(22 พ.ค.66) เวลา 13.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตจอมทอง ประกอบด้วย
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ โรงเรียนวัดศาลาครืน ซอยวุฒากาศ 42 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล ของโรงเรียนมี 3 ประเภท ได้แก่ 1.ขวดพลาสติก ใช้วิธีการแยกตั้งแต่ต้นทาง เมื่อนักเรียนดื่มน้ำเสร็จแล้ว ก่อนทิ้งนักเรียนจะแยกขวด แยกฝาขวด และหลอดพลาสติก ตามถังที่จัดเตรียมไว้ให้หน้าร้านค้าของโรงเรียน เมื่อเต็มถังคณะกรรมการธนาคารขยะจะเก็บไปรวมที่ธนาคารขยะ เพื่อคัดแยกจดบันทึกและบรรจุใส่กระสอบส่งขายต่อไป 2.กระดาษ คัดแยกตั้งแต่อยู่ที่ห้องเรียน โดยจะแยกเป็นกระดาษใช้แล้ว 1 หน้า และ 2 หน้า จากนั้นแต่ละห้องจะนำลงมาส่งที่ธนาคารขยะ 3.กล่องนม เมื่อนักเรียนดื่มนมเสร็จ จะพับกล่องบรรจุใส่ลัง รอเขตฯ มารับ ส่วนพลาสติกที่ไม่สามารถขายได้ ส่งต่อรถขยะเขตฯ ดำเนินการต่อไป 2.ขยะอินทรีย์ หลังจากนักเรียนรับประทานอาหารเสร็จ นักเรียนจะนำเศษอาหารที่รับประทานไม่หมด แยกส่วนตามภาชนะที่จัดเตรียมไว้ เช่น แยกเปลือกผลไม้ แยกเศษอาหาร แยกกระดูก ออกจากกัน ในช่วงเย็นก็จะนำเศษอาหารที่ย่อยง่ายไปใส่ถังหมักก๊าซชีวภาพ เพื่อผลิตก๊าซใช้ในห้องครัวโรงเรียน เศษใบไม้ บางส่วนนำไปใส่บ่อหมักทำปุ๋ยดิน ส่วนที่ไม่สามารถใส่บ่อหมักได้ ส่งต่อรถขยะเขตฯ ดำเนินการต่อไป 3.ขยะอันตราย โรงเรียนมีถังขยะอันตราย วางไว้ที่จุดธนาคารขยะแยกจากถังขยะทั่วไป 4.ขยะทั่วไปของโรงเรียน คือซองขนม ซองไอศกรีม นักเรียนนำมาล้างทำขวด ECO BRICKS ขยะทั่วไปที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ส่งต่อรถขยะของเขตฯ รับไปกำจัดต่อไป ทั้งนี้โรงเรียนวัดศาลาครืน ได้รับรางวัลผ่านเข้ารอบที่ 1 โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School 2565 สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 0 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 12 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลก่อนคัดแยก 0 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 37 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 126 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 71 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายก่อนคัดแยก 0 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 5 กิโลกรัม/เดือน ขยะติดเชื้อก่อนคัดแยก 0 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 1 กิโลกรัม/เดือน
ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 กิจการหล่อโลหะ ซอยจอมทอง 13 เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ประเภทโรงงานที่มีการใช้หม้อไอน้ำ (Boiler) 8 แห่ง ประเภทการผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป 1 แห่ง ประเภทการต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ 26 แห่ง ประเภทการหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด 15 แห่ง ประเภทแพลนท์ปูน 2 แห่ง พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 กำชับสถานประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมค่าฝุ่น PM2.5 ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตรวจเยี่ยมอาคารต้นแบบการคัดแยกขยะ สำนักงานเขตจอมทอง มีข้าราชการและบุคลากร 830 คน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล แม่บ้านแต่ละชั้น คัดแยกขยะรีไซเคิลในเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เขตฯ เป็นจุดรวบรวมขวดพลาสติกจากเขตข้างเคียง (เขตราษฎร์บูรณะ เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตคลองสาน) รวบรวมและส่งต่อให้บริษัทปตท. เพื่อนำไปตัดชุดสะท้อนแสงให้พี่ไม้กวาด 2.ขยะอินทรีย์ เจ้าหน้าที่เขตแต่ละชั้น คัดแยกเศษอาหารใส่ถุงออกจากขยะทั่วไป พนักงานทั่วไป (กวาด) รวมรวบข้อมูลและชั่งน้ำหนักขยะเศษอาหารของแต่ละชั้น และส่งต่อขยะเศษอาหารให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงสัตว์ 3.ขยะอันตราย แม่บ้านแต่ละชั้น คัดแยกขยะอันตราย และรวบรวมที่จุดรวมขยะอันตราย ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ รวบรวมขยะอันตรายเพื่อนำส่งไปทำลาย ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอันตรายหนองแขม 4.ขยะทั่วไป แม่บ้านแต่ละชั้น รวบรวมขยะทั่วไปใส่ถุงดำ ไปเทรวมที่รถเก็บขนมูลฝอย บริเวณลานจอดรถขยะ สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 0 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 786 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลก่อนคัดแยก 0 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 192 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 1,586 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 573 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายก่อนคัดแยก 0 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 35 กิโลกรัม/เดือน
