำเนินการจัดเก็บ 4.ขยะอันตราย มีพื้นที่สำหรับจัดเก็บขยะอันตรายโดยเฉพาะ เขตฯ ดำเนินการจัดเก็บ สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 574 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 400 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 54 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 120 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 10 กิโลกรัม/วัน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้คำแนะนำแก่ทางธนาคารในการคัดแยกประเภทต่าง ๆ เพื่อให้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมอบหมายให้เขตฯ ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในการคัดแยกขยะ ซึ่งปริมาณขยะที่คัดแยกจะมีผลต่ออัตราค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยฉบับใหม่ สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ตามร่างข้อบัญญัติฯ ค่าธรรมเนียม พ.ศ. … (ฉบับใหม่) ดังนี้ 1.ปริมาณขยะไม่เกิน 20 ลิตร/วัน หรือไม่เกิน 4 กิโลกรัม/วัน ไม่คัดแยกขยะ คิดค่าธรรมเนียมเต็ม 60 บาท/เดือน ถ้าคัดแยกขยะและลงทะเบียนตามเงื่อนไขที่กรุงเทพมหานครกำหนด คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 20 บาท/เดือน 2.ปริมาณขยะเกิน 20 ลิตร/วัน แต่ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือเกิน 4 กิโลกรัม/วัน แต่ไม่เกิน 200 กิโลกรัม/วัน คิดเป็นหน่วย หน่วยละ 20 ลิตร หรือ 4 กิโลกรัม อัตราค่าธรรมเนียม 120 บาท/หน่วย 3.ปริมาณขยะเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือเกิน 200 กิโลกรัม/วัน คิดเป็นหน่วย หน่วยละ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ 200 กิโลกรัม อัตราค่าธรรมเนียม 8,000 บาท/หน่วย
ในการนี้มี นายสายชล จังสมยา ผู้อำนวยการเขตพญาไท พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตพญาไท สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี
—– (จิรัฐคม…สปส. รายงาน)