Search
Close this search box.
ธนบุรีจัดระเบียบผู้ค้าสี่แยกบ้านแขกพร้อมปรับปรุงทางเท้าถนนอิสรภาพ ชมคัดแยกขยะโรงเรียนวัดราชคฤห์ ปั้นสวน 15 นาทีใต้สะพานข้ามแยกตากสิน-สาทร ถนนราชพฤกษ์ เฟส 2 คุมเข้มค่าฝุ่น PM2.5 ไซต์ก่อสร้างโรงพยาบาลธีรพร

(9 ส.ค.67) เวลา 13.30 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตธนบุรี ประกอบด้วย

ตรวจการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน บริเวณสี่แยกบ้านแขก เขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 4 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 147 ราย ได้แก่ 1.ตลาดสำเหร่ทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งขาเข้า ผู้ค้า 60 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-23.00 น. ฝั่งขาออก ผู้ค้า 14 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-23.00 น. รวมผู้ค้า 74 ราย ปัจจุบันเหลือผู้ค้า 16 ราย ทำการค้าได้ถึงวันที่ 31 ธ.ค.67 มีผู้ค้า 59 ราย ได้รับเงินค่าทดแทนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ กำหนดยกเลิกทำการค้าปี 2568 2.ตลาดดาวคะนองทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งขาเข้า ผู้ค้า 40 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-22.00 น. ฝั่งขาออก ผู้ค้า 26 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-23.00 น. รวมผู้ค้า 66 ราย 3.สี่แยกบ้านแขก ผู้ค้า 33 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 10.00-21.00 น. 4.ถนนรัชดาภิเษก (ไทยช่วยไทย) ผู้ค้า 32 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-22.00 น. ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 4 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 59 ราย ได้แก่ 1.ภายในซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 19-21 ผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-17.00 น. 2.ถนนรัชดาภิเษก หน้าคอนโด Whizdom ผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 12.00-24.00 น. 3.หน้าสถานีรถไฟตลาดพลู ซอยเทอดไทย 25 ผู้ค้า 15 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 07.00-24.00 น. 4.ซอยอิสรภาพ 13-15 ผู้ค้า 18 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 15.00-24.00 น. ซึ่งในปี 2567 เขตฯ มีเป้าหมายยกเลิกจุดทำการค้า จำนวน 2 จุด ได้แก่ 1.หน้าสถานีรถไฟตลาดพลู ซอยเทอดไทย 25 ผู้ค้า 15 ราย 2.ภายในซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 19-21 ผู้ค้า 13 ราย กำหนดยกเลิกวันที่ 30 ก.ย.67 ซึ่งจากการลงพื้นที่เมื่อวันที่ 17 พ.ค.67 ที่ผ่านมา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ สำรวจจำนวนผู้ค้าบริเวณสี่แขกบ้านแขก ให้ยอดตรงกับจำนวนผู้ค้าที่ยังทำการค้าอยู่จริง นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครมีโครงการปรับปรุงทางเท้าถนนอิสรภาพ ช่วงจากถนนประชาธิปกจนถึงถนนสุทธาวาส ครอบคลุมพื้นที่เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ และเขตบางกอกน้อย ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2567 สิ้นสุดวันที่ 14 มกราคม 2568 ซึ่งพื้นที่เขตธนบุรีมีจุดทำการค้าบริเวณสี่แยกบ้านแขก จึงมีความจำเป็นต้องให้ผู้ค้าหยุดทำการค้าชั่วคราว เพื่อใช้พื้นที่ในการปรับปรุงทางเท้าจนกว่าจะแล้วเสร็จ

