(9 ส.ค.66) เวลา 09.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตธนบุรี ประกอบด้วย
ติดตามการใช้งานระบบสารสนเทศภาษีท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร (BMA-TAX) ในการจัดเก็บรายได้ การบันทึกข้อมูลรายการภาษี การค้นหาและแก้ไขข้อมูลผู้เสียภาษี ศักยภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอายุในการใช้งาน ประสิทธิภาพระบบเครือข่ายแบบใช้สายสัญญาณ (LAN) และแบบไร้สายสัญญาณ (WIFI) ซึ่งเขตฯ มีที่ดิน 23,180 แปลง สำรวจครบแล้ว สิ่งปลูกสร้าง 39,928 แห่ง สำรวจแล้ว 39,383 แห่ง คงเหลือ 545 แห่ง ห้องชุด 21,449 ห้อง สำรวจครบแล้ว สรุปผลการสำรวจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 84,557 รายการ สำรวจแล้ว 84,012 รายการ คงเหลือ 545 รายการ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สอบถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีรายได้ การจัดส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้เสียภาษี รวมถึงสำรวจสิ่งปลูกสร้างในส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีรายได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามกรอบเป้าหมายที่กำหนด
จากนั้นได้ตรวจเยี่ยมการให้บริการประชาชนของฝ่ายทะเบียน ภายในศูนย์บริหารราชการ ฉับไวใสสะอาด (Bangkok Fast & Clear : BFC) เขตธนบุรี ระยะเวลาในการให้บริการประชาชนที่มาติดต่องานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน เริ่มตั้งแต่กดรับบัตรคิวจนเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด ไม่รวมเวลารอคอย ซึ่งควรใช้ระยะเวลาไม่เกิน 15 นาที โดยขึ้นอยู่กับจำนวนประชาชนที่มารับบริการในแต่ละวัน ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลให้งานบริการเกิดความล่าช้า ประสิทธิภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและให้งานบริการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
พร้อมกันนี้ได้สอบถามถึงการคัดแยกขยะภายในสำนักงานเขตธนบุรี ซึ่งเขตฯ มีข้าราชการและบุคลากร 879 คน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล 2.ขยะอินทรีย์ 3.ขยะอันตราย 4.ขยะทั่วไป โดยจัดภาชนะสำหรับใส่ขยะแยกประเภทขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย ขยะทั่วไป ตั้งวางไว้ตามชั้นภายในอาคารและด้านนอกอาคาร จัดเจ้าหน้าที่จัดเก็บ ส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะ อบรมให้ความรู้แก่ข้าราชการ บุคลากร และพนักงานสถานที่ประจำเขตฯ สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 82 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 25 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 54 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 2.5 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 0.5 กิโลกรัม/วัน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ หาแนวทางเพิ่มจำนวนเที่ยวรถในการจัดเก็บขยะเป็น 2 ครั้ง/สัปดาห์ รวมถึงพิจารณาปรับขนาดรถเก็บขนมูลฝอยให้เหมาะสมกับปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ในแต่ละพื้นที่
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ พื้นที่ 6 ไร 1 งาน 15.5 ตารางวา มีครูบุคลากรและนักเรียน 1,400 คน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะตั้งแต่ปี 2551 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ กิจกรรมแปรรูปขยะอินทรีย์โดยนำเปลือกผลไม้มาแปรรูปเป็นน้ำยาล้างมือและน้ำยาทำความสะอาด กิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ นำเศษขยะอินทรีย์มาแปรรูปเป็นน้ำหมักชีวภาพ ใช้บำบัดกลิ่นในท่อระบายน้ำ บำรุงต้นไม้ และเทในคลองสาขา เผยแพรวิธีการและแจกผลิตภัณฑ์แกบุคลากรของโรงเรียน และชุมชนโดยรอบโรงเรียน รวมถึงการนำเศษอาหาร และขยะอินทรีย์ที่เหลือจากกิจกรรมให้แกประชาชนในชุมชนนำไปเป็นอาหารสัตว์ 2.ขยะรีไซเคิล กิจกรรมห้องนักคิด กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การสร้างชิ้นงานจากวัสดุเหลือใช้ ผ่านกิจกรรมห้องวิทยสินธุ์หรือห้องนักคิด ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน กิจกรรมเถ้าแก่น้อย (ธนาคารขยะ) เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.ขยะทั่วไป รถขยะเขตฯ เข้าจัดเก็บ 4.ขยะอันตราย ประสานเขตฯ นำไปกำจัดอย่างถูกวิธี สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 250 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 200 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 50 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 50 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 20 กิโลกรัม/วัน
ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 บริเวณที่ทำการไปรษณีย์ สาขาสำเหร่ ตรวจวัดค่าควันดำรถขนส่งไปรษณีย์ โดยใช้เครื่องตรวจวัดควันดำด้วยระบบความทึบแสง จากนั้นเร่งเครื่องยนต์อย่างรวดเร็วจนสุดคันเร่ง และคงไว้ที่ความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่า 2 วินาที ทำการตรวจวัดค่าควันดำ 2 ครั้ง ใช้ค่าสูงสุดที่วัดได้เป็นเกณฑ์ตัดสิน สำหรับค่ามาตรฐานควันดำตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าควันดำของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด พ.ศ.2564 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 13 เมษายน 2565 กำหนดค่ามาตรฐานควันดำตรวจด้วยเครื่องมือวัดระบบความทึบแสงต้องไม่เกิน 30% และตรวจด้วยเครื่องมือวัดระบบกระดาษกรองต้องไม่เกิน 40% ส่วนค่ามาตรฐานเสียงระดับเสียงปลายท่อไอเสียรถยนต์ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล โดยเขตฯ จะสุ่มตรวจสังเกตจากสภาพรถยนต์และลักษณะของควันที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดมลพิษจากแหล่งกำเนิด และส่งเสริมให้พนักงานประจำรถยนต์ดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ นอกจากนี้ เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ประเภทสถานที่ก่อสร้างขนาดใหญ่ 5 แห่ง ประเภทกิจการที่มีการใช้หม้อไอน้ำ (Boilers) 1 แห่ง ประเภทกิจการการผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป 1 แห่ง ประเภทอู่เคาะพ่นสียานยนต์ 8 แห่ง ประเภทอู่รถเมล์ 3 แห่ง และที่ทำการไปรษณีย์ สาขาสำเหร่ พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 กำชับสถานประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมค่าฝุ่น PM2.5 ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ในการลงพื้นที่วันนี้มี ว่าที่ร้อยตรีเดชาธร แสงอำนาจ ผู้อำนวยการเขตธนบุรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตธนบุรี สำนักเทศกิจ สำนักสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
#บริหารจัดการดี #สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี
—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)