ชมคัดแยกขยะโรงเรียนวัดม่วงแค เล็งเปิด Hawker Center ข้างศูนย์การค้าสีลมเอจ เดินหน้าจัดระเบียบผู้ค้าถนนคอนแวนต์ คุมเข้มค่าฝุ่น PM2.5 โครงการดุสิตเซ็นทรัลพาร์ค เตรียมพร้อมระบบภาษี BMA-TAX ตรวจแยกขยะเขตบางรัก
(10 พ.ค.66) เวลา 13.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตบางรัก ประกอบด้วย
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ โรงเรียนวัดม่วงแค ซอยเจริญกรุง 34 มีพื้นที่ 317 ตารางวา วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะทั่วไป ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ จัดเก็บทุกวันในเวลา 20.00 น. 2.ขยะอินทรีย์ ประเภทเศษอาหาร มีเกษตรกรมารับไปเลี้ยงสัตว์ ส่วนเปลือกผลไม้นำไปทำน้ำหมักชีวภาพใช้ภายในโรงเรียน 3.ขยะรีไซเคิล ขวดพลาสติก ขวดแก้ว และกระดาษ โรงเรียนดำเนินการเอง 4.ขยะรีไซเคิล กล่องนม ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ จัดเก็บ ส่วนขวดพลาสติก ขวดแก้ว และกระดาษ โรงเรียนจำหน่ายและทำสิ่งประดิษฐ์สำหรับนักเรียน 5.ขยะอันตราย และ 6.ขยะติดเชื้อ จัดเก็บเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 1,500 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 1,000 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลก่อนคัดแยก 40 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 30 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 100 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 70 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายก่อนคัดแยก 2 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 1 กิโลกรัม/เดือน ขยะติดเชื้อก่อนคัดแยก 0.2 กิโลกรัม/เดือนหลังคัดแยก 0.2 กิโลกรัม/เดือน
สำรวจพื้นที่ Hawker Center บริเวณพื้นที่ด้านข้างศูนย์การค้าสีลมเอจ ถนนพระรามที่ 4 ซึ่งผู้บริหารศูนย์การค้าฯ พร้อมให้ความร่วมมือในการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า โดยใช้พื้นที่ว่างด้านข้างศูนย์การค้าฯ ถนนพระรามที่ 4 ความยาว 27.37 เมตร จัดทำเป็น Hawker Center สามารถรองรับร้านค้าได้ 18 ร้าน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พูดคุยสร้างความเข้าใจกับผู้ค้าให้ย้ายเข้ามาทำการค้าในจุดที่เขตฯ จัดทำเป็น Hawker Center เพื่อความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการใช้พื้นที่ว่างหรือตลาดนัดเอกชน จัดทำ Hawker Center โดยเน้นจุดที่มีความต้องการของผู้บริโภค อยู่ใกล้กับพื้นที่ทำการค้าเดิม มีจุดล้างทำความสะอาดภาชนะ จุดคัดแยกขยะและกำจัดขยะรวม โดยคำนึงถึงช่วงเวลาทำการค้าและความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อ
ตรวจความเป็นระเบียบเรียบร้อยพื้นที่ทำการค้า บริเวณถนนคอนแวนต์ เขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 6 จุด ผู้ค้ากลางวัน 279 ราย ผู้ค้ากลางคืน 108 ราย รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 387 ราย ได้แก่ 1.บริเวณถนนพระรามที่ 4 ตั้งแต่ปากซอยจอมสมบูรณ์ ถึงปากซอยพระนคเรศ ความยาว 200 เมตร ผู้ค้ากลางคืน 27 ราย 2.บริเวณถนนสุรวงศ์ ตั้งแต่หัวมุมถนนธนิยะ ถึงซอยสุรวงศ์เซ็นเตอร์ ความยาว 224 เมตร ผู้ค้ากลางวัน 27 ราย ผู้ค้ากลางคืน 61 ราย รวมผู้ค้า 88 ราย 3.