Search
Close this search box.
จับตาฝุ่น PM2.5 ไซต์ก่อสร้างโรงพยาบาลตากสิน ยกต้นแบบไอคอนสยามคัดแยกขยะจากต้นทาง วางมาตรการเข้มจัดระเบียบผู้ค้าถนนเจริญนคร ติดตามระบบ BMA-TAX จัดเก็บรายได้ คัดแยกขยะเขตคลองสาน

 

(16 พ.ย.66) เวลา 13.30 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตคลองสาน ประกอบด้วย

 

 

ตรวจมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยภายนอก โรงพยาบาลตากสิน ถนนสมเด็จเจ้าพระยา เป็นการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ ความสูง 20 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น จำนวน 1 อาคาร ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักการโยธา ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นอกจากนี้ เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ อาทิ ประเภทสถานประกอบการ/โรงงาน ประเภทสถานที่ก่อสร้างขนาดใหญ่ ประเภทอู่พ่นสียานยนต์ ประเภทการตรวจวัดควันดำ พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 ควบคุมไม่ให้ปล่อยมลพิษในอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ถนนเจริญนคร เข้าร่วมโครงการการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2566 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ มีจุดทิ้งขยะอินทรีย์ ซึ่งเป็นห้องแยกเป็นสัดส่วน มีการคัดแยกเศษอาหารจากผู้ประกอบการ โดยนำมาใส่ถังแล้วนำไปเก็บที่ห้องเก็บเศษอาหาร ส่งให้เกษตรกรที่เข้ามาเก็บวันทุกวัน เพื่อนำไปเลี้ยงสัตว์ หรือทำปุ๋ยหมักเศษอาหาร 2.ขยะรีไซเคิล มีจุดทิ้งขยะรีไซเคิล มีการคัดแยกขวดพลาสติก กระดาษ และกล่อง โดยรวบรวมส่งให้โครงการต่างๆ และบางส่วนจำหน่ายให้ผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิล 3.ขยะทั่วไป ขยะที่ไม่สามารถคัดแยกได้ จะนำไปทิ้งในจุดที่กำหนด เขตฯ จัดเก็บทุกวัน 4.ขยะอันตราย กำหนดจุดทิ้งขยะอันตราย เขตฯ จัดเก็บเดือนละ 2 ครั้ง สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 14,000 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 11,430 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 1,270 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 1,300 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 10 กิโลกรัม/วัน

ตรวจการจัดระเบียบผู้ค้าในพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน บริเวณถนนเจริญนคร ฝั่งขาเข้า ตั้งแต่ซอยเจริญนคร 2-4  เขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 10 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 457 ราย ดังนี้ 1.ถนนท่าดินแดง ฝั่งขาออก ตั้งแต่หน้าธนาคารกรุงไทย ถึงศาลเจ้าซำไนเก็ง ผู้ค้า 91 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-17.00 น. และ 17.00-24.00 น. 2.ถนนลาดหญ้า ฝั่งขาออก ตั้งแต่สะพานลอยคนข้ามโค้งวงเวียนใหญ่ ถึงหน้าองค์การโทรศัพท์ ผู้ค้า 45 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-19.00 น. และ 19.00-02.00 น. 3.ถนนลาดหญ้า ฝั่งขาเข้า ตั้งแต่สะพานลอยคนข้ามโค้งวงเวียนใหญ่ ถึงหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ ผู้ค้า 30 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-19.00 น. และ 19.00-02.00 น. 4.ถนนท่าดินแดง ฝั่งขาออก ตั้งแต่ท่าดินแดงซอย 1-5 ผู้ค้า 21 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-24.00 น. 5.ถนนท่าดินแดง ฝั่งขาเข้า ตั้งแต่หน้าอาคารเลขที่ 200 ถึงปากซอยท่าดินแดง 16 ผู้ค้า 34 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-17.00 น. และ 17.00-24.00 น. 6.ถนนเจริญนคร ฝั่งขาเข้า ตั้งแต่ซอยเจริญนคร 2-4 ผู้ค้า 1 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-24.00 น. 7.ถนนเจริญนคร ฝั่งขาเข้า บริเวณหน้าวัดสุวรรณ ซอยเจริญนคร 8-12 ผู้ค้า 2 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 07.00-20.00 น. 8.ถนนเจริญนคร ฝั่งขาออก บริเวณหน้าวัดเศวตฉัตร สะพานเจริญนคร 4 ถึงซอยเจริญนคร 29/1 ผู้ค้า 43 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-09.00 น. 9.ถนนเจริญนครฝั่งขาออก ตั้งแต่ซอยเจริญนคร 53 ถึงทางเข้าอาคารตรีทศ ผู้ค้า 17 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 07.00-21.00 น. และ 10.ฝั่งขาออก จากหัวมุมถนนเจริญรัถตัดถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถึงหน้าบ้านเลขที่ 926 ผู้ค้า 54 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 04.00-08.00 น. ฝั่งขาเข้า จากหัวถนนเจริญรัถตัดถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถึงหน้าบ้านเลขที่ 228 ผู้ค้า 119 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-20.00 น. ซึ่งในปี 2567 เขตฯ จะยกเลิกจุดทำการค้า จำนวน 2 จุด ได้แก่ 1.ถนนเจริญนคร ฝั่งขาเข้า ตั้งแต่ซอยเจริญนคร 2-4 ผู้ค้า 1 ราย 2.ถนนเจริญนคร ฝั่งขาเข้า บริเวณหน้าวัดสุวรรณ ซอยเจริญนคร 8-12 ผู้ค้า 2 ราย

ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 14 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 201 ราย ดังนี้ 1.บริเวณถนนอิสรภาพ (ฝั่งเลขคี่) ตั้งแต่แยกซุ้มประตูไทยซิกข์ ถึงแยกบ้านแขก ผู้ค้า 16 ราย 2.บริเวณถนนเจริญนคร (ฝั่งเลขคี่) ตั้งแต่แยกคลองสาน ถึงเจริญนครซอย 15 ผู้ค้า 15 ราย 3.บริเวณถนนเจริญนคร (ฝั่งเลขคู่) ตั้งแต่หัวมุมถนนเจริญรัถ ถึงปากซอยเจริญนคร 14 ผู้ค้า 28 ราย 4.บริเวณถนนเจริญรัถ (ฝั่งเลขคู่) ตั้งแต่หัวมุมถนนเจริญรัถตัดถนนเจริญนคร ถึงปากซอยเจริญรัถ 4 ผู้ค้า 13 ราย 5.บริเวณถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งแต่หัวมุมถนนเจริญรัถ ถึงปากซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 5 ผู้ค้า 25 ราย 6.บริเวณถนนกรุงธนบุรี (ฝั่งเลขคี่) ตั้งแต่ปากซอยกรุงธนบุรี 1-5 ผู้ค้า 10 ราย 7.บริเวณถนนเจริญนคร (ฝั่งเลขคี่) ตั้งแต่สะพานเจริญนคร 3-4 ผู้ค้า 10 ราย 8.บริเวณถนนเจริญนคร (ฝั่งเลขคี่) ตั้งแต่ซอยเจริญนคร 29-53 ผู้ค้า 19 ราย 9.บริเวณถนนเจริญนคร (ฝั่งเลขคู่) ตั้งแต่ปากซอยเจริญนคร 18-46 ผู้ค้า 29 ราย 10.บริเวณถนนกรุงธนบุรี (ฝั่งเลขคู่) ตั้งแต่อาคารไทยศรี ถึงคลองบางไส้ไก่ ผู้ค้า 8 ราย 11.บริเวณถนนท่าดินแดง (ฝั่งเลขคู่) ตั้งแต่แยกท่าดินแดง ถึงแยกประตูไทยซิกข์ ผู้ค้า 7 ราย 12.บริเวณถนนเชียงใหม่ทั้ง 2 ฝั่ง ตลอดทั้งเส้น ผู้ค้า 14 ราย 13.บริเวณถนนลาดหญ้า (ฝั่งเลขคู่) ตั้งแต่ปากซอยลาดหญ้า 10 ถึงหน้าสหกรณ์ ผู้ค้า 4 ราย และ 14.บริเวณถนนเจริญรัถ (ฝั่งเลขคี่) ตั้งแต่ปากซอยเจริญรัถ 1-5 ผู้ค้า 3 ราย ในปี 2566 ที่ผ่านมา เขตฯ ได้ยกเลิก/ยุบรวมจุดทำการค้า จำนวน 2 จุด ได้แก่ 1.บริเวณถนนอิสรภาพ (ฝั่งเลขคู่) ตั้งแต่แยกบ้านแขก ถึงแยกซุ้มประตูไทยซิกข์ ผู้ค้า 3 ราย 2.บริเวณถนนท่าดินแดง (ฝั่งเลขคี่) ตั้งแต่ท่าดินแดงซอย 5-7 ผู้ค้า 2 ราย ซึ่งในปี 2567 เขตฯ จะยกเลิกจุดทำการค้า จำนวน 2 จุด ได้แก่ 1.บริเวณถนนกรุงธนบุรี (ฝั่งเลขคี่) ตั้งแต่ปากซอยกรุงธนบุรี 1-5 ผู้ค้า 10 ราย 2.บริเวณถนนเจริญรัถ (ฝั่งเลขคี่) ตั้งแต่ปากซอยเจริญรัถ 1-5 ผู้ค้า 3 ราย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ตรวจความเป็นระเบียบเรียบร้อยพื้นที่ทำการค้าอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างเด็ดขาด รวมถึงพิจารณาหาแนวทางยกเลิกหรือยุบรวมจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยให้มาทำการค้าในจุดเดียวกัน เพื่อความเป็นระเบียบในพื้นที่ ที่สำคัญผู้ค้าและประชาชนสามารถใช้ทางเท้าร่วมกันได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

