(4 มี.ค.67) เวลา 13.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตหนองจอก ประกอบด้วย
ติดตามการพัฒนาพื้นที่สวนสาธารณะเลียบวารี 21 เขตฯ มีสวน 15 นาที (สวนเดิม) คือสวนไม้มงคล 76 จังหวัด พื้นที่ 12 ไร่ สวน 15 นาที (สวนใหม่) ได้แก่ 1.สวนโรงเรียนมัธยมวัดพระยาปลา พื้นที่ 8 ไร่ ดำเนินการแล้วเสร็จ 2.สวนสาธารณะเลียบวารี 21 พื้นที่ 7 ไร่ โดยใช้พื้นที่ 5 ไร่ จัดทำสวนหย่อมสำหรับเดินวิ่งออกกำลังกาย ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ แปลงปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ถนนสำหรับสัญจรในพื้นที่สวน คาดว่าจะเปิดใช้งานได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ ส่วนพื้นที่อีก 2 ไร่ อยู่ระหว่างพัฒนาพื้นที่ใช้สอยต่อไป 3.สวนโคกบ่อยาวบึงแตงโม พื้นที่ 2 ไร่ 1 งาน 49 ตารางวา จัดทำเป็นสวนหย่อมสำหรับออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ ตัดแต่งต้นไม้ ขุดปรับพื้นที่ให้เป็นบ่อน้ำ จัดทำทางเดินสำหรับเดินวิ่งออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้และปูสนามหญ้า ขณะนี้อยู่ระหว่างปลูกสร้างอาคารและจัดสวน 4.สวนไผ่คลองแขก พื้นที่ 5 ไร่ อยู่ระหว่างปรับพื้นที่ จัดสวน ปลูกสร้างศาลา จัดทำทางเดิน ห้องน้ำ ลานจอดรถ 5.สวนบึงน้ำใส พื้นที่ 7 ไร่ อยู่ระหว่างปรับปรุงพื้นที่และออกแบบสวน 6.สวนเลียบคลองลำไทร พื้นที่ 1 ไร่ อยู่ระหว่างปรับปรุงพื้นที่และออกแบบสวน 7.สวนฉลองกรุง พื้นที่ 4 ไร่ อยู่ระหว่างปรับปรุงพื้นที่และออกแบบสวน
สำรวจพื้นที่ Hawker Center ณ ตลาดริมสวนสาธารณะหนองจอก ถนนเลียบวารี เขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 2 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 52 ราย ดังนี้ 1.ถนนเลียบวารี ตั้งแต่แยกถนนเลียบวารี ถึงซอยเลียบวารี 85 ผู้ค้า 26 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-09.00 น. จำนวน 7 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-20.00 น. จำนวน 19 ราย และ 2.ซอยสุวินทวงศ์ 64 ผู้ค้า 26 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-09.00 น. จำนวน 18 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-20.00 น. จำนวน 8 ราย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผันอย่างต่อเนื่อง กวดขันไม่ให้มีผู้ค้าเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ ในส่วนของผู้ค้าบริเวณซอยเลียบวารี 25 ที่ผ่านมาเขตฯ ได้ประชุมสร้างความเข้าใจกับผู้ค้าในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการทำการค้าบนถนนและพื้นที่สาธารณะ การดูแลรักษาความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน โดยเขตฯ จะทบทวนความเหมาะสมภายในระยะเวลา 3 เดือน หากผู้ค้าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด เขตฯ จะทำการยกเลิกพื้นที่ทำการค้าในบริเวณดังกล่าว โดยให้ย้ายเข้าไปทำการค้าในจุดที่เขตฯ จัดทำเป็น Hawker Center ตลาดริมสวนสาธารณะหนองจอก เพื่อความเป็นระเบียบในพื้นที่ต่อไป
ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 แพลนท์ปูนบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) ถนนมิตรไมตรี ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการให้ตรวจสอบเครื่องพ่นละอองน้ำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเปิดตลอดเวลาการทำงาน ปรับปรุงบ่อคายกากและบ่อตกตะกอน โดยมีความลึกประมาณ 2.50 เมตร ไม่ปล่อยให้มีตะกอนปูนเศษหินเศษทรายล้นเต็มบ่อพัก ตรวจสอบควันดำรถบรรทุกรถโม่ปูนตามรอบที่กำหนด พร้อมทั้งมอบหมายให้เขตฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยกำชับให้สถานประกอบการในพื้นที่ปฏิบัติตามแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างเคร่งครัด เน้นย้ำผู้ประกอบการปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อลดมลพิษทางอากาศ ร่วมกันลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา ถนนสังฆสันติสุข วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ คัดแยกนำขยะเศษอาหารไปทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยหมักชีวภาพในถังหมักรักษ์โลก อีกส่วนหนึ่งนำมาเป็นอาหารเลี้ยงไส้เดือนเพื่อนำมูลไส้เดือนมาเป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ นอกจากนี้จะมีผู้ปกครองมารับเศษอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงปลา 2.ขยะรีไซเคิล คัดแยกขยะรีไซเคิล ประเภทกล่องนม ขวดพลาสติก กล่องกระดาษ นำไปประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ 3.ขยะทั่วไป คัดแยกขยะทั่วไปโดยนำไปทิ้งในถังขยะที่ตั้งวางไว้ตามจุดที่กำหนด เขตฯ ดำเนินการจัดเก็บ 4.ขยะอันตราย รวบรวมนำไปทิ้งในถังขยะ 0.2 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 1.4 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 1.3 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 0.1 กิโลกรัม/วัน ขยะติดเชื้อหลังคัดแยก 0.1 กิโลกรัม/วัน
ในการนี้มี นายไพโรจน์ จันทรอด ผู้อำนวยการเขตหนองจอก พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตหนองจอก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
#เศรษฐกิจดี #สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี
—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)