Search
Close this search box.
จับตาฝุ่นจิ๋วแพลนท์ปูนนครหลวง ปั้นสวนหย่อมข้างโครงการวันอุดมสุข ยุบแผงค้าบางส่วนปากซอยสุขุมวิท 105 ลาซาล ชมต้นแบบคัดแยกขยะการไฟฟ้านครหลวงเขตบางนา

(5 พ.ย. 67) เวลา 13.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตบางนา ประกอบด้วย

ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 แพลนท์ปูนบริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด ซอยบางนา-ตราด 50 ถนนเทพรัตน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการให้ล้างทำความสะอาดล้อรถโม่ปูนทุกครั้งก่อนออกจากแพลนท์ปูน ตรวจสอบเครื่องพ่นละอองน้ำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตรวจสอบบ่อคายกากคอนกรีตและบ่อตกตะกอนไม่ให้มีตะกอนสะสม ตรวจวัดค่าควันดำรถโม่ปูนให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามรอบที่กำหนด รวมถึงปรับปรุงพื้นให้มีความลาดเอียงป้องกันไม่ให้น้ำปูนหรือเศษหินเศษทรายตกค้าง นอกจากนี้ เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ อาทิ ประเภทสถานประกอบการ/โรงงาน 5 แห่ง ประเภทแพลนท์ปูน 8 แห่ง ประเภทตรวจวัดควันดำสถานที่ต้นทาง 13 แห่ง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 กำชับสถานประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อลดมลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

พัฒนาสวน 15 นาที สวนหย่อมข้างโครงการวันอุดมสุข (สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข) ถนนสุขุมวิท ซึ่งเขตฯ ได้พัฒนาที่ว่างข้างโครงการฯ จัดวางม้านั่งซึ่งทำจากตอไม้ โรยกรวดก้อนกลม ปูหญ้าเทียม ปลูกไม้พุ่มไม้ประดับ เขตฯ มีสวน 15 นาที (สวนเดิม) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1.สวนบึงในฝัน สวรรค์บางนา พื้นที่ 11 ไร่ 3 งาน 76 ตารางวา 2.สวนหย่อมใต้ทางด่วนสี่แยกบางนา พื้นที่ 8 ไร่ 18 ตารางวา สวน 15 นาที (สวนใหม่) จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1.สวนหย่อมประติมากรรมสี่แยกบางนา (ควายเหล็ก) พื้นที่ 1,060 ตารางเมตร 2.สวนหย่อมคลองเคล็ด ซอยบางนา-ตราด 23 พื้นที่ 520 ตารางเมตร 3.สวนหย่อมโครงการดาดฟ้าลาซาล ถนนสุขุมวิท 105 พื้นที่ 640 ตารางเมตร 4.สวนหย่อมข้างโครงการวันอุดมสุข (สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข) พื้นที่ 128 ตารางเมตร 5.สวนหย่อมท่าน้ำสรรพาวุธ พื้นที่ 208 ตารางเมตร 6.สวนหย่อมลาซาลอเวนิว พื้นที่ 1,080 ตารางเมตร 7.สวนน้ำพุ พื้นที่ 550 ตารางเมตร ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่เพื่อจัดทำสวน 15 นาที ให้ครบ 10 แห่ง ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในสวนให้ตรงกับความต้องการของชุมชน โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างแท้จริง

ตรวจการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณปากซอยสุขุมวิท 105 (ลาซาล) ตั้งแต่สี่แยกศรีลาซาล ถึงท้ายซอยศรีนครินทร์ มีผู้ค้า 47 ราย ที่ผ่านมาเขตฯ ยกเลิกผู้ค้า 18 ราย โดยย้ายเข้าไปทำการค้าในพื้นที่เอกชนบริเวณใกล้เคียง คงเหลือผู้ค้า 29 ราย ที่ยังทำการค้าในจุดเดิม ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 4 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 68 ราย ได้แก่ 1.ปากซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) รวมผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-21.00 น. ผู้ค้า 3 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 14.00-21.00 น. ผู้ค้า 10 ราย 2.ปากซอยสุขุมวิท 66/1 ผู้ค้า 22 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-21.00 น. 3.หน้าเดอะเครน ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา รวมผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. ผู้ค้า 4 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 14.00-20.00 น. ผู้ค้า 9 ราย 4.หน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีบางนา รวมผู้ค้า 20 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. ผู้ค้า 15 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 14.00-21.00 น. ผู้ค้า 5 ราย ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ได้ยกเลิกจุดทำการค้า 2 จุด ได้แก่ 1.ปากซอยสุขุมวิท 103 (อุดมสุข) ผู้ค้า 124 ราย 2.ถนนสรรพาวุธ (หน้าองค์การแก้วเดิม) ผู้ค้า 22 ราย ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 5 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 104 ราย ได้แก่ 1.ถนนสรรพาวุธ ฝั่งซ้ายหน้าวัดบางนานอก ผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-12.00 น. 2.ถนนสรรพาวุธ ท่าน้ำวัดบางนานอก ผู้ค้า 12 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-16.00 น. 3.ซอยเพี้ยนพิน ผู้ค้า 26 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 16.00-20.00 น. 4.ซอยสุขุมวิท 105 (ลาซาล) ผู้ค้า 29 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-21.00 น. 5.ถนนเทพรัตน (ขาเข้า) ผู้ค้า 24 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ได้ยกเลิกจุดทำการค้า 4 จุด ได้แก่ 1.ถนนเทพรัตน (ขาออก) ผู้ค้า 6 ราย 2.ถนนสรรพาวุธ ซอย 2 (เลียบด่วน) ผู้ค้า 14 ราย 3.ซอยสุขุมวิท 103 (ซอยอุดมสุขเลขคี่) ผู้ค้า 49 ราย 4.ซอยสุขุมวิท 103 (ซอยอุดมสุขเลขคู่) ผู้ค้า 22 ราย รวมถึงยกเลิกผู้ค้าบางส่วนปากซอยสุขุมวิท 105 (ลาซาล) 18 ราย นอกจากนี้ เขตฯ จะยกเลิกจุดทำการค้าอีก 1 จุด คือถนนสรรพาวุธ ท่าน้ำวัดบางนานอก ผู้ค้า 12 ราย ที่ผ่านมา เขตฯ ได้จัดทำ Hawker Center บริเวณตลาดต้นไทร รองรับผู้ค้าได้ 50 ราย และจัดทำ Hawker Center บริเวณตลาดดวงพลอย รองรับผู้ค้าได้ 5 ราย จัดเก็บค่าเช่าในอัตราที่ตลาดกำหนด ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ดูแลความเป็นระเบียบพื้นที่ทำการค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 กวดขันผู้ค้าไม่ให้ตั้งวางแผงค้ารุกล้ำเข้ามาในทางเท้า ขอความร่วมมือให้จัดเก็บอุปกรณ์ทำการค้าและทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ อาคารการไฟฟ้านครหลวงเขตบางนา ถนนสรรพาวุธ พื้นที่ 17,128 ตารางเมตร มีบุคลากร 249 คน เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่ปี 2564 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล แม่บ้านจะนำขยะรีไซเคิล มายังจุดคัดแยกขยะ เพื่อตรวจนับ/บันทึกขยะ และคัดแยกขยะรีไซเคิลอีกครั้ง โดยใส่ขยะลงในถังตามป้ายกำกับประเภทขยะ ทุกสิ้นเดือนเจ้าหน้าที่จะขายขยะรีไซเคิลให้กับร้านรับซื้อของเก่า รายได้จากการขายขยะนำมาเป็นสวัสดิการให้กับแม่บ้าน 2.ขยะอินทรีย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทเศษอาหาร/ใบผัก (สิ่งที่ปลากินได้) แม่บ้านจะนำขยะเศษอาหารมาชั่งน้ำหนัก/บันทึกขยะ นำไปไว้จุดพักขยะเศษอาหารที่โรงอาหาร ทุกวันอาทิตย์ เขตฯ จะมาจัดเก็บเพื่อนำไปเลี้ยงปลา ประเภทเปลือกผลไม้ (สิ่งที่ปลากินไม่ได้) แม่บ้านจะนำขยะประเภทเปลือกผลไม้มาชั่งน้ำหนัก/บันทึกขยะ ใส่ถุงดำนำไปไว้จุดพักขยะเปียก ส่วนเศษกิ่งไม้/ใบไม้ แม่บ้านจะทอนให้มีขนาดเล็กนำใส่ถุงดำ นำไปไว้ยังจุดพักขยะเปียก ทุกวันอาทิตย์ เขตฯ จะมาจัดเก็บเพื่อนำไปกำจัด 3.ขยะอันตราย แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ประเภทหลอดไฟ/ถ่านไฟฉาย/กระป๋องสเปรย์ แม่บ้านจะตรวจนับ/บันทึกขยะ นำไปไว้จุดพักขยะอันตราย โดยทำการคัดแยกขยะใส่ลงในช่องตามป้ายกำกับประเภทขยะ ทุก 6 เดือน จะแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบรวบรวมขยะอันตรายของ กฟน. รับไปเก็บ เพื่อรอส่งต่อให้กับกทม. นำไปกำจัด ประเภทตลับหมึกพิมพ์ เจ้าหน้าที่จะนำตลับหมึกใส่ลงในกล่องบรรจุให้เรียบร้อย ทำการตรวจนับ/บันทึกขยะ จากนั้นนำไปไว้จุดพักตลับหมึก ทุก 6 เดือน จะแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบรวบรวมขยะอันตรายของ กฟน. รับไปเก็บ เพื่อรอส่งต่อให้กับกทม. นำไปกำจัด ประเภทขวด/แกลลอน น้ำยาทำความสะอาด แม่บ้านนำไปส่งคืนบริษัทนายจ้าง 4.ขยะทั่วไป แม่บ้านจะนำขยะทั่วไปใส่ถุงดำ มาชั่งน้ำหนัก/บันทึกขยะ จากนั้นนำไปไว้จุดพักขยะทั่วไป ทุกวันอาทิตย์ เขตฯ จะมาจัดเก็บเพื่อนำไปกำจัด ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เยี่ยมชมจุดคัดแยกขยะเศษอาหาร บริเวณห้องอาหาร ชั้น 3 จุดคัดแยกขยะติดเชื้อบริเวณคลินิกเวชกรรมการไฟฟ้า ชั้น 1 จุดคัดแยกขยะรีไซเคิล จุดพักขยะเปียกเพื่อรอการจัดเก็บ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการคัดแยกประเภทต่าง ๆ เพื่อให้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปริมาณขยะที่คัดแยกจะมีผลต่ออัตราค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยฉบับใหม่

ในการนี้มี นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ นางประภัสสร จำนงบุตร ผู้อำนวยการเขตบางนา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตบางนา สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี

—–  (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200