Search
Close this search box.
กทม. – พม. เชื่อมบริการแพลตฟอร์มเติมเต็มดูแลคุณภาพชีวิตน้องๆ กลุ่มเปราะบางกทม. คุ้มครองป้องกันก่อนสายเกินไป

 

(26 ต.ค.66) รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำฐานข้อมูลด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2566 โดยมี ผู้แทนหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สำนักพัฒนาสังคม สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ สำนักการศึกษา สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และหน่วยงานภายนอก อาทิ กรมกิจการเด็กและเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เข้าร่วมประชุม ณ ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า)

 

 

สำหรับการประชุมวันนี้ เนื่องจาก กทม. มีแพลตฟอร์มเติมเต็มซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ดูแลคุณภาพชีวิตครอบครัวเปราะบาง ดำเนินการในพื้นที่ กทม. ร่วมกับแพลตฟอร์มของกรมกิจการเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ทั้ง 2 ระบบมีการดำเนินงานที่คล้ายกันในเชิงพื้นที่และข้อมูล ดังนั้นจึงอาจมีช่องทางที่สามารถเชื่อมต่อและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันได้ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและทำงานไปพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับแฟลตฟอร์ม “เติมเต็ม” เนื่องจากในปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนในครอบครัวเปราะบางจำนวนไม่น้อยต้องอยู่ในสภาวะขาดแคลนหรือมีปัญหาต่างๆ ทั้งการศึกษา ที่อยู่อาศัย การปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างสุขภาพกายและสุขภาพจิต การขาดสารอาหาร และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทุกปัญหาล้วนต้องการความช่วยเหลือและดูแลอย่างทันท่วงทีก่อนที่จะสายเกินไป จึงเกิดเป็นความร่วมมือของกรุงเทพมหานครสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.-DGA) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) ได้พัฒนาแฟลตฟอร์ม “เติมเต็ม” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พลิกโฉมคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในครอบครัวเปราะบาง ก่อกำเนิดศูนย์รังสรรค์นวัตกรรมชุมชนฟื้นนครร่มเกล้าระยะ 4 โซน 10 เขตลาดกระบัง ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้ว และในระยะต่อไปจะขยายผลอีก 4 เขต และอนาคตครอบคลุม 50 เขต ขับเคลื่อนงานโดยอาสาสมัครสาธารณสุข

ในส่วนระบบการคุ้มครองเด็กระดับชุมชน และการรับแจ้งเหตุของกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จุดเริ่มต้นการคุ้มครองเด็กในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มีเป้าประสงค์ในการลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน จึงได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชน 7 เขต 9 ชุมชน ได้แก่ เขตหนองแขม ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนหมู่บ้านรัฐเอื้อราษฎร์ เขตบางขุนเทียน ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเอื้ออาทร 4 แสมดำ เขตราษฎร์บูรณะ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนสุขสวัสดิ์ 29 เขตทุ่งครุ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนประชาอุทิศ 68 เขตบางบอน ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนมั่นคง 133 ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนภาคภูมิใจ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนหมู่บ้านรางไผ่ เขตบางแค ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนกำแพงทองพัฒนา เพื่อให้บริการ และจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ กลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย ในรูปแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตามแนวคิดการใช้ชุมชนเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย เด็ก เยาวชน สตรี และครอบครัว และแม่เลี้ยงเดี่ยว พ่อเลี้ยงเดี่ยว คนพิการ ผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ครัวเรือนเปราะบาง วัยแรงงาน และ ประชาชนทั่วไป ขับเคลื่อนงานโดยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ใช้เครื่องมือแบบคัดกรองเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงดูตามมาตราฐานขั้นต่ำ (CMST)

ด้านสถานการณ์และการคาดการณ์แนวโน้มทางสังคมกลุ่มเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการขาดแรงงานในอนาคต รวมทั้งเกิดภาวะพึ่งพิงวัยแรงงานที่เพิ่มขึ้น เด็กวัยเรียนในครอบครัวเปราะบางมีโอกาสหลุดออกจากระบบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น ส่งผลสุขภาพกายสุขภาพจิต เกิดความเครียดและนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์ จึงวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนสำคัญที่สำคัญได้ 6 อันดับ ได้แก่ จำนวนเด็กและเยาวชน อายุ 0-18 ปี ลดลง เด็กที่ติดเชื้อ HIV และเด็กที่ได้รับผลกระทบ เด็กและเยาวชนกระทำผิด เด็กนักเรียนที่ไม่สามารถระบุสัญชาติได้ เด็กเสพสุรา สูบบุหรี่ เสพยาเสพติดให้โทษ และเด็กที่บิดา มารดาหรือผู้ปกครองเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ทั้งนี้ กทม. พร้อมบูรณาการร่วมกันทำงานร่วมกับ พม. แบ่งปันข้อมูลร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ โดยใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาช่วย เพื่อดูแลคุ้มครองเพิ่มโอกาสเด็กในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
————–

 

แชร์ข่าว:
กรุงเทพฯ มีอะไร อัพเดทข่าวสารฉับไว กิจกรรมที่น่าสนใจ และมีส่วนร่วมได้ รวมไว้ให้ที่นี่

©2022 สงวนลิขสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กทม. 10200