(10 พ.ค.66) เวลา 15.00 น. : นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมหารือเตรียมความพร้อมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขตลาดกระบัง โดยมี นายชัชชญา ขําจันทร์ ผู้อำนวยการเขตลาดกระบัง ผู้บริหารเขตลาดกระบัง ผู้แทนสำนักการระบายน้ำ สำนักการโยธา กรมทางหลวง กรมชลประทาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม สำนักงานเขตลาดกระบัง
ที่ประชุมรายงานความคืบหน้าการป้องกันและการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขตลาดกระบัง มีคลองทั้งหมด 68 คลอง อยู่ในความรับผิดชอบ 59 คลอง ความยาว 109,554 เมตร ขุดลอกแล้วเสร็จ 27 คลอง ความยาว 61,285 เมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ 32 คลอง ความยาว 48,269 เมตร การลอกท่อระบายน้ำ 52 ซอย แบ่งเป็น แรงงานเขต 2 ซอย ความยาว 1,876 เมตร แล้วเสร็จ 100% จ้างกรมราชทัณฑ์ 50 ซอย ความยาว 44,767 เมตร คาดแล้วเสร็จเดือน มิ.ย.66 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมในพื้นที่แล้ว 45 เครื่อง จะติดตั้งเพิ่มเติมภายในเดือน มิ.ย.-ส.ค.66 จำนวน 12 เครื่อง ติดตั้งบานประตูกันน้ำไหลย้อนกลับอัตโนมัติ(FLAP GATE)และติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า 12 จุด และจุดวางกระสอบทรายและแผ่นไม้ บล็อกท่อระบายน้ำ 17 จุด เพื่อสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำ
สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณจุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังในพื้นที่ ประกอบด้วย 1.ถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง แยกกิ่งแก้ว 2.ถนนหลวงแพ่ง 3.ถนนลาดกระบัง(หน้าสำนักงานเขต) 4.ชุมชนเคหะร่มเกล้า(ลาดกระบัง) 5.ถนนเจ้าคุณทหาร ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เสริมผิวการจราจร ก่อสร้างรางระบายน้ำเพิ่มเติม สำรวจและจัดทำพื้นที่ปิดล้อม สร้างทำนบชั่วคราว ขุดลอกคลองใกล้เคียงเพื่อเพิ่มการระบายน้ำ ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 200A เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องสูบน้ำ ตรวจสอบและซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา
ด้านแผนเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณหน่วยเลือกตั้งสำนักงานเขตลาดกระบัง มีหน่วยเลือกตั้ง 6 แขวง หน่วยเลือกตั้ง 192 หน่วย ได้จัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธา 60 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ 200 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทศกิจ 50 คน รถยนต์ตรวจการ 10 คัน รถบรรทุก 12 คัน เครื่องสูบน้ำแบบหาบหาม 3 เครื่อง เครื่องสูบน้ำพญานาค 3 เครื่อง และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น กระสอบทราย ไม้พาเลท ไม้กระดานปูพื้น เตรียมความพร้อมประจำจุดจนถึงเวลาเลือกตั้งแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ รองปลัดกรุงเทพมหานคร มอบหมายสำนักการระบายน้ำและสำนักงานเขต จัดทำแผนระยะเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณจุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังในพื้นที่ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนเข้าฤดูฝน และเตรียมแผนการช่วยเหลือประชาชนในกรณีที่เกิดน้ำท่วม โดยหากเขตฯ มีความประสงค์ขอรับการสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร บุคลากร จากส่วนกลางสามารถแจ้งสำนักการระบายน้ำหรือสำนักการโยธา รวมทั้งตรวจสอบโครงการก่อสร้างในพื้นที่ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบระบายน้ำ สำหรับการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณหน่วยเลือกตั้ง ให้ดูแลในภาพรวม ทั้งการป้องกันน้ำท่วม พายุฝน ลมพัดแรง รวมถึงติดตั้งพัดลมเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน พร้อมกันนี้ให้ประสานความร่วมมือกรมชลประทานในการบริหารจัดการน้ำในคลองในภาพรวม อาทิ การรักษาระดับน้ำ การจัดเก็บผักตบชวา การติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม รวมทั้งประสานกรมทางหลวงร่วมสำรวจและแก้ไขปัญหาที่มีการทรุดตัว หรือถนนต่ำในพื้นที
——