บริเวณถนนสีลม ตั้งแต่หัวมุมถนนมเหสักข์ ถึงปากซอยสีลม 12 ความยาว 700 เมตร ผู้ค้ากลางวัน 16 ราย 4.บริเวณซอยสีลม 9 ตั้งแต่ปากทางเข้าโรงเรียนกว่างเจ้า ถึงโครงการคอนโดอนิล สาทร 12 ความยาว 478 เมตร ผู้ค้ากลางวัน 17 ราย 5.บริเวณถนนคอนแวนต์ ตั้งแต่ปากซอยคอนแวนต์ ถึงหน้าโบสถ์ไคร้สตเชิช ความยาวรวมทั้ง 2 ฝั่ง 900 เมตร ผู้ค้ากลางวัน 101 ราย ผู้ค้ากลางคืน 20 ราย รวมผู้ค้า 121 ราย และ 6.บริเวณซอยสีลม 5 (ละลายทรัพย์) ตั้งแต่ปากซอยสีลม 5 ถึงท้ายซอยสีลม 5 ความยาว 170 เมตร ผู้ค้ากลางวัน 118 ราย ที่ผ่านมา เขตฯ ได้ดำเนินการจัดระเบียบผู้ค้าในพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการจัดทำแผงค้าให้มีรูปแบบและลักษณะเดียวกัน รวมทั้งมอบร่มให้แก่ร้านค้าเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาพื้นที่ทำการค้าที่มีผู้ค้าจำนวนน้อย โดยให้ยุบรวมมาทำการค้าในจุดเดียวกัน กำชับผู้ค้าไม่ให้ตั้งวางสิ่งของเกินแนวเส้นที่กำหนด ที่สำคัญผู้ค้าและประชาชนสามารถใช้ทางเท้าร่วมกันได้สะดวกและปลอดภัย
ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 43 จุด ผู้ค้ากลางวัน 634 ราย ผู้ค้ากลางคืน 153 ราย รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 787 ราย ได้แก่ 1.ถนนนเรศ (ซอยพุทธโอสถ) ผู้ค้า 18 ราย 2.ถนนนเรศ (ซอยน้อมจิตร) ผู้ค้า 2 ราย 3.ถนนนเรศ (ซอยสันติภาพ) ผู้ค้า 3 ราย 4.ถนนสุรวงศ์ (ขาออก) ผู้ค้า 4 ราย 5.ถนนพระรามที่ 4 ผู้ค้า 38 ราย 6.ถนนพระรามที่ 4 (อังรีดูนังต์) ผู้ค้า 29 ราย 7.ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ซอย 1 ฝั่งขวา) ผู้ค้า 46 ราย 8.ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ซอย 1 ฝั่งซ้าย) ผู้ค้า 27 ราย 9.ซอยสันติภาพ 1 ผู้ค้า 13 ราย 10.ซอยเจริญกรุง 43 ผู้ค้า 13 ราย 11.ซอยสาทร 2 ผู้ค้า 4 ราย 12.ซอยสาทร 8 ผู้ค้า 8 ราย 13.ถนนศาลาแดง ผู้ค้า 49 ราย 14.ซอยศาลาแดง 2 ผู้ค้า 14 ราย 15.ซอยศาลาแดง 1 ผู้ค้า 15 ราย 16.ถนนพระรามที่ 4 ผู้ค้า 17 ราย 17.ซอยสีลม 20 ผู้ค้า 123 ราย 18.ซอยสีลม 36 ผู้ค้า 3 ราย 19.ปากซอยมเหสักข์ ผู้ค้า 8 ราย 20.ซอยสีลม 26 ผู้ค้า 1 ราย 21.ซอยสีลม 30 ผู้ค้า 7 ราย 22.ซอยสีลม 22 ผู้ค้า 9 ราย 23.ซอยเจริญกรุง 47/3 ผู้ค้า 17 ราย 24.ซอยประดิษฐ์ ผู้ค้า 12 ราย 25.ซอยปราโมทย์ 3 ผู้ค้า 18 ราย 26.แยกถนนสุรวงศ์ตัดถนนเจริญกรุง ผู้ค้า 13 ราย 27.ซอยโทรคาเดโร ผู้ค้า 6 ราย 28.ซอยอนุมานราชธน ผู้ค้า 10 ราย 29.ถนนศรีเวียง ฝั่งซ้าย ผู้ค้า 25 ราย 30.ถนนศรีเวียง ฝั่งขวา ผู้ค้า 38 ราย 31.ถนนสาทรเหนือ BTS สุรศักดิ์ ผู้ค้า 9 ราย 32.ถนนเจริญกรุง ฝั่งตรงข้ามโรบินสัน ผู้ค้า 30 ราย 33.ถนนเจริญเวียง ผู้ค้า 22 ราย 34.ซอยสาทร 10 ผู้ค้า 15 ราย 35.ซอยสาทร 12 ผู้ค้า 5 ราย 36.ซอยสีลม 9 ผู้ค้า 15 ราย 37.ซอยสีลม 13 ผู้ค้า 4 ราย 38.ข้างสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา ผู้ค้า 5 ราย 39.ถนนประมวล ผู้ค้า 11 ราย 40.ถนนปั้น ข้างวัดแขก ผู้ค้า 10 ราย 41.ถนนปั้น ผู้ค้า 13 ราย 42.ซอยสีลม 19 ผู้ค้า 7 ราย 43.ถนนสีลม (ขาเข้า) ผู้ค้า 51 ราย
ตรวจมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการดุสิตเซ็นทรัลพาร์ค ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นอกจากนี้เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 ควบคุมสถานประกอบการไม่ให้ปล่อยมลพิษในอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับให้ผู้รับจ้างเปิดเครื่องพ่นละอองน้ำในช่วงเวลาที่มีการก่อสร้าง ฉีดล้างล้อรถบรรทุกก่อนออกจากโครงการ รวมถึงล้างทำความสะอาดพื้นด้านหน้าทางเข้าออกโครงการ
ติดตามการใช้งานระบบสารสนเทศภาษีท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร (BMA-TAX) ในการจัดเก็บรายได้ การบันทึกข้อมูลและการค้นหารายชื่อผู้เสียภาษี ศักยภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ประสิทธิภาพระบบเครือข่ายทั้งแบบใช้สายสัญญาณ (LAN) และแบบไร้สายสัญญาณ (WIFI) เพื่อเตรียมพร้อมในการประเมินภาษีปี 2566 ในพื้นที่เขตฯ มีที่ดิน 12,474 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 15,049 แห่ง ห้องชุด 17,778 ห้อง สรุปผลการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 45,301 รายการ สำรวจครบทั้งหมดแล้ว ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สอบถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีรายได้ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์และระบบคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งได้ให้คำแนะนำในการจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ เน้นย้ำการทำงานด้วยความรอบคอบโปร่งใส เพื่อให้การจัดเก็บภาษีรายได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
ตรวจเยี่ยมอาคารต้นแบบการคัดแยกขยะ สำนักงานเขตบางรัก มีข้าราชการและบุคลากร 603 คน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะทั่วไป จัดเก็บทุกวันในเวลา 17.00 น. 2.ขยะอินทรีย์ ประเภทเศษอาหารมีเกษตรกรมารับไปเลี้ยงสัตว์ ส่วนเปลือกผลไม้นำไปทำน้ำหมักชีวภาพแจกจ่ายให้แก่ประชาชน 3.ขยะรีไซเคิล ขวดพลาสติกใส พลาสติกขุ่น และพลาสติกยืด มีจุดรวบรวม เพื่อร่วมโครงการกรุงเทพฯ แยกเพื่อให้พี่ไม้กวาด ส่วนขวดแก้วและกระดาษ พนักงานทำความสะอาดดำเนินการเอง 4.ขยะอันตราย มีจุดรวบรวมขยะอันตรายที่จัดเก็บได้ เพื่อนำส่งสถานีกำจัดมูลฝอยศูนย์หนองแขม เดือนละ 1 ครั้ง 5.ขยะติดเชื้อ จัดเก็บเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 2,200 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 1,700 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลก่อนคัดแยก 50 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 30 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 20 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 10 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายก่อนคัดแยก 2 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 2 กิโลกรัม/เดือน ขยะติดเชื้อก่อนคัดแยก 2 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 2 กิโลกรัม/เดือน
ในการลงพื้นที่วันนี้มี นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตบางรัก สำนักเทศกิจ สำนักการโยธา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
#สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี #เศรษฐกิจดี #บริหารจัดการดี
—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)