(1 ก.พ.67) เวลา 09.30 น. : รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมพิธีเปิดงาน “ตลาดนัดนวัตกรรมเมือง 3 มุมเมือง“ INNOVATIVE CITY FOR ALL โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประธานเปิดงาน พร้อมด้วย รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภาคีเครือข่าย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธี ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน
รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรวมทั้งคนที่ทําวิจัยรอบกรุงเทพมหานครมีโจทย์วิจัยกันอยู่ มีความสนใจที่จะช่วยพื้นที่แก้ปัญหาอยู่แล้ว ทางกทม. เองซึ่งปกติอาจจะอยู่ห่างนักวิจัยไม่ได้บอกว่าอยากได้อะไร วันนี้ กทม.เริ่มทํา City Data เริ่มที่จะพยายามเข้าใจ segment มุมที่หนึ่ง คือเราต้องเข้าใจ segment คน ก่อนว่า คนต้องการอะไร มีปัญหาอะไร มุมที่สอง ปัญหานั้นเป็นปัญหาจริงหรือเปล่า กทม.เป็นพื้นที่ใหญ่ มีความซับซ้อนสูงเพราะฉะนั้นการได้นักวิจัยซึ่งมีมุมมองทางวิชาการมีตาอีกแบบหนึ่งในการที่จะไป access ปัญหาให้เราและไม่ใช่ตอบคําถามเดิมที่ถูกขึ้นเรื่อยๆ เท่านั้น นักวิจัยเหล่านี้มีความสามารถในการตั้งคําถามใหม่ๆ หาคําตอบใหม่ๆ หาทางผิดทางถูกให้เราได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับ Traffy Fondue เป็นนวัตกรรมของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) มานานแล้วซึ่งก็ใช้ได้ดีกทม. เอามาใช้อย่างจริงจัง เราเอาเข้ามาปรับวิธีการทํางานของสํานักงานเขตของกรุงเทพมหานครทั้งหมด ทําให้พลังของ Traffy Fondue แต่เดิม สเกลอัพก็คือเพิ่มเติมขึ้นสามารถทําให้ประชาชนบอกได้เลยหน้าบ้านมีปัญหาอะไร สามารถตามงานได้เองในเวลาอันสั้น
ในเรื่องของสุขภาพ เทคโนโลยีเป็นการเชื่อมการทํางานของแพทย์ชุมชน คลินิกอบอุ่น ร้านขายยา ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลในเครือข่ายรัฐ และ user ก็คือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย มีคณะแพทย์ทํางานร่วมกัน มีการศึกษาร่วมกัน มีการดําเนินการในงานแง่ของการแลกเปลี่ยน data ซึ่งกันและกันซึ่งของเหล่านี้ต้องอาศัยนวัตกรรม อาศัยเทคโนโลยี
อีกเรื่องเป็นเรื่องการทํา City Data ในแง่ความเสี่ยง กทม. ได้จัดทำ risk map ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยตรงไหนได้บ้าง พื้นที่ใดเป็นพื้นที่ที่เปราะบาง ซึ่งอยู่ในระหว่างการที่เรา add data เข้าไปแต่การทําชุดข้อมูล แบบนี้ต้องอาศัยคนที่เป็นนักวิจัยที่มีเวลาจะลงไป access data ในเชิงพื้นที่ให้เราว่าทํายังไงในแต่ละพื้นที่จะมีมาตรการความปลอดภัย
ภายในงานจะเห็นผลิตภัณฑ์ Bangkok brand ที่เกี่ยวกับการเกษตร ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับผ้า คุณลักษณะเชิงอัตลักษณ์ เรามีความต้องการพัฒนาอย่างยิ่งในการทําให้แบรนด์เหล่านี้เป็นแบรนด์ที่แบบมีคุณค่าขึ้น มีช่องทางการจําหน่ายมากขึ้น ก็จะมีงานวิจัยเหล่านี้มาช่วยในการดูเรื่องอัตลักษณ์
เรื่องสุดท้ายคือความสําคัญของการศึกษาและบทบาทของข้าราชการในการพัฒนาเมือง เราเน้นเรื่องการศึกษาด้วยเข้าใจว่า learning city จะเจาะจงในเรื่องของการทําให้น้องๆ มีความสุขในการเรียน เด็กควรมีความสุขในการเรียน ตั้งแต่รู้ว่าปลายทางเค้าจะเป็นอย่างไร ฉะนั้นก็จะได้ช่วยเหลือครูในระบบการศึกษาได้ด้วย เรียนอย่างไรให้สมาร์ท เรียนอย่างไรไม่ทําให้รู้สึกว่าเพิ่มความไม่เท่าเทียม จากความสมาร์ทเกินไป อะไรที่เป็นเงื่อนไขที่รุมเร้าการพัฒนาการศึกษาอยู่ก็จะได้คุยกัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้ความสำคัญกับการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ กระทรวง อว.จึงร่วมกับกรุงเทพมหานคร ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ อว. ไปใช้สนับสนุนการทำงานของ กทม. เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่ส่งผลให้เมืองประสบกับปัญหาทั้งด้านสิ่งแวดล้อมภัยธรรมชาติและมลภาวะที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัย ภาวะความยากจน ภาวะความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ภาวะความปลอดภัย ภาวะผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ภาวะความเหลื่อมล้ำ ด้านการบริการสาธารณสุข และการป้องกัน
อย่างไรก็ดีการแก้ไขปัญหาในหลาย ๆมิติดังกล่าว จำเป็นต้องมีงานวิจัยและนวัตกรรมเข้าไปช่วยสนับสนุน ซึ่งกระทรวง
อว. มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้จำนวนมาก เช่น Traffy Fondue แพลตฟอร์มรับเรื่องและบริหารจัดการปัญหาเมืองที่ประชาชนทุกคนสามารถแจ้งปัญหาที่เจอ เพื่อให้หน่วยงานช่วยแก้ปัญหา เช่น ปัญหาความสะอาด ไฟฟ้า ประปา ทางเท้า
สำหรับงานตลาดนัดนวัตกรรม 3 มุมเมือง กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 ก.พ.67 กระทรวง อว. ได้นำผลงานนวัตกรรมจำนวนมากมาแสดง เช่น 1. ด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติมีเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ วัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และ PM 10 แบบเซ็นเชอร์ มีอุปกรณ์ตรวจวัดการสั่นสะเทือนโครงสร้างอาคารและระบบแจ้งเตือนภัย เพื่อทำให้ชาวกรุงเทพฯ อยู่อาศัยอย่างปลอดภัยขึ้น 2. ด้านสุขภาพ มีย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี เป็นพื้นที่ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้านการแพทย์และมีการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลเพื่อการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยทำได้รวดเร็วและสามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ได้ดีขึ้น 3. ด้านสังคม มีแอปพลิเคชันบริการรถแท็กซี่สำหรับผู้สูงอายุ มีต้นแบบเผยแพร่วัฒนธรรมไทย – จีนจากมุมมองของคน 3 ช่วงวัย เพื่อให้เมืองดูแลกลุ่มเปราะบางได้ครอบคลุม 4. ด้านเศรษฐกิจ มีแอปพลิเคชันระบบบัญชีอัจฉริยะ มีแพลตฟอร์มข้อมูลชี้เป้าครัวเรือนยากจน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาแบบพุ่งเป้าเบ็ดเสร็จ 5. ด้านการศึกษาและการเรียนรู้ มีแอปพลิเคชันคัดกรองเด็กที่มีความลำบากในการอ่าน เพื่อเพิ่มสัมฤทธิผลทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการดำเนินงานต่อไป
——-