พร้อมกันนี้ได้ติดตามการใช้งานระบบสารสนเทศภาษีท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร (BMA-TAX) ในการจัดเก็บรายได้ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีรายได้เป็นไปตามกรอบเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งเขตฯ มีที่ดิน 19,450 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 25,928 แห่ง ห้องชุด 16,181 ห้อง สรุปผลการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 61,559 รายการ สำรวจครบทั้งหมดแล้ว โดยได้สอบถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีรายได้ ศักยภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ประสิทธิภาพระบบเครือข่ายทั้งแบบใช้สายสัญญาณ (LAN) และแบบไร้สายสัญญาณ (WIFI)

จากนั้นได้สอบถามถึงการคัดแยกขยะเขตคลองสาน มีข้าราชการและบุคลากร 217 คน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล แต่ละฝ่ายคัดแยกขยะเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ มีถังรองรับขวดพลาสติกตามโครงการมือวิเศษกรุงเทพฯ แยกเพื่อให้พี่ไม้กวาด เพื่อนำส่งศูนย์จัดการมูลฝอยฯ พระราม 7 กิจกรรมขยะรีไซเคิลและน้ำมันเหลือใช้จากครัวเรือน นำมาแลกไข่ทุกเดือน 2.ขยะอินทรีย์ แต่ละฝ่ายมีถังรองรับเศษอาหาร ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ จัดเก็บรวบรวมในจุดที่กำหนดทุกวัน โดยมีเกษตรกรมารับไปทำอาหารสัตว์ 3.ขยะอันตราย มีจุดรวบรวมขยะอันตราย ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ จัดเก็บเดือนละ 2 ครั้ง 4.ขยะทั่วไป มีถังรองรับขยะทั่วไปในจุดที่กำหนด ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ จัดเก็บทุกวัน สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 45 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 35 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 7 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 3 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 5 กิโลกรัม/วัน

ในการนี้มี นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ ว่าที่ร้อยตรีสรวุฒิ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการเขตคลองสาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตคลองสาน สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี #บริหารจัดการดี

—–  (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200