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ โรงเรียนวัดราชคฤห์ วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ คัดแยกเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน นำมาปุ๋ยอินทรีย์และทำน้ำหมักชีวภาพ 2.ขยะรีไซเคิล ตั้งจุดคัดแยกขยะรีไซเคิล เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ และประดิษฐ์สิ่งของประกอบการการเรียนการสอน 3.ขยะทั่วไป ขยะที่เหลือจากการคัดแยก ไม่สามารถรีไซเคิลได้ จะรวบรวมเก็บไว้ในจุดที่กำหนด รอเขตฯ ดำเนินการจัดเก็บ 4.ขยะอันตราย รวบรวมแยกไว้ แจ้งเขตฯ ดำเนินการจัดเก็บ

พัฒนาสวน 15 นาที บริเวณพื้นที่ว่างใต้สะพานข้ามแยกตากสิน-สาทร ถนนราชพฤกษ์ เฟส 2 เขตฯ มีสวน 15 นาที ได้แก่ 1.สวนภายในสำนักงานเขตธนบุรี พื้นที่ 100 ตารางเมตร (วัดเวฬุชิณ) 2.พื้นที่ว่างใต้สะพานข้ามแยกตากสิน-สาทร ถนนราชพฤกษ์ เฟส 1 พื้นที่ 1,600 ตารางเมตร กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของกรมทางหลวงชนบท ที่ผ่านมาเขตฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์จัดทำเป็นสวน 15 นาที สวนสาธารณะแห่งใหม่ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ภายในเวลา 15 นาที หรือระยะทาง 800 เมตร โดยจัดทำทางเดิน-วิ่งออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้เพิ่มเติม ได้แก่ ต้นประดู่บ้าน ต้นทองอุไร ต้นไทรเกาหลี ต้นเฟื่องฟ้า ต้นไทรทอง ต้นชาฮกเกี้ยน เพื่อเป็นสถานที่ออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ เสร็จเรียบร้อยแล้ว 3.สวนข้างสถานี BTS วุฒากาศ พื้นที่ 800 ตารางเมตร กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว 4.สวนร่วมแรงร่วมใจ พื้นที่ว่างใต้สะพานข้ามแยกตากสิน-สาทร ถนนราชพฤกษ์ เฟส 2 ขนาดพื้นที่ 2,400 ตารางเมตร กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของกรมทางหลวงชนบท อยู่ระหว่างทำลู่วิ่งและทางเดินภายในสวน โดยศูนย์ก่อสร้างฯ 5 เป็นผู้ดำเนินการ และมีแผนการดำเนินงาน ดังนี้ ปรับพื้นดินและปูกระเบื้องนั่งเล่นใต้สะพาน และรอบทางระบายน้ำ ปรับพื้นลงหินคลุก ลงกระเบื้องปูพื้นเพิ่มเติมอิฐตัวหนอนที่ได้รับจากวัสดุเหลือใช้จากสำนักการโยธา ปรับพื้นลู่วิ่งทางเดินปูแอสฟัลต์ ปลูกต้นไม้จัดสวนหลังจากทำลู่วิ่งทางเดินแล้วเสร็จ โดยเปิดให้ประชาชนใช้บริการแล้ว

ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลธีรพร ซึ่งเป็นการก่อสร้างอาคารความสูง 5 ชั้น ชั้นใต้ดิน 1 ชั้น จำนวน 1 อาคาร ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งผู้ประกอบการได้จัดทำบ่อล้างทำความสะอาดล้อรถบรรทุกและรถโม่ปูนด้านหน้าทางเข้า-ออกโครงการ ติดตั้งเครื่องวัดค่าฝุ่น PM2.5 และจอแสดงผลด้านหน้าโครงการ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการเปิดเครื่องฉีดพ่นละอองน้ำในช่วงการปฏิบัติงานตลอดเวลา ตรวจวัดค่าควันดำรถบรรทุกอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งมอบหมายให้เขตฯ จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ ควบคุมไม่ให้ปล่อยมลพิษในอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน

ในการนี้มี ว่าที่ร้อยตรีเดชาธร แสงอำนาจ ผู้อำนวยการเขตธนบุรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตธนบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี
—–  (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200