(28 มิ.ย.66) เวลา 13.30 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตบางนา ประกอบด้วย
สำรวจสวน 15 นาที สวนหย่อมประติมากรรมสี่แยกบางนา (ควายเหล็ก) ถนนสุขุมวิท เขตฯ ได้จัดทำสวนสาธารณะใหม่ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1.สวนหย่อมประติมากรรมสี่แยกบางนา (ควายเหล็ก) ถนนสุขุมวิท พื้นที่ 2 งาน 65 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินของกรมทางหลวง โดยปลูกเสริมต้นทองอุไร ต้นชะแมบทอง ต้นประดู่ ปลูกเสริมต้นเข็มพิษณุโลก และไม้ดอกเพิ่มเติม พร้อมจัดหาเก้าอี้นั่ง 2.สวนหย่อมท่าน้ำสรรพาวุธ พื้นที่ 90 ตารางวา เป็นที่ราชพัสดุ อยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบโดย UDDC นอกจากนี้ เขตฯ มีสวนสาธารณะเดิม ซึ่งดำเนินการปรับปรุงเป็นสวน 15 นาที จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1.สวนบึงในฝันสวรรค์บางนา พื้นที่ 11 ไร่ 3 งาน 76 ตารางวา โดยปลูกเสริมต้นทองอุไร ต้นหูกระจง จัดสวนหย่อมและมุมพักผ่อนเพิ่มเติม พัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม เพิ่มลานกีฬา สนามเปตอง สนามตะกร้อ จุดถ่ายรูปและนั่งเล่นพักผ่อนริมบึง 2.สวนหย่อมใต้ทางด่วนบางนา พื้นที่ 8 ไร่ 18 ตารางวา เป็นพื้นที่ของการทางพิเศษฯ โดยปลูกเสริมต้นทองอุไร ปลูกไม้ดอกเพิ่มเติม ปรับพื้นที่ทางเดินและปูตัวหนอน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ตรวจสอบอุปกรณ์และระบบต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่เดิมภายในสวนหย่อมประติมากรรม หากชำรุดเสียหายให้ดำเนินการซ่อมแซมหรือปรับเปลี่ยนใหม่ รวมถึงปรับปรุงทางเข้าออก และปลูกต้นไม้เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างกำแพงกรองฝุ่น ช่วยดูดซับมลพิษทางอากาศในพื้นที่สี่แยกบางนา
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ แม็คโครฟู้ดเซอร์วิส สาขาอุดมสุข (Makro Food Service) มีพนักงาน 101 คน ประชาชนที่มาใช้บริการ 2,000 คน/วัน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล เจ้าหน้าที่ในแต่ละแผนกจะทำการคัดแยกขยะ 2.ขยะอินทรีย์ หลังจากที่ตัดจำนวนของเสียออกจากระบบ เจ้าหน้าที่แต่ละแผนกจะทำการรวบรวมใส่ถุง เพื่อทำการคัดแยกประเภทของขยะ และแยกจุดวางออกจากขยะทั่วไป ส่วนหนึ่งนำมาทำน้ำหมักชีวภาพ และบางส่วนนำส่งเขตฯ 3.ขยะอันตราย แยกใส่ถุงขยะอันตรายและใส่ถังขยะแยกออกมาจากขยะทั่วไป เพื่อรอเจ้าหน้าที่จากเขตฯ เข้ามารับ 4.ขยะทั่วไป หลังจากเปิดบรรจุภัณฑ์เพื่อนำสินค้ามาจัดเรียงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่แต่ละแผนกจะนำขยะวางรอหน้าห้องขยะ เพื่อรอรอบการทิ้ง สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 881 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 380 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 310 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 116 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 5 กิโลกรัม/เดือน
ตรวจความเรียบร้อยพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน บริเวณหน้าเดอะเครน ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา ถนนเทพรัตน (ฝั่งขาเข้า) เขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 6 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 215 ราย ได้แก่ 1.ปากซอยสุขุมวิท 103 (อุดมสุข) ผู้ค้า 124 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-18.00 น. ผู้ค้า 87 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 18.00-23.00 น. ผู้ค้า 37 ราย 2.ถนนสรรพาวุธ (หน้าองค์การแก้วเดิม) ผู้ค้า 22 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-21.00 น. 3.ปากซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-21.00 น. ผู้ค้า 3 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 14.00-21.00 น. ผู้ค้า 10 ราย 4.ปากซอยสุขุมวิท 66/1 ผู้ค้า 22 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-21.00 น. 5.หน้าเดอะเครน ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา ผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. ผู้ค้า 4 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 14.00-20.00 น. ผู้ค้า 9 ราย และ 6.หน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีบางนา ผู้ค้า 21 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. ผู้ค้า 16 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 14.00-21.00 น. ผู้ค้า 5 ราย ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 9 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 213 ราย ได้แก่ 1.ถนนเทพรัตน (ขาออก) ผู้ค้า 6 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-24.00 น. 2.ซอยสุขุมวิท 103 (ซอยอุดมสุขเลขคี่) ผู้ค้า 49 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-09.00 น. ผู้ค้า 18 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 10.00-23.00 น. ผู้ค้า 31 ราย 3.ซอยสุขุมวิท 103 (ซอยอุดมสุขเลขคู่) ผู้ค้า 22 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 16.00-24.00 น. 4.