ติดตามการใช้งานระบบสารสนเทศภาษีท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร (BMA-TAX) ในการจัดเก็บรายได้ เขตฯ มีที่ดิน 48,361 แปลง สำรวจครบแล้ว สิ่งปลูกสร้าง 59,492 แห่ง สำรวจแล้ว 58,747 แห่ง คงเหลือ 745 แห่ง ห้องชุด 14,871 ห้อง สำรวจครบแล้ว สรุปผลการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 122,724 รายการ สำรวจแล้ว 121,979 รายการ คงเหลือ 745 รายการ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ติดตามปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีรายได้ พร้อมทั้งสอบถามถึงระบบการชำระภาษี BMA-TAX ศักยภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ประสิทธิภาพระบบเครือข่ายทั้งแบบใช้สายสัญญาณ (LAN) และแบบไร้สายสัญญาณ (WIFI) เพื่อเตรียมพร้อมในการประเมินภาษีปี 2566 ตลอดจนให้คำแนะนำในการจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ เน้นย้ำการปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบโปร่งใส เพื่อให้การจัดเก็บภาษีรายได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
พร้อมกันนี้ได้สอบถามเกี่ยวกับพื้นที่ทำการค้า ซึ่งเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 12 แห่ง รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 174 ราย ได้แก่ 1.ซอยจอมทอง 16 ถึงสุดซอยจอมทอง 16 ผู้ค้า 19 ราย เวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. 2.ซอยจอมทอง 16 ถึงด้านซ้ายหลังธนาคารกสิกรไทย ผู้ค้า 13 ราย เวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. 3.ซอยจอมทอง 14 ถึงหลังตลาด ผู้ค้า 25 ราย เวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. 4.ซอยจอมทอง 12 ถึงสุดซอยจอมทอง 12 ผู้ค้า 17 ราย เวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. 5.สถานีรถไฟฟ้า BTS วุฒากาศ ผู้ค้า 18 ราย เวลาทำการค้า 15.00-21.00 น. 6.ถนนพระรามที่ 2 ซอย 28 (วัจนะ) ผู้ค้า 12 ราย เวลาทำการค้า 06.00-11.00 น. 7.ถนนพระรามที่ 2 ซอย 28 (หลังโรงพยาบาลบางปะกอก 9) ผู้ค้า 32 ราย เวลาทำการค้า 06.00-15.00 น. 8.ซอยสุขสวัสดิ์ 14 ผู้ค้า 8 ราย เวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. 9.ซอยเอกชัย 43 (หน้ามัธยมโรงเรียนวัดสิงห์) ผู้ค้า 12 ราย เวลาทำการค้า 06.00-11.00 น. 10.ถนนพุทธบูชา ซอย 7 ถึงซอย 23 ผู้ค้า 9 ราย เวลาทำการค้า 06.00-12.00 น. 11.ถนนพระราม 2 ซอย 33 หน้าวัดยายร่ม ผู้ค้า 6 ราย เวลาทำการค้า 06.00-18.00 น. 12.ถนนพระราม 2 ซอย 3 ถึงซอย 45 ผู้ค้า 3 ราย เวลาทำการค้า 09.00-13.00 น. ในพื้นที่เขตฯ ไม่มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ทำการค้า กวดขันไม่ให้มีการตั้งวางสินค้ารุกล้ำเข้ามาในทางเท้า พิจารณายุบรวมจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย ให้มาทำการค้าในจุดเดียวกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ที่สำคัญประชาชนและผู้ค้าสามารถใช้พื้นที่ทางเท้าร่วมกันอย่างสะดวกและปลอดภัย
สำรวจสวน 15 นาที สวนหมู่บ้านวรการ ซอยพระรามที่ 2 ซอย 30 (ซอยหมูป่า) ซึ่งเป็นสวน 15 นาทีแห่งใหม่ ขนาดที่ดิน 5 ไร่ 3 งาน 43 ตารางวา กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของเอกชน ระยะเวลาใช้พื้นที่คงเหลือ 2 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอใช้พื้นที่เพิ่มถึงเดือนมกราคม 2574 โดยเขตฯ มีแผนดำเนินการพัฒนาพื้นที่เป็นสวนป่า ศูนย์เรียนรู้การปลูกผักโดยใช้สารอินทรีย์ การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมักรักษ์โลก การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การแปรรูปผลิตภัณฑ์รีไซเคิล เรือนเพาะชำไม้ดอกไม้ประดับ ในโอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเขตจอมทอง สำนักเทศกิจ ได้ร่วมกันปลูกต้นทองอุไร เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง บริเวณสวนดังกล่าว
ในการลงพื้นที่วันนี้มี นายณัฐพงษ์ มีโภคกิจ ผู้อำนวยการเขตจอมทอง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตจอมทอง สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี #บริหารจัดการดี
—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)