ถนนสรรพาวุธ ฝั่งซ้ายหน้าวัดบางนานอก ผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-12.00 น. 5.ถนนสรรพาวุธ ซอย 2 (เลียบด่วน) ผู้ค้า 14 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-16.00 น. 6.ถนนสรรพาวุธ ท่าน้ำวัดบางนานอก ผู้ค้า 12 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-16.00 น. 7.ซอยเพี้ยนพิน ผู้ค้า 26 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 16.00-20.00 น. 8.ซอยสุขุมวิท 105 (ลาซาล) ผู้ค้า 47 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-21.00 น. และ 9.ถนนเทพรัตน (ขาเข้า) ผู้ค้า 24 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ กวดขันผู้ค้าไม่ให้ตั้งวางสิ่งของรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทางเท้า รวมถึงขอความร่วมมือผู้ค้าให้จัดเก็บอุปกรณ์ทำการค้าและทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน นอกจากนี้ ให้เขตฯ พิจารณาหาแนวทางยุบรวมจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยให้มาทำการค้าอยู่ในจุดเดียวกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่
ตรวจมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 บริษัท ไอ วูด อินโนเวชั่น จำกัด ถนนสรรพาวุธ ซึ่งประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทกิจการโรงงานไสไม้ อบไม้ แปรรูปไม้ ลักษณะของสถานประกอบการมีการใช้หม้อไอน้ำ (Boiler) โดยใช้เศษไม้เป็นเชื้อเพลิง มีกระบวนการเผาไหม้ที่อาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ทั้งนี้ เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อาทิ ประเภทสถานประกอบการ/โรงงาน ประเภทแพลนท์ปูน ประเภทสถานที่ก่อสร้าง ประเภทตรวจวัดควันดำ พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 กำชับสถานประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อลดมลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ติดตามการให้บริการประชาชนของฝ่ายทะเบียน ภายในศูนย์บริหารราชการ ฉับไวใสสะอาด (Bangkok Fast & Clear : BFC) เขตบางนา ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สอบถามถึงระยะเวลาในการให้บริการประชาชนที่มาติดต่องานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ตั้งแต่กดรับบัตรคิวจนเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบให้งานบริการเกิดความล่าช้า ประสิทธิภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องผลิตบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมทั้งให้คำแนะนำและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประชาชนได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อราชการ จากนั้นได้ติดตามการใช้งานระบบสารสนเทศภาษีท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร (BMA-TAX) ในการจัดเก็บรายได้ พร้อมทั้งรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้าใช้งานในระบบ การบันทึกข้อมูลรายการภาษี การค้นหาและแก้ไขข้อมูลผู้เสียภาษี ศักยภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอายุในการใช้งาน ประสิทธิภาพระบบเครือข่ายแบบใช้สายสัญญาณ (LAN) และแบบไร้สายสัญญาณ (WIFI) ซึ่งเขตฯ มีที่ดิน 32,336 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 33,822 แห่ง ห้องชุด 38,275 ห้อง สรุปผลการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 104,433 รายการ สำรวจครบทั้งหมดแล้ว
พร้อมกันนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สอบถามเกี่ยวกับการคัดแยกขยะภายในอาคารสำนักงานเขตบางนา มีข้าราชการและบุคลากร 626 คน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล แต่ละฝ่ายคัดแยกและนำมาไว้ที่จุดรวบรวม บางส่วนนำมาบริจาคตามโครงการต่างๆ เช่น โครงการแยกขวดช่วยหมอ โครงการมือวิเศษ กรุงเทพฯ แยกเพื่อให้…พี่ไม้กวาด กิจกรรมขยะสร้างบุญ (ผ้าป่ารีไซเคิล) 2.ขยะอินทรีย์ แต่ละฝ่ายคัดแยกขยะเศษอาหาร ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ จัดเก็บและรวบรวม เพื่อนำมาทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักจากใบไม้แห้งและเศษอาหาร น้ำยาอเนกประสงค์ สำหรับใช้ภายในเขตฯ และแจกจ่ายประชาชนที่มาติดต่อราชการ 3.ขยะอันตราย แต่ละฝ่ายคัดแยกและนำมาทิ้งบริเวณจุดรวบรวมขยะอันตราย เพื่อรวบรวมนำส่งโรงกำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช 4.ขยะทั่วไป แต่ละฝ่ายคัดแยกและนำมาทิ้งบริเวณจุดรวบรวมขยะทั่วไป สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 1,080 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 872 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 120 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 85 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 3 กิโลกรัม/เดือน ขยะติดเชื้อหลังคัดแยก 0.5 กิโลกรัม/เดือน
ในการลงพื้นที่วันนี้มี นางสาวโศรยา วัธชนะ ผู้อำนวยการเขตบางนา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตบางนา สำนักเทศกิจ สำนักสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี #บริหารจัดการดี
—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)